Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Grit
9 September 2019

S.M.A.R.T GOAL ตั้งเป้าหมายให้ชัด ใกล้ ใช่ และจริง – ไม่ล้มเหลวแน่นอน

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

แม้จะวางแผนมาเป็นอย่างดี แต่บางครั้งก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า นั่นอาจเป็นเพราะแผนที่คุณวางคลุมเครือและสับสน

S.M.A.R.T. goal คือ เครื่องมือช่วยตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบแผนที่ดีต้องมีปลายทางชัดเจน

แต่ละก้าวต้องมีการวัดผลที่แน่นอน มีจุดเช็คพอยท์ คอยประเมินเราทุกๆ ระยะว่าที่ผ่านมาว่าเรามาถูกทางแล้วหรือยังเมื่อคุณทำได้ทั้งหมด เป้าหมายก็ใกล้นิดเดียว

S.M.A.R.T. ย่อมาจาก Specific, Measurable, Attainable, Relevant และ Timely

  1. Specific: ตั้งเป้าหมายให้เจาะจงยิ่งเจาะจง ยิ่งเป็นจริงได้มาก
    ผ่านการตั้งคำถามต่างๆ กับตัวเอง ดังนี้อะไรที่อยากทำให้สำเร็จ เมื่อไร อย่างไร ?
    ทำไมถึงอยากทำสิ่งนี้ ?
    เงื่อนไขหรือข้อจำกัดคืออะไร ?
    มีแผนสำรองอะไรบ้างที่พอจะเป็นทางเลือก?
  2. Measurable: มีหลักเกณฑ์วัดความคืบหน้า อะไรจะเกิดขึ้นบ้างเมื่อคุณถึงเป้าหมาย ซอยย่อยแผนการทำงานแล้ววัดไปทีละอัน ความสำเร็จเล็กๆ ที่เกิดเป็นระยะ ผลักดันให้เราไปต่อถึงเป้าหมายได้
  3. Attainable: ประเมินและหาความเป็นไปได้ที่ทำให้ไปถึงเป้าหมายหาว่าอะไรคือความเป็นไปได้ในการทำให้ถึงเป้าหมาย ที่เรายอมรับและพร้อมจะลงทุนกับมันจริงๆ ไม่เกี่ยงว่าคิดการณ์เล็กหรือการณ์ใหญ่
  4. Relevant: ทบทวนว่าสิ่งนั้น ‘ใช่’ จริงๆ หรือไม่ คำถามสำคัญที่ต้องตอบให้ได้ คือ ทำไมคุณถึงอยากทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ? และ คุณทำสิ่งนั้นเพื่ออะไร? ถ้าตอบได้ ก็ลุยเลย
  5. Timely: กำหนดตารางเวลาเพื่อลงมือทำ การกำหนดเวลาสำคัญมาก กำหนดเวลาที่เป็นไปได้จริงและยืดหยุ่น ไม่สร้างความเสียหาย ถ้าเข้มงวดมากไปจะสร้างความกดดัน แต่อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เพราะจะสะท้อนถึงความไม่รับผิดชอบและไม่มีวินัย

อ่านบทความ 5 ขั้นตอนตั้งเป้าหมายไม่ให้พลาด เพิ่มเติมได้ ที่นี่

Tags:

วัยรุ่นคาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsGrit

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Grit
    GRIT การอดทนเพื่อสู้สิ่งยาก ถึงยากก็อยากจะสู้!

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • 21st Century skills
    รวิศ หาญอุตสาหะ: คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างอยากทำงานด้วย

    เรื่อง The Potential

  • Grit
    5 ขั้นตอนตั้งเป้าหมายไม่ให้พลาด: เริ่มจากเขียนลงกระดาษและค่อยๆ ทำให้เป็นจริง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ antizeptic

  • GritMovie
    วิลเลียม คัมแควมบา: ความมุ่งมั่นและกัดไม่ปล่อยของเด็กชายที่ผลิตกังหันลมจากกองขยะ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    เพราะความรู้ปัจจุบันไม่เพียงพอ ‘โรงเรียนอนาคต’ จะทำให้เด็กอยู่รอดและไปต่อในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel