Skip to content
การศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacy
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
การศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacy
SpaceBook
18 July 2025

Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

เรื่อง เจษฎา อิงคภัทรางกูร

  • จากพุทธศาสนาในหนังสือเรียนที่ทุกเรื่องราวถูกยกให้เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ การตั้งคำถามถือเป็นเรื่องต้องห้าม แม้แต่การคิดสงสัยในใจก็อาจนับว่าเป็น ‘บาป’ ที่ควรต้องหลีกเลี่ยง ถูกนำมาเล่าใหม่ในรูปแบบของ Edutainment ในรายการ ‘Myth Universe’ ที่นำเสนอผ่าน Salmon Podcast 
  • Myth Universe ดำเนินรายการโดย ‘โจ้ บองโก้’ นทธัญ แสงไชยหยิบยกเรื่องราวพุทธประวัติ  เรื่องเล่า เทพปกรณัม ชาดก ประวัติศาสตร์ มาเชื่อมโยงกับโลกยุคปัจจุบัน โดยมี Co-host ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาพูดคุยในบรรยากาศเป็นกันเอง
  • การนำหลักคำสอนในพุทธศาสนามาพูดคุยในบริบทที่จับต้องได้ และมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ทำให้เรื่องเหล่านี้เชื่อมโยงเข้ากับความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน เกิดเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง

ไตรลักษณ์… ขันธ์ 5… อิทธิบาท 4…

นึกย้อนกลับไปคิดถึงตัวเอง ว่าถ้าตัวเราในวัยเรียน ได้ยินชื่อหัวข้อเหล่านี้ คงกำลังทำหน้าเอือมระอา และรู้ว่าฤดูกาลของการท่องจำ เพื่อไปแสดงอิทธิฤทธิ์ในห้องสอบนั้นใกล้เข้ามาแล้ว สิ่งที่ต้องเน้นให้ดีคือ ชื่อคน วันสำคัญต่างๆ เกิดขึ้นเมื่อวันขึ้นกี่ค่ำ เดือนไหน ใครทำอะไร ที่ไหน หลักคำสอนต่างๆ ประกอบด้วยอะไรบ้าง แปลว่าอะไร และเมื่อออกมาจากห้องสอบแล้ว สิ่งที่ท่องจำมาอย่างดีเหล่านั้น กลับพลันหายไปในเวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง เหมือนเป็นเรื่องราวที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน 

ในระหว่างการอ่านเพื่อท่องจำ สิ่งที่ร่างกายตอบสนอง ณ ขณะนั้น คือการที่ ความง่วงหาวเข้าครอบงำ ตัวหนังสือที่เคยชัดเจนในสามสี่บรรทัดแรก ค่อยๆ พร่าเลือนเมื่อผ่านไปเพียงชั่วครู่ ความเป็นไปได้คือการเลือกระหว่างการฝืนทนพาสายตาไล่เรียงไปตามหนังสือต่อไปอย่างเสียไม่ได้ หรือการยอมแพ้ วางหนังสือ และไปหากิจกรรมอื่นทำ ก่อนที่จะวนกลับมาเจอกับอาการแบบเดิมในทุกๆ ครั้ง และคอยคุยกับตัวเองอยู่เป็นระยะ ด้วยคำถามว่า “เมื่อไหร่จะสอบเสร็จ” และ “เรื่องพวกนี้รู้ไปแล้วมันจะได้อะไรขึ้นมานะ” และหากจะให้กล่าวอย่างเหมารวมสักหน่อย ก็คิดว่าหลายๆ คนที่เติบโตมาในเจเนอเรชันดียวกับเรา คงรู้สึกคล้ายกันไม่มากก็น้อย

ในสมัยนั้น เรื่องราวที่อยู่ในวิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะเรื่องราวประวัติศาสตร์และศาสนา ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือระดับโลก ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิต พระพุทธเจ้าสอนอะไร การปฏิวัติ และสงครามต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นคำถามที่ไม่น่าสนใจแม้แต่น้อย การรู้เรื่องราวเหล่านี้แทบจะไม่มีประโยชน์ และไม่ได้ทำให้ดูเป็นคนฉลาดขึ้นนัก เมื่อเทียบกับคนที่เก่งวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่ถูกเชิดชูทั้งจากครูที่โรงเรียน และผู้ปกครองของเด็กคนอื่นๆ (ที่อยากให้ลูกตัวเองเป็นแบบนั้นกับเขาบ้าง)

หลังจากผ่านพ้นช่วงวัยเรียนมาและเข้าสู่วัยทำงานอย่างเต็มตัวแล้ว เราแทบไม่ได้คิดถึงเรื่องเหล่านี้อีกเลย ชื่อคนในประวัติศาสตร์ เรื่องราวคำสอนในศาสนา ที่เคยท่องจำจนคล่องปากก่อนเข้าสอบ ถูกลบเลือนหายไป กระทั่งวันหนึ่ง ที่ YouTube แสดงวิดีโอที่มีหน้าปกเป็นรูปพระพุทธเจ้า และพระอีก 1 รูปข้างกาย พร้อมตัวหนังสือเขียนว่า ‘พระอานนท์’ ขึ้นมา ชื่อที่เป็นเพียงร่องรอยอยู่ในความทรงจำส่วนลึก ที่เราไม่เคยหยิบจับไปถึง แต่วันนี้กลับกลายมาเป็นเนื้อหาหลักในรายการชื่อ Myth Universe ของช่อง Salmon Podcast ที่พิธีกรสองคนนำมาเล่าและพูดคุยกันได้อย่างจริงจัง

ถามว่าจริงจังขนาดไหน ก็ขนาดที่ความยาวของคลิปวิดีโอที่ว่า ยาวไปถึงเกือบหนึ่งชั่วโมงครึ่ง เทียบเท่ากับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งต้องขอบคุณตัวเองที่เลือกกดเข้าไปฟังในวันนั้น เพราะมันช่วยเปลี่ยนนิยามคำว่า ‘สื่อบันเทิง’ ของเราไปอย่างสิ้นเชิง

วิดีโอ ‘พระอานนท์’ และคลิปวิดีโออื่นๆ ของรายการ Myth Universe ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่เราได้กดเข้าไปฟังหลังจากนั้นมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ พิธีกรหลัก ‘โจ้ บองโก้’ นทธัญ แสงไชย ไม่ว่าจะเล่าเรื่องพุทธประวัติ เรื่องราวของพระอรหันต์ หรือเรื่องราวในพระไตรปิฎก จะเล่าเรื่องเหล่านั้นให้ Co-host ที่หมุนเวียนกันมาฟังด้วยลีลาการเล่าที่เป็นกันเอง ใช้คำศัพท์และสถานการณ์ที่จริงในโลกยุคปัจจุบัน มาเป็นบรรยากาศหลักในรายการ และ Co-host เองก็ตอบสนองต่อเรื่องราวเหล่านั้นด้วยบริบทและมุมมองของมนุษย์ยุคปัจจุบันจริงๆ ที่อาจเป็นความเคลือบแคลงสงสัยในเหตุการณ์ต่างๆ หรือความตลกกับการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผลกับบริบทของเราเป็นที่สุด

การพูดคุยเรื่องพุทธศาสนาแบบนี้ เป็นแนวทางที่เราไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย อาจเป็นเพราะเราโตมาภายใต้กรอบความคิดที่เรื่องศาสนา เป็นเรื่องที่อยู่แต่ในวัด ในหนังสือเรียน ทุกชื่อ ทุกเรื่องราว ล้วนถูกยกให้เป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ 

การมองพระในพระไตรปิฎกให้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง หรือการตั้งคำถาม ถือเป็นเรื่องต้องห้าม การคิดสงสัยแม้แต่ในใจ ก็นับว่าเป็น ‘บาป’ ที่ควรต้องหลีกเลี่ยง และที่สำคัญคือเรื่องเหล่านี้ไม่เคยถูกนำมาเล่าอย่างสนุกสำหรับเรามาก่อน แต่การได้มาฟังรายการนี้ เปรียบเสมือนการนำเรื่องราวเหล่านั้นที่เคยอยู่แต่ในหนังสือ ออกมาเล่าเป็นเรื่องที่มีชีวิตชีวา เปลี่ยนชื่อที่เราเคยท่องจำไปสอบ ให้ออกมาโลดแล่นเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีชีวิตจิตใจ มีปัญหา และมีเส้นทางชีวิตเป็นของตัวเอง

จากคลิปแรก นำไปสู่คลิปต่อๆ ไป จนเมื่อรู้สึกตัวอีกที ก็ได้ฟัง EP เกี่ยวกับพุทธศาสนา ไปจนถึงเรื่องราวอื่นๆ จนเกือบหมดรายการ รวมถึงตามไปซื้อหนังสือ ทั้ง ‘Myth Universe’ และ ‘หนีตามพระพุทธเจ้า’ (Buddhist Holy Day) มาอ่าน ซึ่งก็ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยลีลาที่บันเทิงและตรงจริตเราไม่ต่างจากการฟังพอดแคสต์เลยทีเดียว

สิ่งที่น่าแปลกใจคือ เรากลับจำชื่อ จำเรื่องราว และจำหลักคำสอน ได้มากกว่าสมัยที่พยายามท่องจำแทบเป็นแทบตายด้วยซ้ำ ซึ่งเมื่อลองคิดดีๆ แล้ว น่าจะเป็นเพราะการเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้มาอยู่ในบริบทที่จับต้องได้ และมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น ทำให้เรื่องเหล่านี้ได้กลายเป็นเซลล์สมอง ที่สามารถเอื้อมตัวไปเกาะเกี่ยวกับเซลล์สมองที่มีอยู่ก่อน และเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับความรู้ความเข้าใจที่เรามี จนเกิดเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ตามหลักการของ Learning How to Learn ได้อย่างพอดิบพอดี

นอกเหนือไปจากรายการนี้แล้ว เมื่อลองซูมภาพออกมาในตลาดคอนเทนต์จะเห็นว่าในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา ได้มีสิ่งที่เรียกว่าสื่อบันเทิงที่ให้ความรู้คู่กับความสนุก หรือ Edutainment ออกมาอย่างต่อเนื่อง หลายๆ ช่อง หลายๆ รายการ ต่างมีการนำเรื่องราวของบุคคล ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงปรัชญา มาปรุงใหม่ให้กลายเป็นเรื่องน่าสนใจ จนสามารถจัดเวทีทอล์กโชว์ของตัวเองได้ และบัตรยังขายหมดอย่างรวดเร็ว ไม่ต่างจากบัตรคอนเสิร์ตของศิลปินชื่อดัง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เมื่อก่อนเราคงแทบนึกภาพไม่ออก ว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง

ส่วนตัวแล้ว รายการเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกประทับใจ ที่สามารถนำเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ มาถ่ายทอดและสร้างความเพลิดเพลินได้ในเวลาเดียวกัน ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องยอดผู้ชม ผู้ติดตาม มากกว่า ‘คุณค่า’ ที่จะสร้างให้กับสังคม จนบางทีก็นึกสงสัยขึ้นมาว่า ถ้าเราได้รู้จักและเข้าถึงสื่อแบบนี้ในสมัยที่เราเป็นเด็ก เราจะสนุกกับการเรียน และเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่แตกต่างจากนี้ไหมนะ

เป็นเรื่องตลกร้ายว่า สิ่งที่ทำให้เรา คนที่ห่างเหินจากเรื่องพุทธศาสนามานับ 10 ปี ได้กลับมาฟังและพิจารณาความหมายของคำสอนต่างๆ อีกครั้ง คือรายการที่คนธรรมดา เป็นฆราวาสเหมือนอย่างเราๆ มานั่งคุยกัน

 ในขณะที่ สิ่งที่เราได้ยินจากวงการพระสงฆ์ในระยะหลัง กลับมีแต่ข่าววุ่นวายกับทางโลก และพาให้เราอยากหนีจากการเข้าวัดทำบุญเสียอย่างนั้น

ต้องบอกว่าค่อนข้างประหลาดใจ ที่เรื่องราวของพระพุทธศาสนา และคำสอนต่างๆ ซึ่งเราได้กลับมาฟังอีกครั้งเอาตอนอยู่ในวัยกลางคนแล้ว มันสามารถช่วยเหลือเราในภาวะที่กำลังเผชิญได้อย่างเหนือความคาดหมาย การนำอิทธิบาท 4 มาเป็นหลักในการทำงาน การค่อยๆ เปลี่ยนจากคนที่แทบไม่เคยพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี และ Self-Doubt ตลอดเวลา ได้เริ่มมาคิดว่าตัวตนของเราแท้ที่จริงแล้ว ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการประกอบกันของขันธ์ 5 และชีวิตทุกคนต่างก็อยู่บนพื้นฐานของไตรลักษณ์ ทำให้เรารู้สึกลดความยึดมั่น ถือมั่น 

และแม้จะไม่ได้ทำให้ปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ หายไป แต่มันก็ช่วยให้เราเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเข้าใจมากขึ้น เพราะแม้แต่ผู้ที่เราเคยคิดว่าเขาเป็นผู้ที่ศักดิ์สิทธิ์ บริสุทธิ์ 100% แท้จริงแล้วก็เป็นมนุษย์ และต้องเผชิญกับสภาวะ และทางเลือกต่างๆ เช่นเดียวกันกับเรา

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพราะ การที่เปลี่ยนเรื่องของพระพุทธศาสนา จากเรื่องที่เป็นความศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ ตั้งคำถามไม่ได้ ให้กลายเป็นเรื่องราวที่สนุก เปลี่ยนให้ตัวละครเหล่านั้นกลายเป็นมนุษย์ที่ใกล้เคียงกับเรา กลับกลายเป็นการทำให้เรื่องราวและคำสอนเหล่านั้น เข้ามา Touch หัวใจเราได้มากที่สุดก็เป็นได้

Tags:

Myth UniverseพุทธศาสนาEdutainment

Author:

illustrator

เจษฎา อิงคภัทรางกูร

ชอบมองหาความพิเศษในตัวคนทุกคน ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินหรือนิยามใครด้วยมุมมองเพียงมิติเดียว เชื่อในพลังที่เกิดจากการร่วมมือกันของมนุษย์ และพยายามปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเหมือนทุกวันเป็นวันสุดท้ายที่จะได้เจอกัน

Related Posts

  • Movie
    F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Elio:  ไม่ว่าจะหนีไปไกลแค่ไหน สุดท้ายความรู้สึกมีคุณค่า…เริ่มต้นจากหัวใจตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ: ปาฏิหาริย์ของการรับฟัง ‘โดยไม่ตัดสิน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • BookPlayground
    ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love

    เรื่อง อัฒภาค

  • Book
    วางความคาดหวังของคนอื่นลง แล้วกลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง: เธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel