Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Relationship
27 October 2021

ทำไมการมีจุดยืนที่ชัดเจนจึงสำคัญต่อการมีความสัมพันธ์ที่ดี ? (Healthy Boundary)

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ขอบเขตหรือจุดยืนที่ชัดเจน (Healthy Boundary) คือ การที่เราเลือกรับฟังความรู้สึกและความต้องการตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่า อะไรคือสิ่งที่เรารู้สึกพอใจ และอะไรคือสิ่งที่รู้สึกไม่พอใจ รวมถึงเราต้องการอะไร
  • ความสัมพันธ์ที่ดีเกิดจากการมีขอบเขตและจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งมาจาก 2 องค์ประกอบ หนึ่ง – การเคารพจุดยืนในตัวเอง และสอง – การเคารพจุดยืนอีกฝ่าย หากขาดอย่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็จะส่งผลให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน
  • จุดยืนที่ดีควรเป็นจุดยืนที่ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งเกินไป กล่าวคือ ไม่ใช่จุดยืนที่แข็งเกินไปโดยไม่ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์ (Rigid Boundary) และก็ไม่ใช่จุดยืนที่อ่อนปวกเปียก (Loose Boundary) เพราะสิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้เราและคนรอบข้างรู้สึกแย่ไปด้วย 

การมีจุดยืนที่ชัดเจนหรือมั่นคงเป็นจุดเริ่มต้นของทุกความสัมพันธ์ที่ดีบนโลกนี้ (Healthy Boundary) ความสัมพันธ์ที่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากสิ่งนี้ สิ่งนี้เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่คอยส่องแสงหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ให้งอกงาม ซึ่งใช้ได้ทั้งความสัมพันธ์คู่รัก ครอบครัว เพื่อน รวมถึงกับตัวเอง

หากขาดจุดยืนหรือมีการล้ำเส้นขอบเขต ความสัมพันธ์จะบั่นทอนและสั่นคลอน ไม่เพราะความรู้สึกแย่ที่เรามีกับตัวเอง ก็อาจเป็นเพราะเรารู้สึกแย่กับอีกฝ่าย หรืออีกฝ่ายรู้สึกแย่กับความคลุมเครือของเรา

นึกภาพว่าวันนี้เรารู้สึกแย่กับตัวเองมากจนไม่อยากมีบทสนทนากับใคร ช่วงท้ายของวันจึงไม่ได้อยากตอบไลน์แฟน ถึงอย่างนั้น แม้ข้างในจะเหนื่อยล้าแค่ไหน เราก็พร้อมจะละเลยความรู้สึกและความต้องการตัวเองเพื่อเอาใจแฟนเสมอ

วันหนึ่ง แฟนเราเหนื่อยล้าจนไม่อยากตอบไลน์ เราก็อาจรู้สึกขุ่นเคืองใจ (Resentment) เปรียบเทียบว่าทำไมทีฉันยังพยายามเพื่อเธอตั้งเยอะ ทำไมเธอไม่ทำเพื่อฉันบ้าง

จะเห็นได้ว่าการที่อีกฝ่ายเคารพจุดยืนตัวเองในเหตุการณ์ที่เราเคยละเลยจุดยืนตัวเองเพื่อเอาใจอีกฝ่ายมักนำมาซึ่ง
ความรู้สึกแย่กับตัวเอง เมื่อเราไม่เคารพจุดยืนตัวเอง (Boundary) การเคารพจุดยืนคนอื่นก็มักเป็นเรื่องยาก
แล้วการกระทำนี้มักส่งผลให้เรารู้สึกแย่ที่ตัวเองไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนจนไม่สามารถพึ่งพายึดตัวเองเป็นเสาหลักใน
ชีวิตได้ (Codependence) อีกฝ่ายก็จะรู้สึกแย่ที่เราไม่เข้าใจและเคารพจุดยืนเขา และก็อาจรู้สึกว่าทำไมเราไม่เคารพตัวเอง ฟังเสียงข้างในตัวเองบ้างเลย 

การเข้าใจจุดยืนคนอื่นจะง่ายขึ้นมาก เมื่อเราทำสิ่งนั้นกับตัวเอง – เคารพจุดยืน

การทำเช่นนี้ต่อเนื่องจะส่งผลต่อความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง หรือ Self-Esteem รวมถึงความเชื่อใจเสียงของหัวใจ

เสียงในหัวที่อาจเกิดมาจากการล้ำเส้นขอบเขตตัวเอง “ทำไมเขาเอาเปรียบฉันจังเลย” “ทำไมไม่มีใครเคารพฉัน” “เขาใส่ใจและรู้จักฉันจริงๆ หรือเปล่า” “ทำไมฉันเป็นคนแย่จังเลย” 

ขอบเขตหรือจุดยืนที่ชัดเจน (Healthy Boundary) หมายถึง การกลับมาทบทวนความรู้สึกและความต้องการตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่ตัวเองรู้สึกพอใจ และอะไรคือสิ่งที่รู้สึกไม่พอใจ ทั้งแง่จิตใจและร่างกาย โดยเราเลือกที่จะรับฟังความรู้สึกและความต้องการตัวเองอย่างซื่อสัตย์ ฟังให้ได้ยินถึงหัวใจข้างในว่าจริงๆ แล้วเราต้องการอะไร อะไรคือสิ่งที่เรายึดถือ แล้วจริงๆ อะไรคือสิ่งที่เราไม่ต้องการ สำคัญที่สุดคือ การเคารพสิ่งที่หัวใจตัวเองบอกอย่างซื่อตรง

สัญญาณที่อาจบอกได้ว่าเรากำลังมีจุดยืนที่ไม่ชัดเจนกับตัวเอง

  • รู้สึกผิดและกังวลเมื่อปฎิเสธคนอื่น
  • เลือกที่จะตอบตกลงไปปาร์ตี้ด้วยทั้งที่จริงๆ ไม่ได้อยากไป
  • บอกว่าตัวเองโอเคทั้งที่ข้างในไม่ได้รู้สึกแบบนั้น
  • ใส่ใจและห่วงใยคนอื่นอย่างมาก ทั้งที่รู้สึกไม่พร้อมจะทำ
  • ยังคงเอาตัวเองไปอยู่ใกล้คนที่ทำให้รู้สึกแย่
  • ไม่สื่อสารความรู้สึกและความต้องการ ทั้งที่รู้สึกไม่โอเคกับการกระทำอีกฝ่าย
  • อธิบายเหตุผลในการปฏิเสธมากเกินจำเป็น
  • เล่นมือถือต่อทั้งที่ร่างกายต้องการนอนแล้ว

สัญญาณที่อาจบอกได้ว่าคนอื่นกำลังไม่เคารพจุดยืนเรา

  • เขาตื้อให้ไปปาร์ตี้ทั้งที่เราสื่อสารความต้องการไปแล้ว
  • เขาคอยควบคุมชีวิตจนเรารู้สึกอึดอัด
  • เขาไม่รับฟังและเคารพความรู้สึกและความต้องการเรา
  • เขารู้ว่าคำพูดเขาทำให้เรารู้สึกแย่แต่เขาก็ยังคงพูดต่อไป
  • เขาจับร่างกายของเราในส่วนที่เราไม่ได้อนุญาต

ทุกความสัมพันธ์ที่ดีเกิดจากขอบเขตและจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งมาจาก 2 องค์ประกอบ หากขาดอย่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปก็จะส่งผลให้ความสัมพันธ์สั่นคลอน หนึ่ง – การเคารพจุดยืนในตัวเอง และสอง – การเคารพจุดยืนอีกฝ่าย

หากเราไม่เคารพจุดยืนตัวเองแล้วทำสิ่งตรงข้ามกับความรู้สึกข้างในโดยที่ไม่ได้เต็มใจที่จะทำ การกระทำเช่นนี้มักนำพาความรู้สึกขุ่นเคืองเข้ามาในหัวใจเรา แม้ไม่ใช่วันนี้ แต่สักวันความรู้สึกนี้จะมาแน่นอน และอาจนำพาซึ่งความรู้สึกไม่เชื่อใจความรู้สึกและความต้องการตัวเอง หรือที่เรียกว่าเกิดการตัดขาดจากความรู้สึกและความต้องการตัวเอง

เราอาจละเลยไม่ได้ฟังเสียงหัวใจตัวเองจนวันหนึ่งไม่รู้ว่าจริงๆ ข้างในตัวเองต้องการอะไร หรือกระทั่งถึงรู้ก็ไม่สามารถเชื่อเสียงข้างในนั้นได้

นอกจากนี้ การไม่เคารพจุดยืนอีกฝ่ายจะทำให้เขาค่อยๆ สะสมความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นการถูกรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว
นานวันจะทำให้เขารู้สึกแย่กับตัวเอง แล้วก็พลอยรู้สึกแย่กับเราด้วย 

ผมเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ดี คือ การที่เราทำให้อีกฝ่ายสามารถรักตัวเองได้มากขึ้นเวลาที่เขาอยู่กับเรา ซึ่งการไม่เคารพจุดยืนอีกฝ่ายไม่ได้ทำให้เขารักตัวเองมากขึ้นแน่นอน และนั่นมักไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ดี (Unhealthy Relationship)

จุดยืนที่ดีควรเป็นจุดยืนที่ไม่สุดโต่งไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งเกินไป กล่าวคือ ไม่ใช่จุดยืนที่แข็งเกินไปโดยไม่ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์ (Rigid Boundary) และก็ไม่ใช่จุดยืนที่อ่อนปวกเปียก (Loose Boundary) เพราะสิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้เราและคนรอบข้างรู้สึกแย่ไปด้วย 

ถึงอย่างนั้นก็ไม่มีสูตรชัดเจนว่าจุดยืนที่ชัดเจนควรจะเป็นอย่างไร เพราะทุกคนล้วนมีบริบทชีวิตที่แตกต่างกัน คีย์เวิร์ดสำคัญ คือ การฟังเสียงหัวใจ และพิจารณาความเป็นจริงอย่างซื่อสัตย์ว่าตอนนี้ควรชัดเจนเลย หรือว่าควรผ่อนปรนบ้าง แล้วประโยชน์ของการทำสิ่งนั้นคืออะไร บางครั้งการต้องใจแข็งอาจเป็นประโยชน์กว่า บ้างการผ่อนปรนก็อาจเหมาะกว่า และบางสถานการณ์การหาจุดกึ่งกลางก็อาจดีกว่า

เมื่ออีกฝ่ายไม่เคารพจุดยืน เราควรสามารถสื่อสารจุดยืนหรือขอบเขตตัวเองอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
โดยอาจเป็นคำพูดว่า

  • เรารู้สึกไม่โอเคที่แกใช้คำพูดแบบนี้ (ชัดเจนในความรู้สึกตัวเอง)
  • ขอบคุณที่ชวนไปทำงานนะ แต่ตอนนี้เรายังไม่ค่อยพร้อม ขอบคุณนะ (ปฏิเสธอย่างมั่นใจ)
  • อย่ามาจับตรงนี้นะ ฉันไม่โอเค (ยืนยันขอบเขตชัดเจน)
  • เราสะดวกคุยถึงแค่ 22.00 นะ ตามที่คุยกันนะ ถ้านานกว่านี้ไว้ต่อกันวันหลัง (แจ้งขอบเขตเวลาที่ชัดเจน)

เราสามารถฝึกเคารพจุดยืนอีกฝ่ายด้วยคำถามง่ายๆ ว่า

  • เขารู้สึกอย่างไรที่เราขอทำแบบนี้
  • เธอคิดอย่างไรกับการที่เราพูดแบบนี้

การตั้งคำถามไปที่ความรู้สึกและความต้องการอีกฝ่าย แล้วรับฟังด้วยความเคารพจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าเราใส่ใจเสียงข้างในใจของเขา ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น

สำหรับหลายคนการกลับมาฟังเสียงความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริง หรือเรียกให้โรแมนติกหน่อยว่า การฟังเสียงของหัวใจ อาจเป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกอึดอัด บ้างก็รู้สึกผิด ซึ่งเป็นความรู้สึกปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ช่วงแรกอาจรู้สึกแปลกๆ ที่ทำ เหมือนการที่เราใช้ชีวิตโดยการวิ่งมาตลอด หากวันนี้จะกลับมาเดินบ้างก็คงรู้สึกไม่แปลกไม่ใช่น้อย 

คำถามยอดฮิตที่ผมมักใช้เพื่อกลับไปเข้าใจเสียงของหัวใจตัวเองคือ ตอนนี้จริงๆ กำลังรู้สึกอะไร แล้วข้างในจริงๆ ตอนนี้ต้องการอะไร ผมเชื่อว่าเราสามารถใช้สองคำถามนี้ถามตัวเองในทุกวันได้ แล้วมันจะเป็นกุญแจสำคัญในการกลับมาเชื่อมโยงและฟังเสียงหัวใจตัวเองให้ชัดขึ้น

การมีจุดยืนที่ชัดเจนด้วยการฟังเสียงหัวใจตัวเองอย่างซื่อสัตย์ เป็นหนึ่งในวิธีการรักตัวเองที่ดี และการฟังเสียงหัวใจผู้อื่นอย่างซื่อสัตย์และเคารพก็เป็นจุดเริ่มต้นของการรักคนผู้อื่นที่ดีเช่นเดียวกัน

เมื่อทั้งสองเริ่มได้เชื่อมโยงกับเสียงที่แท้จริงของหัวใจตัวเอง หัวใจของพวกเขาก็จะเชื่อมโยงกันง่ายขึ้น  

หมายเหตุ คำว่าจุดยืนและขอบเขตเป็นคำที่ผมใช้สลับกันเพื่อให้ได้ใจความสำคัญในการแปลคำว่า Boundary 

Tags:

Healthy Boundaryความรักแบบแผนความสัมพันธ์

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Relationship
    Love Bombing: เมื่อการทุ่มเทความรักมากมายเป็นเพียงเหยื่อล่อไปสู่ความสัมพันธ์ท็อกซิก

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    Asexual ชีวิตที่อยู่นอกกรอบเรื่องรักใคร่

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Book
    เจ้าชายน้อย : นิยายรักจากดาว B612

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Everyone can be an Educator
    เมื่อความรักไม่สามารถปล่อยไปตามธรรมชาติได้ มา Unlearn และ Relearn คำว่า ‘ความสัมพันธ์’ กันใหม่กับ Thaioasister

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Family Psychology
    ‘รักในวัยเรียน’ เปลี่ยนความกังวลให้เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้และเติบโต : คุยกับ หมอโอ๋-พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ จิตติมา หลักบุญ

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel