Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Learning TheorySocial Issues
18 March 2020

STUDY FROM HOME รวมคอร์สเรียนออนไลน์ในและต่างประเทศ และแพลตฟอร์มสร้างห้องเรียนสำหรับครู

เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์ ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • สถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้ภาครัฐประกาศให้สถานที่หลายๆ แห่งปิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส รวมถึงสถานศึกษาอย่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
  • แม้ว่าจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นแต่ไม่สามารถหยุดให้เราหาความรู้ได้ The Potential ขอรวบรวมเว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงแพลตฟอร์มจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้ผู้ที่สนใจได้ใช้เวลาช่วงนี้เก็บเกี่ยวความรู้และพัฒนาตัวเอง

วันที่ 10 มีนาคม 2563 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ประกาศว่ามีรัฐบาลจำนวน 16 ประเทศสั่งปิดโรงเรียนและสถาบันการศึกษา หยุดทำการเรียนการสอนทั่วประเทศ ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา UNESCO ได้เพิ่มจำนวนประเทศที่หยุดการเรียนการสอนเป็นทั้งหมด 85 ประเทศแทน ทั้งยังมีอีก 15 ประเทศที่บางโรงเรียนได้หยุดการเรียนการสอนด้วยตนเอง

ทำให้ยอดตัวเลขการปิดโรงเรียนมีมากกว่า 100 ประเทศ เด็กและเยาวชนมากกว่า 776 ล้านคนได้รับผลกระทบจาก Coronavirus หรือ COVID-19 (อ่านผลกระทบจาก COVID-19 ต่อระบบการศึกษาได้ที่นี่) และล่าสุดสำหรับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการได้สั่งปิดโรงเรียนทั้งรัฐ – เอกชนทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมเป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

เพื่อตอบคำถามสั้นๆ และพยายามคิดหาทางออกแบบเร็วๆ The Potential ขอรวบรวมเว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงแพลตฟอร์มจัดการเรียนการสอนนออนไลน์ มาแนะนำให้กับคุณครู เด็กและผู้สนใจมาลองใช้กัน

คอร์สเรียนออนไลน์ในประเทศ

My Course Ville: คอร์สเรียนออนไลน์จากจุฬาฯ

คอร์สนี้สำหรับใคร: นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป

My Course Ville แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ฟรีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำหรับนิสิตจุฬาฯ และผู้สนใจทั่วไป มีวิชาเรียนเกือบทุกสาขาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรือ นิติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนเป็นรอบและจำกัดจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียน

CMU MOOC: คอร์สเรียนออนไลน์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คอร์สนี้สำหรับใคร: นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป

CMU MOOC แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทุกคนลงทะเบียนเรียนได้ฟรี

ปัจจุบันวิชาเรียนที่เปิดสอนได้แก่ ส่องธุรกิจปทุมมา (การปลูกและการจัดการหลังเก็บเกี่ยว) เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้, การปลูกและการผลิตกาแฟอย่างยั่งยืน, สปาเพื่อสุขภาพ จากคณะวิทยาศาสตร์ โดยทั้ง 3 คอร์สนี้จะเริ่มสอนในวันที่ 16 กรกฎาคม 2563

Dek-d School: คอร์สเรียนออนไลน์สำหรับน้องมัธยม

คอร์สนี้สำหรับใคร: มัธยมศึกษา

Dek-d School แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ที่มุ่งเน้นไปยังกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา #เพื่อเตรียมสอบ เข้ามหาวิทยาลัยเป็นหลัก ติวเตอร์เป็นติวเตอร์ดังในแวดวงกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบ คอร์สเรียนนี้ต้องเสียเงินเป็นรายคอร์ส เช่น คอร์สพิชิต TCAS หรือ พิชิต สอวน. เป็นต้น

Thai MOOC: คอร์สเรียนฟรีจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

คอร์สนี้สำหรับใคร: มัธยมศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัย และ ประชาชนทั่วไป

Thai MOOC โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเรียนมากถึง 600,000 คน มีบทเรียนที่เปิดสอนกว่า 300 บทเรียน และมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการอีก 101 สถาบัน มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

คอร์สเรียนออนไลน์ต่างประเทศ

Coursera: แพลตฟอร์มรวบรวมคอร์สเรียนออนไลน์จาก 190 มหาวิทยาลัยและองค์กรชั้นนำระดับโลก

คอร์สนี้สำหรับใคร: นักศึกษามหาวิทยาลัย และ ประชาชนทั่วไป

Coursera แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์ทั้งที่ฟรีและไม่ฟรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 37 ล้านคน

คอร์สเรียนต่างๆ ยังได้รับการรับรองจากสถาบันที่มีชื่อเสียงและน่าเชื่อถือมีมากถึง 3,900 คอร์สเรียน ทั้งนี้จุดเด่นของ Coursera อยู่ที่ว่าเราสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนคอร์สเรียนง่ายๆ เรียนเพื่อพัฒนาทักษะและต้องการใบรับรอง หรือ เรียนปริญญาแบบจริงจังไปเลย (แต่มีแค่ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเท่านั้น) แต่ในกรณีนี้จะต้องเสียงค่าธรรมเนียม และราคาก็มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับคอร์สเรียนเหล่านั้น

Edx: แพลตฟอร์มเรียนออนไลน์จาก MIT, ฮาร์วาร์ดและอีก 100 สถาบันระดับโลก

คอร์สนี้สำหรับใคร: นักศึกษามหาวิทยาลัย และ ประชาชนทั่วไป

Edx เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มคอร์สเรียนออนไลน์ทั้งฟรีและเสียเงิน ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดยกลุ่มมหาวิทยาลัย MIT และฮาร์วาร์ด ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคน มีเป้าประสงค์ใกล้เคียงกับ Coursera รวมถึงมีคอร์สเรียนทั้งในรูปแบบคอร์สเรียนธรรมดา คอร์สเรียนเพื่อรับใบรับรอง และเรียนปริญญาตรีหรือโทออนไลน์

อย่างไรก็ดี ความน่าสนใจของ Edx ที่แตกต่างกับ Coursera อยู่ที่ Edx เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และเป็น open-source platform กล่าวคือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้ามาใช้งานได้ โดยมีเงื่อนไขบ้างประการ

คอร์สเรียนฟรีๆ จาก Ivy League

คอร์สนี้สำหรับใคร: นักศึกษามหาวิทยาลัย และ ประชาชนทั่วไป

Ivy League คือการรวมตัวกันของมหาวิทยาลัยเอกชน 8 สถาบันในสหรัฐอเมริกามีชื่อเสียงโดดเด่นด้านวิชาการที่เป็นเลิศทั้งยังติดท็อปการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกมาอย่างยาวนาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยบราวน์ วิทยาลัยดาร์ตมัธ และ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยดังกล่าวได้เปิดคอร์สเรียนมากถึง 430 คอร์สเพื่อให้ผู้สนใจเข้าเรียนได้ฟรีตามหมวดวิชาดังนี้

  • Computer Science จำนวนทั้งหมด 37 คอร์ส
  • Data Science จำนวนทั้งหมด 18 คอร์ส
  • Programming จำนวนทั้งหมด 8 คอร์ส
  • Humanities จำนวนทั้งหมด 80 คอร์ส
  • Business จำนวนทั้งหมด 72 คอร์ส
  • Art & Design จำนวนทั้งหมด 20 คอร์ส
  • Science จำนวนทั้งหมด 32 คอร์ส
  • Social Sciences จำนวนทั้งหมด 74 คอร์ส
  • Health & Medicine จำนวนทั้งหมด 32 คอร์ส
  • Engineering จำนวนทั้งหมด 15 คอร์ส
  • Education & Teaching จำนวนทั้งหมด 21 คอร์ส
  • Mathematics จำนวนทั้งหมด 14 คอร์ส
  • Personal Development จำนวนทั้งหมด 7 คอร์ส

สำหรับผู้ที่สนใจอยากดูรายละเอียดพร้อมขั้นตอนการเข้าไปลงเรียนสามารถดูได้ที่นี่

แพลตฟอร์มสร้างห้องเรียนออนไลน์สำหรับครู

Moodle: ซอฟต์แวร์ฟรีสำหรับจัดการเรียนการสอน

Moodle ซอฟต์แวร์สำหรับใช้จัดการรายวิชาบนเว็บไซต์ รองรับตั้งแต่ผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน จุดเด่นอยู่ที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลของผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหาการเรียนรู้ ตลอดจนติดตามการเรียนการสอนของผู้เรียน และประเมินผลได้ผ่านเครื่องมือที่ทางซอฟต์แวร์มีให้ เช่น เว็บบอร์ด หรือ แชท เป็นต้น

โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีเพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถาบันการศึกษาหรือรายวิชาต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนออนไลน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Google Classroom: ห้องเรียนออนไลน์สำหรับทุกคน

Google Classroom อีกหนึ่งแอปพลิเคชันจาก Google Apps เป็นการรวบรวมการทำงานในแพลตฟอร์มต่างๆ ของ Google ได้แก่ Google Drive, Google Doc และ Gmail เข้ามาร่วมกันเพื่อให้คุณครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนและให้ติดตามนักเรียนได้ผ่านโลกออนไลน์

เช่น การประกาศต่าง ๆ (Announcement) การมอบหมายงาน การสั่งการบ้าน (Assignment) และ การสร้างควิซ (Question) ทั้งนี้ นักเรียนใน Google Classroom ยังสามารถแสดงสถานะของงานชิ้นนั้น ๆ ได้ด้วยว่า เสร็จแล้ว (done) หรือ ยังไม่เสร็จ (not done) ได้อีกด้วย

Kahoot: ให้คุณครูใช้ระบบ premium ฟรี

Kahoot แพลตฟอร์มหรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ผ่านเกมอย่างสร้างสรรค์ เช่น การตอบคำถาม การอภิปราย หรือ การประเมินผล ต่าง ๆ  โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 1.2 พันล้านคน และครูมากกว่า 5 ล้านคนใช้งาน โดยหลังจากวิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น Kahoot ได้เปิดให้ครูสามารถใช้ระบบ premium ได้ฟรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางไกล ละการเรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่นี่

Tags:

ระบบการศึกษาDisruptionการเรียนรู้ด้วยตัวเอง(self-directed learning)เรียนออนไลน์school closureไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

Author:

illustrator

ชลิตา สุนันทาภรณ์

นักเขียนที่ปรากฎตัวพร้อมกระเป๋าเล็กสะพายข้างเป็นหลักหนึ่งใบคู่กระเป๋าผ้าใบใหญ่ไว้ใส่ของจริงๆ อาจเพราะจบรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเหตุให้ไปเกาหลีกับญี่ปุ่นบ่อยราวเป็นบ้านหลังที่สอง ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะอธิบายทุกแฮชแทกในทวิตเตอร์ในประเด็นการเมืองระหว่างประเทศและวัฒนธรรมประชาชนสมัยนิยมได้

Illustrator:

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Related Posts

  • Social Issues
    NEW NORMAL ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Social Issues
    เลื่อนเปิดเทอม: โจทย์ วิธีรับมือ ของ 4 ครูไทยในพื้นที่และบริบทที่แตกต่าง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ นัฐพล ไก่แก้ว

  • Social IssuesLearning Theory
    โอกาสใน COVID-19: เปลี่ยนจากเรียนแบบเหมาโหล สู่บทเรียนส่วนตัวแบบเลือกได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Social Issues
    โรงเรียนอาจไม่เหมือนเดิม: 3 ประเด็นที่ต้องตาม โคโรน่าไวรัสทำให้การศึกษาเปลี่ยนไปอย่างไร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Social Issues
    ปิดโรงเรียนแล้วอย่างไรต่อ? มาตรการรับมือ ‘หลัง’ ปิดโรงเรียน จากรัฐบาลทั่วโลก

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel