Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Movie
24 December 2019

A BEAUTIFUL DAY IN THE NEIGHBORHOOD: วางสัมภาระในใจออกเดินทางใหม่เพื่อให้เข้าใจชีวิต

เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • A Beautiful Day in the Neighborhood ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของ ลอยด์ โวเกล นักข่าวนักสัมภาษณ์มือรางวัล แต่แทนที่โวเกลจะเป็นคนตั้งคำถาม เขากลับถูก เฟรด โรเจอร์ส นักจัดรายการเด็กกว่า 40 ปี ย้อนถามกลับด้วยคำถามพื้นฐานไม่กี่ข้อ แต่มันทรงพลังและถูกจังหวะพอ จนทำให้เขาต้องกลับไปย้อนดูที่มาที่ไปหรือปมวัยเด็กของตัวเอง และจัดการกับมัน
  • คำถามแต่ละคำถามที่โรเจอร์สถามโวเกลคือคำถามที่ทำให้โวเกลเข้าใจ กลับไปแก้ไขปมปัญหาความสัมพันธ์ของเขากับพ่อ และชวนให้เรา ในฐานะคนดู ต้องคิดตามไปด้วย

หมายเหตุ : มีการเปิดเผยเนื้อหาหนังบางส่วน

ถ้าพูดถึงหนังฮีโร่ เรื่องที่ทุกคนอาจนึกถึงคือ แบทแมน ซูเปอร์แมน หนังแนวฮีโร่ที่ตัวละครเอกสามารถใช้พลังพิเศษ ‘เหนือมนุษย์’ ช่วยคน …จนเป็นฮีโร่ แต่วันนี้ผู้เขียนได้มาดูหนัง ‘ฮีโร่’ อีกมุมหนึ่งคือ A Beautiful Day in the Neighborhood ‘ฮีโร่’ ที่บอกว่าไม่ว่าใครก็เป็นฮีโร่จากเรื่องราวของตัวเองได้ (be the hero on your own) 

เพียงแต่ต้องไปเรียนรู้แบบดำดิ่งเผชิญหน้ากับความกลัว เพื่อย้อนกลับไปทำความเข้าใจประสบการณ์ในชีวิตและปมบาดแผลภายในจิตใจของเราจนค้นพบศักยภาพที่จะก้าวข้ามความเจ็บปวด พบขุมพลังที่สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตและแบ่งปันต่อผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็น “Hero’s Journey” อย่างแท้จริง

พอผู้เขียนได้มาดูหนังเรื่องนี้ก็รู้สึกว่าการเดินทางของตัวละครเอกในเรื่อง คือ ลอยด์ โวเกล (แสดงโดย แมทธิว รีส) ผู้รับบทเป็นนักเขียนเจ้าของรางวัลด้านการเขียนข่าวเจาะลึกมุมมืดของบุคคล ผู้มาพร้อมกับปมปัญหาภายในจิตใจคือความโกรธแค้นพ่อ เป็นสัมภาระที่พกติดตัวมาตลอดชีวิต เป็น Hero’s Journey ในแนวทางที่ว่านี้

หนังเปิดด้วยเหตุการณ์ที่บรรณาธิการนิตยสารให้โวเกลไปเขียนงานเกี่ยวกับ ‘Hero’ ชายที่แสนดีที่สุดแห่งยุคอย่าง เฟรด โรเจอร์ส (แสดงโดย ทอม แฮงค์ส) นักจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเด็กที่ครองใจชาวอเมริกายาวนานกว่า 40 ปี ผ่านทางรายการ MisterRogers และ MisterRogers’ Neighborhood ด้วยเหตุผลเดียวว่า ‘ไม่มีคนดังคนไหนอยากให้เขาสัมภาษณ์อีกแล้วหลังจากเขาเจาะลึกตัวตนของเขาและเอาไปเขียนเสียๆ หายๆ’ ในขณะที่โวเกลก็รับงานนี้แบบเสียไม่ได้ เพราะเขาเองก็ไม่ได้รู้สึกว่าโรเจอร์สเป็นนักบุญดังที่คนทั่วไปเข้าใจ

แต่หนังเล่าให้เห็นเหตุการณ์ ‘พลิกผัน’ คนที่ไปสัมภาษณ์เองกลับกลายเป็นคนเล่าเรื่อง ‘ฮีโร่’ จากการเดินทางด้านใน โวเกล – ในฐานะคนสัมภาษณ์ – ได้ย้อนมองตัวเองจากการตั้งคำถามอันทรงพลังของ โรเจอร์ส – ที่ต้องอยู่ในฐานะผู้ให้สัมภาษณ์ – ผู้ที่เข้าใจชีวิต มีประสบการณ์ เสมือนผู้ที่เคยผ่าน Hero’s Journey มาก่อน 

หลายครั้งหนังทำให้เราเห็นแววตาของโรเจอร์สร่ำไห้กับชีวิตที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ชีวิตที่ผ่านเรื่องราวบาดเจ็บต่างๆ นานา แต่ก็ด้วยสายตาของเขาที่มองเห็นเรื่องราวความงดงามของชีวิตแบบนี้และนำมาสร้างละครหุ่น ขับร้องบทเพลง ถ่ายทอดความรู้สึก การเรียนรู้และการก้าวข้ามให้คนได้จรรโลงใจเมื่อช่วงเวลานั้นมาถึงผ่านทางรายการที่เขาจัด จึงไม่แปลกใจที่โรเจอร์ส จะให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือโวเกล นักเขียนคนที่เขามองเห็น ‘บาดแผล’ ในตัว เป็นพิเศษ

ด้าน ลอยด์ โวเกล เสียแม่ไปในวัยเด็ก ในช่วงที่แม่กำลังจะตาย พ่อเขาหายหน้าไป ทิ้งภาระที่ต้องตัดสินใจในการรักษาแม่ในช่วงวิกฤตินั้นทั้งหมดให้เขาและน้องสาว หนำซ้ำพ่อทิ้งเขาและน้องสาวหลังแม่จากไป โวเกลโตมาด้วยความโกรธแค้นพ่อ อภัยไม่ได้ เป็นสัมภาระที่พกติดตัวตั้งแต่เด็กจนโต เมื่อเจอพ่ออีกครั้งในงานแต่งงานของน้องสาว เขาไม่สามารถจะสานความสัมพันธ์กับพ่อได้เมื่อเจอกัน ในที่สุดวันนั้นเขาชกหน้าพ่อด้วยความโกรธแค้น แน่นอน เขาทั้งคู่เกิดบาดแผลจากเหตุการณ์นั้น บาดแผลใหม่ที่ทับซ้ำบาดแผลเก่าของทั้งคู่ที่ยังไม่ได้รับการรักษา

การได้ไปสัมภาษณ์โรเจอร์สของโวเกล คือ Hero’s Journey ที่เริ่มต้นขึ้น เขาไปพบโรเจอร์สขณะที่มีบาดแผลบนใบหน้า ความโกรธที่มีต่อพ่อยังคงคุกรุ่น และด้วยรอยแผลนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง ที่ทำให้โวเกลต้องเทียวไปสัมภาษณ์โรเจอร์สอยู่หลายครั้ง แต่มากกว่าการได้สัมภาษณ์ ท้ายที่สุดโรเจอร์สช่วยให้โวเกลได้รักษาอาการบาดเจ็บของตัวเองและพ่อ แม้ไม่ใช่หนังแอคชั่น แต่อารมณ์ในช่วงนี้ก็เข้มข้นมาก คำพูดหรือคำถามแต่ละคำถามที่โรเจอร์สถามโวเกลคือคำถามที่ทำให้โวเกลเข้าใจ และกลับไปแก้ไขปมปัญหาความสัมพันธ์ของเขากับพ่อได้ และชวนให้เรา – ในฐานะคนดู ต้องคิดตามไปด้วย เช่นคำถามที่ว่า

“พ่อของคุณทำให้คุณเป็นคุณทุกวันนี้ยังไง?”

“ลองจินตนาการถึงคนที่รักเรา” 

ที่พีคสำหรับผู้เขียนคือตอนที่โวเกลฝัน เขาเผชิญกับความกลัวจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะฝัน (dreamland) ในจิตใต้สำนึกเพื่อกลับไปคุยกับแม่ ในฝันนั้นแม่พูดว่า… 

“ไม่ต้องโกรธพ่อเพื่อแม่ แม่ไม่ได้ติดค้างอะไร” 

ใช่แล้ว! เขาโกรธพ่อมาทั้งชีวิตเพราะต้องการดูแลความรู้สึกของแม่ 

และอีกช่วงที่หนังพาเราไปเข้าใจความเป็นพ่อ ผ่านตัวละครพ่อของโวเกลว่า พ่อเองก็ไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ เขาไม่เคยเป็นพ่อ ไม่รู้ว่าต้องใช้ชีวิตยังไง ในขณะที่ครอบครัวคาดหวังว่าพ่อจะเป็นที่พึ่งให้ได้ แต่เขาทำไม่เป็น ณ ช่วงชีวิตนั้น เรื่องราวบทบาทพ่อ หนึ่งในเรื่องที่โวเกลผู้กำลังมีลูกในวัยทารก ผู้ที่ดูแลคนอื่นไม่เป็น ผู้ที่ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าความสัมพันธ์และครอบครัวจะได้กลับมาเดินทางด้านในและแก้ไขมัน ท้ายที่สุดแล้วเราเห็นตัวละคร โวเกล ได้หลอมรวมกับการเป็นคนที่อ่อนโยน เป็น ร้องไห้ได้ ดูแลคนที่เขารักได้ โวเกลได้เปลี่ยนผ่าน และเรียนรู้ว่าการจะเป็นพ่อที่ดีได้ ต้องยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง ของพ่อ และสุดท้ายเขาได้พลังที่จะโอบอุ้มดูแลและให้ความรักกับลูกได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น

หากบอกว่าการดูละครคือการย้อนมองดูตัว หนังเรื่องนี้เป็นกระจกสะท้อนที่นอกจากเห็นการเดินทางของฮีโร่แบบโวเกลแล้ว จากนั้นเรายังได้ดูตัวเอง หนังเชื้อเชิญให้เราได้กลับไปค้นเจอห้วงเวลาที่เราจะได้เรียนรู้จากบาดแผล ด้านมืดและด้านสว่างของเรา ถ้าผู้อ่านสนใจ ‘การเดินทางของฮีโร่’ และอยากย้อนมองดูตัวเองก็อยากเชื้อเชิญให้ไปชมกันนะครับ 


ขณะดูหนัง เห็นเส้นทางของลอยด์ โวเกลที่เริ่มต้นถูกเคาะประตูโดย บก. ที่ให้ไปสัมภาษณ์โรเจอร์ส เผชิญปัญหาและความกลัวสุดๆ จนไปสู่การหลอมรวมเป็นตัวตนใหม่ทำให้นึกถึงโจเซฟ แคมเบลล์ นักเขียน และนักตำนานวิทยา (mythologist) ชาวอเมริกัน เขาได้เสนอแบบแผนการเดินทางของฮีโร่ มี 12 ขั้นตอน ซึ่งหากผู้อ่านเริ่มมีเหตุการณ์เช่นนี้ เริ่มมีบางอย่างมาเคาะประตู ก็ลองปล่อยให้ตัวเองได้เดินทางสู่ Hero’s Journey ดูได้  

  1. ช่วงที่ยังอยู่ในโลกที่คุ้นเคย 
  2. มีเสียงเรียกให้ออกผจญภัย โดนเคาะประตูจากปัญหาในชีวิต เรียกร้องให้เราค้นหา ฮีโร่จะเกิดความสงสัยและเริ่มต้นออกเดินทาง 
  3. การปฏิเสธเสียงเรียก มีเสียงเรียกให้ทำในสิ่งที่ต่างออกไป เรามักปฏิเสธและบอกตัวเองว่าเราอยากที่จะอยู่ในโลกธรรมดาสามัญเช่นเดิม 
  4. การพบครู มีการส่งเพื่อน ครู ผู้มีทักษะ หนังสือ หรือธรรมชาติ มาช่วยให้เราฝึกฝน เรียนรู้มุมใหม่ ขยายศักยภาพ เพื่อเดินทางไปในเป้าประสงค์ของตัวเอง 
  5. การข้ามเขตแดน ตัดสินใจและก้าวข้ามขอบของโลกธรรมดาสามัญไปยังอีกโลกหนึ่ง ไปพบเงื่อนไข กฎเกณฑ์ และระบบคุณค่าที่ไม่คุ้นเคย 
  6. การรับบททดสอบ เจอศัตรูและมิตรที่จะช่วยเหลือ 
  7. ทดลองหาวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการกับบททดสอบที่เข้ามา ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ตัวตน หรือการแสดงออก เพื่อให้ชนะอุปสรรคที่เข้ามา 
  8. การเผชิญอุปสรรคสูงสุด เป็นช่วงเวลาของความเป็นความตายที่ต้องเผชิญสิ่งต่างๆ ภายในตนเอง เช่น ด้านมืดของตนเอง หรือความกลัวที่สุดในชีวิต การสลัดละทุกๆ อย่างที่เราเคยเป็น ซึ่งวิธีก้าวข้ามเราต้องทำงานกับด้านต่างๆ ของตนเอง 
  9. การรับรางวัล หากก้าวผ่านระยะของการเผชิญอุปสรรคได้ เป้าประสงค์จะมอบรางวัล ของขวัญ ความรัก บทเรียน หรือปัญญา จะเกิดการเติบโตและเปลี่ยนแปลงภายในกลายเป็นคนใหม่ที่ต่างจากเดิม 
  10. เดินทางกลับสู่โลกปกติ 
  11. การเกิดใหม่ เจอบททดสอบที่ต้องใช้ความรู้และทักษะทั้งหมดที่ได้เรียนรู้ระหว่างการเดินทางเพื่อเอาชนะบททดสอบสุดท้ายไปให้ได้ เป็นการปรับตัวสู่โลกปกติอย่างแท้จริง 
  12. การกลับมาพร้อมพลังวิเศษ กลับไปยังโลกปกติแล้วแบ่งปันความรู้ พลัง หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้รับออกไปสู่โลก 

Tags:

Midlife crisisภาพยนตร์จิตวิทยาแบบแผนทางความสัมพันธ์ชีวิตการทำงาน

Author:

illustrator

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    การต่อรองและปฏิกิริยาตอบโต้ลำดับขั้นทางสังคมในความสัมพันธ์

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Family Psychology
    พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เพราะความรักเป็นเรื่องไม่อาจฝืน

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Life classroom
    ฮาวทูทิ้ง: มอง “ตัวละคร” ผ่านเลนส์จิตวิทยา เมื่อเราต่างมี “ฮาวทู” จัดการความสัมพันธ์ในแบบของตัวเอง

    เรื่อง ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • How to enjoy life
    ณัฐวุฒิ เผ่าทวี: เศรษฐศาสตร์ความสุขในครอบครัว “ถ้าคนหนึ่งสุขที่สุด แล้วคนอื่นทุกข์อยู่หรือเปล่า”

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Healing the traumaMovie
    HONEY BOY: ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อที่ดี แต่พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่ยังเจ็บปวดเหมือนกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel