Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Social Issues
12 March 2020

COVID-19 คาดเด็ก 363 ล้านคนได้รับผลกระทบจากการหยุดเรียน

เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์ ภาพ นัฐพล ไก่แก้ว

  • UNESCO ประเมินโรงเรียนกว่า 32 ประเทศประกาศหยุดเรียน คาดนักเรียนกว่า 363 ล้านคนได้รับผลกระทบจากการหยุดเรียน และได้ลิสต์รายการผลกระทบจากการหยุดเรียนเป็นข้อๆ เพื่อร่วมกันตั้งรับและเฝ้าระวัง
  • โภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ, การเข้าถึงการศึกษาถูกขัดขวาง, ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยี, ผู้ปกครองไม่ทันตั้งตัว, ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น, จำนวนเด็กหลุดออกจากระบบอาจเพิ่มขึ้น, ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทางอ้อม, ความกดดันต่อโรงเรียนและระบบโรงเรียนที่ยังเปิดทำการเรียนการสอนอยู่, การตัดขาดจากสังคม คือประเด็นที่ UNESCO กังวล
รูปปกโดย Macau Photo Agency on Unsplash

ดูเหมือนการแพร่ระบาดของ Coronavirus หรือ COVID-19 จะไม่สิ้นสุดง่ายๆ และแพร่ไปหลายพื้นที่ทั่วโลก วิกฤตนี้ไม่ไ่ด้ผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความหวาดกลัวของคนในสังคมทุกพื้นที่่ รวมถึงในพรมแดนการศึกษาอีกด้วย

UNESCO รายงานรัฐบาลจำนวน 16 ประเทศสั่งหยุดเรียน ได้แก่ อาเซอร์ไบจาน บาร์เรน จีน (รวมฮ่องกงและมาเก๊า) เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ จอร์เจีย อิรัก อิหร่าน อิตาลี ญี่ปุ่น คูเวต เลบานอน มองโกเลีย กาตาร์ ซาอุอิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (ข้อมูลวันที่ 10 มีนาคม 2020 เวลา 16.00)

ประเมินว่าจะมีนักเรียนถึง 363 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากการหยุดเรียนนี้ทันที

ไม่นับโรงเรียนอีก 16 ประเทศที่ผู้บริหารแต่ละแห่งออกมาตรการสั่งหยุดโรงเรียนเอง ได้แก่อัฟกานิสถาน ภูฏาน กัมพูชา ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อินเดีย ปากิสจาน ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ โปรตุเกส สโลวาเกีย ยูเครน สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

เท่ากับว่ามีทั้งหมด 32 ประเทศ ที่เด็กและเยาวชนกำลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19

แต่หากคำนึงถึงหลักสุขภาพและความปลอดภัย การสั่งหยุดโรงเรียนก็ถูกต้องแล้วไม่ใช่หรือ?​

UNESCO (องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) ได้ประกาศผลกระทบต่อระบบการศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ที่ย้ำว่าการปิดโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญต่อเราทุกคน ดังนี้

โภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ และ การเข้าถึงการศึกษาถูกขัดขวาง: สำหรับเด็กและเยาวชนบางคน โรงเรียนเป็นสถาบันเดียวที่จัดหาความรู้ให้ รวมทั้งการจัดสรรมื้ออาหารฟรีที่ถูกสุขลักษณะ มีโภชนาการที่ดีอีกด้วย การปิดโรงเรียน (บางพื้นที่อาจปิดแบบไร้กำหนด) เด็กจะขาดพื้นที่ในการเข้าถึงความรู้ และเด็กบางคนอาจต้องอดทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มผู้เรียนที่ยากจนและด้อยโอกาสทางการศึกษาในทันที

ความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยี: เมื่อโรงเรียนปิดแต่นักเรียนยังต้องหาความรู้อยู่ บางโรงเรียนอาจร้องขอให้มีการเรียนผ่าน streaming video ที่บ้านแทน การเรียนแบบนี้สะดวกกว่าก็จริงอยู่ แต่ก็ส่งผลต่อนักเรียนบางครอบครัวที่ไม่มีอุปกรณ์ทันสมัย และไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เสถียร

ผู้ปกครองไม่ทันตั้งตัว: การประกาศหยุดเรียนทำให้ผู้ปกครองต้องเป็นคนจัดการเรียนรู้ให้ลูกเอง ซึ่ง ผู้ปกครองหลายคนไม่ทันตั้งตัวกับบทบาทนี้ ไม่รู้ว่าจะจัดการเรียนรู้ให้ลูกเองอย่างไร

ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น: การหยุดเรียนส่งผลให้ผู้ปกครองที่ทำงานประจำต้องลางาน อาจทำให้ผู้ปกครองสูญเสียรายได้ได้ หรือในกรณีผู้ปกครองบางท่านที่ไม่สามารถลางานได้ และจำเป็นต้องให้บุตรหลานอยู่คนเดียว UNESO กังวลว่าอาจนำมาสู่พฤติกรรมเสี่ยงได้ เช่น การได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้าง หรือ การใช้สารเสพติด เป็นต้น

จำนวนเด็กหลุดออกจากระบบอาจเพิ่มขึ้น: มีข้อกังวลว่าการปิดเรียนนานๆ อาจทำให้เด็กไม่กลับมาเรียน หรือการออกจากการเรียนกลางคัน

ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทางอ้อม: สัดส่วนเพศหญิงที่ทำงานอยู่ในระบบสาธารณสุขนั้นมีจำนวนมาก เมื่อพวกเธอไม่สามารถมาทำงานได้สืบเนื่องจากการที่ต้องดูแลบุตรหลานตามประกาศหยุดทำการเรียนการสอนของโรงเรียน นั่นหมายความว่าผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จำนวนมากไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่พวกเขาทำงานมากที่สุดในช่วงระยะเวลาแห่งวิกฤติสาธารณสุข

ความกดดันต่อโรงเรียนและระบบโรงเรียนที่ยังเปิดทำการเรียนการสอนอยู่: โรงเรียนที่ปิดการเรียนการสอนเองกลายเป็นภาระต่อโรงเรียนและส่งผลให้ผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องส่งเด็กนักเรียนไปเรียนยังโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนแทน

การตัดขาดจากสังคม: โรงเรียนถือเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของสังคมหรือสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ เมื่อโรงเรียนปิด เด็กๆ อาจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมซึ่งถือเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้และพัฒนาการ

หากการปิดเรียนยังคงยืดเยื้ออยู่ อาจเป็นไปได้ว่า ในไม่ช้าหรือเร็ว ทั้งระบบการศึกษาและสังคมอาจต้องได้รับผลกระทบข้างต้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ดี สำหรับแนวทางแก้ไขนั้น UNESO แนะนำว่า การเรียนทางไกลหรือการเรียนออนไลน์ถือว่าตอบโจทย์ที่สุดในตอนนี้ พร้อมยังได้เสนอแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

สำหรับบุคลากรที่จัดหาความรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อช่วยให้ทั้งครูและนักเรียนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างไม่ขาดตอนและร่วมกันดูแลสังคมไปพร้อมๆ กัน เข้าไปดูลิสต์คอร์สออนไลน์ได้ที่นี่

อ้างอิง
COVID-19 Educational Disruption and Response

Tags:

ระบบการศึกษาDisruptionschool closureไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

Author:

illustrator

ชลิตา สุนันทาภรณ์

นักเขียนที่ปรากฎตัวพร้อมกระเป๋าเล็กสะพายข้างเป็นหลักหนึ่งใบคู่กระเป๋าผ้าใบใหญ่ไว้ใส่ของจริงๆ อาจเพราะจบรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเหตุให้ไปเกาหลีกับญี่ปุ่นบ่อยราวเป็นบ้านหลังที่สอง ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะอธิบายทุกแฮชแทกในทวิตเตอร์ในประเด็นการเมืองระหว่างประเทศและวัฒนธรรมประชาชนสมัยนิยมได้

Illustrator:

illustrator

นัฐพล ไก่แก้ว

Related Posts

  • Social Issues
    NEW NORMAL ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Social Issues
    เลื่อนเปิดเทอม: โจทย์ วิธีรับมือ ของ 4 ครูไทยในพื้นที่และบริบทที่แตกต่าง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ นัฐพล ไก่แก้ว

  • Learning TheorySocial Issues
    โอกาสใน COVID-19: เปลี่ยนจากเรียนแบบเหมาโหล สู่บทเรียนส่วนตัวแบบเลือกได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Social Issues
    โรงเรียนอาจไม่เหมือนเดิม: 3 ประเด็นที่ต้องตาม โคโรน่าไวรัสทำให้การศึกษาเปลี่ยนไปอย่างไร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Social Issues
    ปิดโรงเรียนแล้วอย่างไรต่อ? มาตรการรับมือ ‘หลัง’ ปิดโรงเรียน จากรัฐบาลทั่วโลก

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel