Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
Social Issues
20 May 2019

เด็กกว่า 72% ได้รับโฆษณาจังค์ฟู้ดทุกๆ 10 นาที ถึงเวลาเลิกทำการตลาดได้หรือยัง?

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • สภาแคนาดาผลักร่างกฎหมาย แบนการทำการตลาดอาหารจังค์ฟู้ดในเด็กต่ำกว่า 13 ปี
  • งานวิจัยมหาวิทยาลัยออตตาวาชี้ เด็กและวัยรุ่นกว่า 72 เปอร์เซ็นต์ ได้รับโฆษณาอาหารจากโซเชียลทุกๆ 10 นาที เด็กอายุ 2 ขวบเริ่มจดจำแบรนด์อาหารได้
  • “นักโฆษณารู้ว่ามันมีอิทธิพล ถ้าคุณสร้างลูกค้าได้ตั้งแต่พวกเขาอายุ 10 ปี คุณได้ลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ไปตลอดชีวิตเขา”

เคยไหมที่เด็กๆ รอบตัวร้องซื้อขนมเพราะเจ้าพรีเซนเตอร์การ์ตูนบนแพคเกจจิ้ง เคยไหมที่เด็กๆ รู้จักสินค้าบางแบรนด์เพียงเพราะจำได้จากในทีวี เคยไหมที่บางครั้งเด็กๆ ไม่ได้อยากกินขนมในนั้น เพียงอยากได้ของเล่นที่อยู่ในซอง

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเดียวกับที่ แนนซี กรีน เรเน (Nancy Greene Raine) อดีตรัฐมนตรีสภาแคนาดาพยายามผลักร่างกฎหมายด้านคุ้มครองสุขภาพเด็ก ในชื่อ S-228 ร่างกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมเกินโภชนาการที่เด็กควรได้รับต่อวัน ทำการตลาดกับเด็กต่ำกว่า 13 ปี ช่องทางที่ว่าหมายถึง โทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต, บิลล์บอร์ด, นิตยสาร, วิทยุ, โปสเตอร์บนรถขนส่งสาธารณะ กระทั่งโฆษณาบนแพคเกจจิ้งของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เอง

แม้จะเป็นกฎหมายที่ผู้ปกครองหลายคนจับตาและเฝ้ามองตั้งแต่ตุลาคมปี 2018 ครั้งแรกที่ร่างกฎหมายนี้เป็นที่พูดถึง แต่จากวันนั้นถึงวันนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกชักเข้าชักออกจากสภาจำนวน 4 ครั้ง ล่าสุดวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทอาหารและโฆษณาหลายแห่ง รวบรวมรายชื่อและเขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขอให้สภาพิจารณาเพิกถอนแนวความคิดนี้

นักวิจัยออตตาวาชี้ เด็กและวัยรุ่น 72 เปอร์เซ็นต์ ได้รับโฆษณาอาหารจากโซเชียลมีเดียทุกๆ 10 นาที

หากข่าวข้างต้นยังไม่น่าสนใจพอ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยออตตาวาอาจทำให้คุณต้องกลับมาทบทวนอิทธิพลของโซเชียลมีเดียที่มีต่อคนยุคปัจจุบันมากขึ้น

“ตัวเลขที่ออกมาน่าตกใจมาก นี่ไม่ใช่การโฆษณาแบบเดียวกับที่คนรุ่นปู่ย่าตายายของเราเติบโตมา บริษัทอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ทำงานร่วมกับนักประสาทจิตวิทยา (neuropsychologist) และใช้เครื่องมือ MRIs ทำวิจัยด้วย มันยากมากที่เราจะต้านทานแรงดึงดูดจากโฆษณา”

คือความเห็นของ โมนิค พอทวิน เคนท์ (Monique Potvin Kent) หัวหน้าทีมวิจัยและผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยออตตาวา เขาทำวิจัยกับเด็กและวัยรุ่นจำนวน 101 คน อายุระหว่าง 7-16 ปี ที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา ขอให้พวกเขาใช้สมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตเข้าบัญชีโซเชียลมีเดียต่างๆ ให้ทำ 2 ช่วงเวลา ช่วงละ 5 นาทีต่อแอพพลิเคชั่นที่พวกเขาใช้งาน โดยระหว่างที่เล่นให้สวมแว่นตาพิเศษที่จะบันทึกทุกอย่างที่พวกเขาเห็น

ผลวิจัยพบว่า ในทุกๆ 10 นาที พวกเขาจะเจอโฆษณาจำนวน 2.1 ชิ้น เปรียบเทียบให้เห็นภาพ ในทุกๆ ชั่วโมง เด็กๆ จะได้เห็นโฆษณาอาหาร เครื่องดื่ม และสแน็ค มากกว่า 12 ชิ้น และ 90 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ ไม่ดีต่อสุขภาพ

เมื่อไรกันที่โฆษณาเริ่มมีอิทธิพลต่อเด็กๆ? งานวิจัยชิ้นนี้พบว่า

เด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไปเริ่มจดจำแบรนด์สินค้าต่างๆ ได้ แต่จะเริ่มรู้ว่าสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือโฆษณาก็ต่อเมื่ออายุ 6 ขวบขึ้นไป แต่จะเริ่มคิด วิเคราะห์ วิพากษ์ มีความเห็นต่อโฆษณาเหล่านั้นได้ ต่อเมื่ออายุ 12 ปีขึ้นไป

งานวิจัยพบข้อสังเกตอีกว่า ในช่วงวัย 11 – 13 ปี พวกเขาก็เริ่มจะส่งคลิป หรือ โฆษณาที่ตัวเองสนใจ ต่อไปให้เพื่อนๆ ในช่วงวัยเดียวกันแล้ว

“นักโฆษณารู้ว่ามันมีอิทธิพล ถ้าคุณสร้างลูกค้าได้ตั้งแต่พวกเขาอายุ 10 ปี คุณได้ลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ไปตลอดชีวิต” เรเนอธิบายและยืนยันว่าทำไมร่างกฎหมายนี้จึงสำคัญ และควรเร่งผลักให้มีผลบังคับจริง

แม้สภาแคนาดาจะยังอยู่ในช่วงต่อรองและหารือ แต่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคแห่งรัฐควิเบก ประเทศแคนาดาก็บังคับใช้พ.ร.บ. ดังกล่าวในรัฐของตัวเอง ห้ามโฆษณาอาหารจังค์ฟู้ดในเด็กต่ำกว่า 13 ปีแล้ว เช่นเดียวกับประเทศชิลี ที่ออกกฎเกี่ยวกับการโฆษณาอาหารในเด็กเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018 เช่น ไม่ให้โฆษณาผลิตภัณฑ์ซีเรียลที่มีรสหวานจัด ห้ามมีรูปการ์ตูนที่ผลิตภัณฑ์ และแบนลูกอมบางประเภท เช่น Kinder Surprise ที่มักมีกลยุทธ์ล่อใจให้เด็กๆ ซื้อหากัน

ที่มา:

treehugger.com

thestar.com

cbc.ca

ottawacitizen.com

nytimes.com

Tags:

อาหารโรคอ้วน

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    เพจทำอาหารที่ชวนกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ผ่านบทสนทนาง่ายๆ “แม่ เมนูนี้ทำไง”

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Voice of New Gen
    ‘เครื่องล้างหอยนางรม’ นวัตกรรมโดยเด็กเมืองหอยใหญ่ ที่จะทำให้การกินหอยนางรมหรอยอย่างแรงแบบปลอดภัย

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Creative learning
    ชิมช็อปอาหารชาติพันธุ์ ปล่อยลูกเล่นอิสระ เปลือยหัวใจไปกับงานคราฟท์ ณ เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น อุทัยธานี

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Creative learning
    “ขนมปังยังสอนผมได้ตลอด ถ้าผมยังปั้นมันอยู่” กับคลาสขนมปังเปลี่ยนชีวิตที่ม.เถื่อน

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Voice of New Gen
    SUNSET GELATO: ไอศกรีมโฮมเมด ‘รสขอนแก่น’ เด็ดจากสวน ส่งตรงถึงหน้าบ้าน

    เรื่อง สิทธิกร ขุนนราศัยรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel