Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Learning Theory
5 July 2018

6 วิธีสร้างบรรยากาศ ‘วอลดอร์ฟ’ ง่ายๆ ให้โรงเรียน

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • การเรียนการสอนวอลดอร์ฟ เชื่อว่า ‘สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี’ การสร้างบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตัวเอง
  • เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เพราะเน้นเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การลงมือทำ มากกว่ากระดานดำและห้องเรียน

กำมือขึ้นแล้วหมุนๆ ชูมือขึ้นโบกไปมา กางแขนขึ้นและลง พับแขนมือแตะไหล่…กางแขนขึ้นและลง ชูขึ้นตรงหมุนไปรอบตัว เย่!

หลายคนคงเคยผ่านการร้องและเต้นเพลงนี้หน้าเสาธงในสมัยอนุบาลมาก่อนแน่นอน พอเต้นเสร็จทุกคนก็แยกย้ายเข้าห้องเรียน แล้วเริ่มเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อย่างหน้าดำคร่ำเครียด ทำได้เพียงเฝ้ารอให้ถึงวันใหม่ จะได้กลับมาเต้นหน้าเสาธงอีกครั้ง

บทความชิ้นนี้จะพาไปทำความรู้จัก ‘การศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education)’ รูปแบบการเรียนการสอนที่เดินทางมาถึงเมืองไทยพักใหญ่ในฐานะหลักสูตรของโรงเรียนทางเลือก ที่เน้นเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การลงมือทำ มากกว่ากระดานดำและห้องเรียน

วอลดอร์ฟ เป็นการศึกษาที่รวบรวมศิลปะในสาขาวิชาทั้งหมดของเด็กอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจให้กับการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนทุกคน ให้พวกเขาสามารถพัฒนาขีดความสามารถที่มีเอกลักษณ์ของตนเองได้เต็มที่

แนวคิด วอลดอร์ฟ เกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20 โดยรูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เชื่อว่า “สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี” การจัดบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การจัดสีที่นุ่มนวล แสงสว่างจากธรรมชาติ ตลอดจนเสียงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกร้อง ใบไม้ไหว น้ำไหลริน จะสร้างความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยน และสดชื่นในจิตใจเด็ก เด็กจะมีพลัง ตื่นตัว และมีสมาธิในการเรียนรู้ หลักการแนวคิด วอลดอร์ฟ ให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กที่กำลังเติบโต

เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตัวเอง การศึกษาแนววอลดอร์ฟจึงเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3 อย่างคือ 1.กิจกรรมทางกาย 2.อารมณ์ความรู้สึก และ 3.การคิด เน้นให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ

การเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพสมดุลกลมกลืนกับโลกและสิ่งแวดล้อม เด็กสามารถพัฒนาร่างกายและจิตใจไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ โดยการเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปอย่างสมดุล ทั้งการเรียนรู้ทางกาย (การลงมือทำ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ) และสมอง (ความคิด)

วิชาดนตรี เต้นรำ เล่นละคร เขียนวรรณกรรม ไม่ได้เป็นแค่เรื่องที่ต้องอ่านและทดสอบเท่านั้น นักเรียนต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เด็กไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบแข่งขันทางวิชาการ หรือสร้างรางวัลเพื่อจูงใจให้เด็ก วิธีเหล่านี้จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ครูอยู่ตรงไหนในวอลดอร์ฟ

ส่วนครูต้องใส่ใจในรายละเอียด เพราะแต่ละกิจกรรมเด็กอาจมีวิธีการของเขาเอง ครูไม่สามารถปิดกั้นว่าเขาต้องทำตามคำบอกของครูหรือเพื่อน หากทำได้แบบนี้จะส่งผลให้เด็กได้รู้จักคิดพลิกแพลง ยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ทั้งในเชิงความคิด และวิธีการมองปัญหา

จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายแห่ง และหลายสาขาวิชา พบว่านักเรียนที่มาจากการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟมีความสามารถด้านการบูรณาการความรู้ ส่งผลทำให้จดจำและแยกแยะข้อเท็จจริงได้มากกว่า นอกจากนี้ยังมีความคิดสร้างสรรค์และพร้อมเผชิญหน้ากับความเสี่ยงมากกว่า นักเรียนกลุ่มนี้จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในระดับอุดมศึกษา

การปรับหลักสูตรหรือรายวิชาอาจยากเกินไป โรงเรียนทั่วไปสามารถสร้างบรรยากาศแบบวอลดอร์ฟได้ง่ายๆ เพื่อดึงดูดให้นักเรียนสนุกและเชื่อมโยงกับความรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกวิชา ทุกระดับชั้น

  • ทักทาย ทักทายและสบตานักเรียนแต่ละคน นักเรียนจะต่อแถวอยู่หน้าประตู และกระตือรือร้นที่จะได้พบกับครูแบบหนึ่งต่อหนึ่ง วิธีนี้ช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบนักเรียนแต่ละคนได้ในช่วงเริ่มต้นของวัน
  • สร้างสัมพันธ์ ให้นักเรียนได้สร้างความสัมพันธ์กับนักเรียนที่มีอายุมากกว่า การที่นักเรียนต่างรุ่นมาเจอกันหนึ่งครั้งต่อเดือน จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์ และมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับรุ่นพี่และรุ่นน้อง
  • วาดภาพ ให้เด็กวาดภาพลงในสมุดของตัวเอง การให้นักเรียนวาดรูปในวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาการอ่าน เป็นวิธีที่ดีในการผสมผสานศิลปะเข้ากับหลักสูตร นักเรียนจะภูมิใจในหนังสือของตัวเอง และเรียนรู้ในรูปแบบใหม่
  • เพาะปลูก พานักเรียนออกไปเดินป่าและทำสวน การพานักเรียนออกไปเดินที่สวนสาธารณะใกล้ๆ หรือแหล่งธรรมชาติใกล้ๆ จะกลายเป็นบทเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครูสามารถตอบคำถามนักเรียนเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกได้ สวนของโรงเรียนจะช่วยเชื่อมต่อนักเรียนกับธรรมชาติและเรียนรู้ว่าพืชเจริญเติบโตอย่างไร
  • เล่น ฝึกเล่นเครื่องดนตรีในระหว่างการเปลี่ยนชั้นเรียน ให้นักเรียนแต่ละคนเป็นผู้บันทึกเสียง หรือให้ทั้งชั้นเรียนทำตามครูโดยการเล่นโน้ตสองสามครั้งในช่วงพักเรียน นักเรียนจะเพลิดเพลินไปกับการผสมบทเรียนดนตรีสั้นๆ เข้ากับการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
  • เคลื่อนย้าย อนุญาตให้เด็กๆ ขยับตัวได้ในระหว่างเรียน การเรียนในห้องจะสนุกมากขึ้นถ้าเด็กๆ ได้ลุกออกจากเก้าอี้ เพื่อทำกิจกรรมทางกาย เช่น การกระโดดเหยียบภาพแสดงจำนวน เพื่อเริ่มต้นการเรียนรู้การคูณ
ที่มา:
https://www.waldorfeducation.org/
https://www.edutopia.org
http://www.rakluke.com

Tags:

เทคนิคการสอนการศึกษาแนววอลดอร์ฟ(Waldorf)ศิลปะปฐมวัย

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • Creative learning
    สานเสวนา (Dialogue) เชื่อมโยงบทเรียนภาษาไทยสู่การเรียนรู้เชิงรุก : ครูมิลค์ – นิศาชล พูนวศินมงคล

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Early childhood
    ‘ธาตุ’ ในวัยอนุบาล เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    เรื่อง อุบลวรรณ ปลื้มจิตร

  • Learning Theory
    วิจารณ์ พานิช: ใช้ศิลปะและการเล่นกีฬากระตุ้นการเจริญงอกงามของสมองเด็ก

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

  • Early childhoodCharacter building
    อนุบาลบ้านรัก : ตื่นเช้าไป ‘บ้าน’ ไม่ใช่โรงเรียน

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Adolescent Brain
    ห้องเรียนรก = ความเครียด = พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน?!

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ บัว คำดี

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel