Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Social Issues
8 September 2019

เมื่อโรงเรียนเป็นพื้นที่แห่งความกดดันและไร้สุข จึงต้องปรับตัวและรับผิดชอบความป่วยไข้นี้

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • รายงาน The Good Childhood Report 2019 จาก The Children’s Society พบว่าพื้นที่ที่ทำให้เด็กๆ ซึมเศร้าและกดดันมากขึ้นคือ โรงเรียน
  • สาเหตุสำคัญมาจากการประเมินโดยให้คุณค่ากับความสำเร็จเชิงวิชาการมากไปกว่าคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของชีวิต
  • ไม่ใช่แค่เด็กๆ กดดัน เครียด ไม่มีความสุข แต่ครูและคนในแวดวงการศึกษาก็ ‘Burnout’ หรือ หมดแรง หมดไฟกับการทำงานตามความตั้งใจทางอุดมการณ์ของตัวเองด้วย
  • คอสตาริกาและเม็กซิโก สองประเทศนี้ให้ความสำคัญกับ เพื่อน ครอบครัว เพื่อนบ้าน คนมีความยืดหยุ่นสูง เข้าใจความหลากหลาย และสนุกกับชีวิตแม้เผชิญความยากลำบากในชีวิต และออกแบบทั้งหมดนี้ให้มีขึ้นผ่านโรงเรียนด้วย

ขณะที่เรื่องทางบ้าน โซเชียลมีเดีย การเปรียบเทียบเรื่องรูปร่างหน้าตา และอื่นๆ ส่งผลต่อสภาพจิตใจและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นชาวมิลเลนเนียลมากขึ้นเรื่อยๆ รายงาน The Good Childhood Report 2019 จาก The Children’s Society พบว่าพื้นที่ที่ทำให้เด็กๆ ซึมเศร้าและกดดันมากขึ้นไปอีกคือ… โรงเรียน กระนั้น ก็เป็นโรงเรียนอีกนั่นเองที่จะเปลี่ยนการเรียนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

รายงานประจำปีของสหราชอาณาจักรเล่มนี้ศึกษาว่าเด็กและวัยรุ่นอายุ 10-17 ปี รู้สึกเกี่ยวกับมุมมองความสุขในชีวิต 10 มุมมอง คือ มุมครอบครัว, มุมการใช้เวลา, มุมสุขภาพ, มุมเรื่องบ้านหรือที่อยู่อาศัย, มุมเพื่อน, มุมอนาคต, มุมตัวเลือกในชีวิต, มุมรูปร่างและหน้าตา, มุมสิ่งของ และมุมโรงเรียน งานวิจัยชิ้นนี้เริ่มทำทุกปีตั้งแต่ปี 2005 เพื่อต้องการคำยืนยันว่าเด็กๆ มีความเป็นอยู่ที่ดีจริงหรือไม่ แนวโน้มความสุขของเด็กๆ เป็นอย่างไรและจะแก้ไขอย่างไร

มุมมองชีวิตในภาพรวมพบว่าเด็กๆ มีความสุขน้อยลง และเฉพาะมุมมองเรื่องโรงเรียน เด็กๆ เองก็รู้สึกเช่นกันว่าพวกเขาทุกข์มากขึ้นเมื่อต้องอยู่ในโรงเรียนและการเรียนการสอนที่เครียดขึ้งอย่างทุกวันนี้

แองเจิล เออร์บินา-การ์เซีย (Angel Urbina-Garcia) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในงานศึกษาด้านปฐมวัย มหาวิทยาลัยฮัลล์ (University of Hull) ประเทศอังกฤษ เขียนบทความชื่อ Why aren’t schools helping children lead happier lives? (ทำไมโรงเรียนทำให้เด็กๆ มีความสุขไม่ได้?) อธิบายสถานการณ์ดังกล่าว และฉายให้เห็นภาพการแก้ปัญหาผ่านงานวิจัยของเธอเองว่า…

  • ทำไมโรงเรียนทำให้เด็กๆ มีความสุขไม่ได้? – ก็เพราะมันเป็นพื้นที่แห่งความกดดันสุดๆ ไปเลยน่ะสิ!
  • ตัวอย่างการแก้ปัญหา: โรงเรียนที่ให้คุณค่าของความเป็นอยู่ที่ดีของชีวิต ‘เท่ากัน’ กับทักษะวิชาการ

ทำไมโรงเรียนทำให้เด็กๆ มีความสุขไม่ได้? – ก็เพราะมันเป็นพื้นที่แห่งความกดดันสุดๆ ไปเลยน่ะสิ!

เออร์บินา-การ์เซีย อ้างอิงระบบการศึกษาประเทศอังกฤษ – แต่คล้ายกันกับปัญหาการศึกษาโลก นั่นคือกับดักเรื่องการประเมิน ทั้งศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของครู เช่น การประเมิน PISA* หรือถ้าเป็นในไทยก็เช่น การสอบ O-NET ในชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ที่ไม่ได้กดดันแค่นักเรียนแต่หมายถึงการสอนของครู การบริหารของผู้อำนวยการโรงเรียน นโยบายของภูมิภาค และเจ้าหน้าที่การศึกษาของหน่วยงานรัฐในระดับบนขึ้นไป – ที่ทุกหน่วยงานต้องทำอย่างไรก็ได้ให้นักเรียนในความดูแลของตัวเองมีคะแนนสอบที่ดีที่สุด เพื่อหน่วยงานที่ตนเองอาศัยอยู่จะมีผลประเมินได้อันดับที่ดีตามไปด้วย

ท้ายที่สุด อย่างที่ทุกคนวิจารณ์กันตลอดมา มันคือการประเมินโดยให้คุณค่ากับความสำเร็จเชิงวิชาการมากไปกว่าคุณภาพชีวิต/ความเป็นอยู่ที่ดีของชีวิต อย่างที่เออร์บินา-การ์เซีย กล่าวว่า นี่ไม่ได้เป็นปัญหาแค่ ‘นักเรียนจะถูกสอนอย่างไร’ (ถูกสอนเพื่อไปสอบ) แต่คือการเข้าถึงการศึกษาที่เธอหมายถึงทักษะชีวิตด้วย

ไม่ใช่แค่เด็กๆ กดดัน เครียด ไม่มีความสุข แต่ครูและคนในแวดวงการศึกษาก็ ‘Burnout’ หรือ หมดแรง หมดไฟกับการทำงานตามความตั้งใจทางอุดมการณ์ของตัวเอง

ข้อเสนอของ เออร์บินา-การ์เซีย คือ โรงเรียนต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความป่วยไข้ทางจิตใจของผู้เรียน หนึ่งในนั้นคือการกำหนด ‘คุณค่า’ เรื่องความเป็นอยู่ที่ดีของชีวิตอย่าง ‘เท่ากัน’ กับการเรียนรู้ทักษะวิชาการ

นี่เป็นข้อพิสูจน์จากโรงเรียนที่อยู่ในประเทศหรือสังคมที่ให้คุณค่าการเรียนรู้ในวิธีดังกล่าว มีผลชี้วัดชัดเจนว่าทรัพยากรบุคคลของประเทศนั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสุข และคนมีความรู้ความสามารถขับเคลื่อนประเทศในยุค disruption เช่นในเวลานี้

ตัวอย่างการแก้ปัญหา: โรงเรียนที่ให้คุณค่าต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชีวิต ‘เท่ากัน’ กับทักษะวิชาการ

เออร์บินา-การ์เซียอธิบายผ่านงานศึกษาของเธอเอง ระบุว่าความหมายและวิธีการศึกษาของ กลุ่มนอร์ดิก** กลุ่มประเทศที่ติดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก และเป็นกลุ่มประเทศที่ให้คุณค่าและออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนมีทักษะของการเรียนรู้ทางสังคม เช่น ไม่มีการสอบวัดประเมินการเรียนรู้ มีเพียงการสอบเพื่อให้คำแนะนำว่าเด็กๆ ควรเรียนต่อสายไหน (เด็กจะเลือกสายนั้นหรือไม่ก็ได้) มากกว่านั้น โรงเรียนก็จะไม่ถูกประเมินหรือจัดอันดับโรงเรียนที่ดีที่สุดอย่างที่เป็นไปในประเทศอื่นๆ

อีกหนึ่งตัวอย่างคือการศึกษาในบางประเทศแถบลาตินอเมริกา เช่น คอสตาริกาและเม็กซิโก ประเทศที่ติดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกด้วยเช่นกัน

สองประเทศนี้มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับ เพื่อน ครอบครัว และความเป็นเพื่อนบ้าน คนในประเทศมีความยืดหยุ่นสูง เข้าใจความหลากหลาย และสนุกกับชีวิตแม้เผชิญความยากลำบากในชีวิต ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ประเทศในแถบลาตินอเมริกาออกแบบให้มีขึ้นผ่านโรงเรียนด้วย

อย่างที่เออร์บินา-การ์เซียเสนอ โรงเรียนต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความป่วยไข้ทางใจของผู้เรียน ทั้งหมดนี้จะแก้ได้ก็ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงนโยบายการประเมินอย่างถึงราก อย่างไรก็ตาม ในประเทศที่การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในกรอบโรงเรียนยังมีอุปสรรคและอยู่ระหว่างทาง แต่คุณูปการจากคำเตือนของเออร์บินา-การ์เซีย อาจเริ่มที่การทำงานกับเรา กับลูกหลานและคนใกล้ตัว จัดลำดับความสำคัญของความสำเร็จใหม่โดยมุ่งเป้าไปที่ความสัมพันธ์และความเป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบัน อาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของความสุขท่ามกลางความกดดันเข้มข้นที่มองไม่เห็นในโลกที่ใครๆ ก็อวดความสำเร็จในเชิงรูปธรรมกัน

*PISA (Programme for International Student Assessment) โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) คือ การประเมินระดับนานาชาติในเด็กอายุ 15 ปีทั่วโลก ว่ามีความพร้อมใช้ชีวิตในสังคมเพียงใด สามารถนำสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไปประยุกต์แก้ปัญหาในชีวิตหรือสถานการณ์จริงได้หรือไม่ ทดสอบ 3 วิชาคือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และทักษะการอ่าน**กลุ่มนอร์ดิก กลุ่มภูมิภาคในยุโรปเหนือ คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน และดินแดนปกครองตัวเองในสังกัดประเทศเหล่านั้นสามแห่ง ได้แก่ กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์)

Tags:

ซึมเศร้าระบบการศึกษาโรงเรียนการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกจิตวิทยา

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    มหากาพย์การเลือกโรงเรียน (โรงเรียนที่ดีของพ่อแม่ โรงเรียนที่แย่ของลูก)

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learningEducation trend
    จุดร่วม 8 ข้อของประเทศที่มีการศึกษาคุณภาพสูง: สิงคโปร์ แคนาดา ฟินแลนด์ จีน ออสเตรเลีย

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ภาพ อัยยา มัณฑะจิตร

  • Family PsychologyEF (executive function)
    พ่อแม่ที่รอไม่ได้และประเทศที่ไร้เสรีภาพ : นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Dear Parents
    ความในใจ 5 อย่าง ของเด็กสอบตก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Early childhoodEF (executive function)
    เปิด ‘ห้องเรียนพ่อแม่’: นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel