Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Learning Theory
16 September 2021

กรอบเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) : วิทยาศาสตร์ชายเป็นใหญ่ที่กดทับเด็กในระบบการศึกษา

เรื่อง กุลธิดา ติระพันธ์อำไพ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • การที่สังคมใช้ระบบเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) คือ ชาย – หญิง ส่งผลให้เด็กๆ ถูกตีกรอบเพศ และหากเด็กคนไหนมีลักษณะที่ต่างออกไปก็จะถูกปัดไปเป็นเด็กที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานความเป็นหญิงและความเป็นชายที่สมบูรณ์ตามแบบฉบับที่สังคมสร้างขึ้น
  • เมื่อเด็กต้องเข้าไปในระบบการศึกษา สิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปคือ แบบการเรียนการสอนที่ยังคงยึดติดกับกรอบของเพศแบบสองขั้ว ทั้งจากหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาและเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์
  • ระบบวัฒนธรรมที่กล่าวว่าเพศที่แท้จริงมีเพียงสองเพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง เพิ่งถือกำเนิดในศตวรรษที่ 17 และถูกยกย่องในศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์ผิวขาว ผู้มีความเชื่อว่าการแบ่งแยกเพศออกเป็นเพศชายและเพศหญิงนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีงาม
Trigger warning: การทารุณทางคำพูด, การเหยียดเพศ

เพศชายและเพศหญิง ‘สองตัวเลือก’ ในใบสูติบัตรที่ทารกมักถูกระบุตั้งแต่แรกเกิด สิ่งที่เรามักเห็นตามมา คือ การจำแนกเลี้ยงดูเด็กตามบทบาทของเพศกำเนิดอยู่บ่อยครั้ง เริ่มจากการตั้งชื่อทารกให้อยู่ในบริบทของความเป็นชาย ความเป็นหญิง การเลี้ยงดูเด็กตามบทบาทในสังคมของเพศกำเนิด 

ยกตัวอย่างเช่น การเล่นของเพศกำเนิดชาย มักจะเป็นของเล่นจำพวกหุ่นยนต์ รถบรรทุก หรือการเล่นแบบใช้พละกำลังเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่หากเป็นเพศกำเนิดหญิงของเล่นก็มักจะเป็นจำพวกตุ๊กตา การเล่นขายของเสียมากกว่า หรือแม้กระทั่งประเภทของการ์ตูน เพศกำเนิดชายมักถูกเลือกให้ดูการ์ตูนจำพวกต่อสู้ ฮีโร่ ในขณะที่เพศกำเนิดหญิงมักจะเป็นแนวการ์ตูนตาหวาน หรือบาร์บี้ 

นอกจากนี้สีของเด็กผู้ชายและผู้หญิงยังถูกแบ่งออกอย่างชัดเจน อย่างเด็กผู้ชาย – สีฟ้า เด็กผู้หญิง – สีชมพู และหากเด็กคนไหนไม่ได้เลือกในสิ่งที่บทบาทเพศกำเนิดว่าต้องเลือก ก็มักถูกตั้งคำถามถึงอัตลักษณ์ทางเพศ และในกรณีที่แย่ที่สุด เด็กอาจถูกพ่อแม่หรือผู้ปกครองปฏิบัติในลักษณะที่ต่อต้านการกระทำเหล่านั้น ทำให้ตัวเด็กเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยทางด้านจิตใจขึ้นมา

และเมื่อเด็กต้องเข้าไปในระบบการศึกษา สิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปคือ แบบการเรียนการสอนที่ยังคงยึดติดกับกรอบของเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) ที่สังคมกำหนดอย่างเลี่ยงไม่ได้ อ้างอิงจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ได้ระบุบทบาทหน้าที่ในครอบครัวของพ่อและแม่ไว้อย่างชัดเจน ทั้งในตัวรูปภาพและเนื้อหาว่า ‘พ่อ’ คือ เพศกำเนิดชาย ‘แม่’ คือ เพศกำเนิดหญิง บทบาทของพ่อและแม่ คือ หัวหน้าครอบครัว แต่พ่อจะต้องเป็นผู้นำ หาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว สอนลูกอ่านหนังสือ ในขณะที่แม่จะต้องทำกับข้าว ทำงานบ้าน

และนอกจากนั้นในหนังสือเรียนสสวท. เองก็ได้ระบุเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนว่า เพศของมนุษย์ในทางชีววิทยานั้นมีเพียงแค่เพศชายและเพศหญิง สามารถแบ่งแยกได้โดยโครโมโซมเพศชาย คือ XY และ โครโมโซมเพศหญิง คือ XX ทั้งยังมีการกำหนดฮอร์โมนเพศ อย่างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งจะมีหน้าที่ทำให้ลูกกระเดือกมีขนาดใหญ่ขึ้น, มีขนที่ใบหน้า, มีกล้ามเนื้อ และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ที่ทำให้ผู้หญิงมีหน้าอก สะโพกที่พาย มีเสียงที่แหลม มีช่วงไหล่ที่แคบ

หากเด็กคนไหนมีลักษณะที่ต่างออกไปจากสิ่งที่วิทยาศาสตร์เหล่านี้กำหนด เด็กเหล่านั้นก็จะถูกปัดไปเป็นเด็กที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานความเป็นหญิงและความเป็นชายที่สมบูรณ์ตามแบบฉบับที่สังคมสร้างขึ้น

“เป็นธรรมชาติที่เด็กผู้ชายจะต้องมีความแข็งแรงกว่าเด็กผู้หญิงอยู่แล้ว”

“เป็นผู้หญิงอะไรทำไมมีหนวด เหมือนผู้ชายเลย”

“ผู้ชายจริงๆ เหรอ ทำไมถึงไม่มีลูกกระเดือก แล้วยังมีเสียงเหมือนผู้หญิงเลยล่ะ”

“เป็นผู้หญิงทำไมไม่มีนมเลย”

“ผู้หญิงอะไรตัวสูงเหมือนผู้ชาย”

“เป็นผู้ชายแบบไหนมีหน้าอกเหมือนผู้หญิง”

บ่อยครั้งที่เด็กคนไหนมีลักษณะที่แปลกแยกไปจากสิ่งที่วิทยาศาสตร์เหล่านี้กำหนด ก็มักจะถูกตั้งคำถามเชิงล้อเลียน ทำให้เด็กที่มีลักษณะทางกายภาพเหล่านั้นรู้สึกไม่ปลอดภัยในร่างกายตัวเอง จนไปถึงขั้นตั้งคำถามถึงความผิดปกติในตัวเอง สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลให้เด็กเกิดความรู้สึกแปลกแยกและกลายเป็นบาดแผล (Trauma) ทางจิตใจ ไม่มั่นใจในสภาพร่างกาย ไปถึงขั้นพยายามหาหนทางแก้ไขเพื่อให้ตนสามารถตรงตามบรรทัดฐานทางกายภาพของเพศเหล่านั้นที่สังคมกำหนด

“ทางชีววิทยา มนุษย์มีเพียงแค่เพศชายและหญิง

เรื่องนี้มันคือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์จะเถียงได้อย่างไร”

“ยอมรับได้ว่ามนุษย์มีความหลากหลาย

แต่ไม่อาจเถียงเรื่องฮอร์โมนเพศหญิงชาย หรือโครโมโซมเพศหญิงชายได้หรอกนะ”

คำพูดเหล่านี้มักถูกยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งในกรณีที่กล่าวถึงเรื่องของความหลากหลายทางเพศ ทั้งการยกวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษามาเน้นย้ำว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ยิ่งทำให้เด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาตอกย้ำความเข้าใจในเรื่องเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) ว่าคือความจริงทางธรรมชาติที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ และหากเด็กคนไหนเกิดความรู้สึกที่แตกต่างและหลุดออกจากเกณฑ์ที่วิทยาศาสตร์เหล่านี้กำหนด สิ่งที่มักจะตามมา คือ ความรู้สึกผิดในตนเองและอาจไปถึงขั้นว่ากล่าวว่าตนเองผิดปกติ 

นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่ประจักษ์ชัดอย่างเป็นรูปธรรม คือ การเน้นย้ำในระบบเพศแบบสองขั้วว่าเป็นข้อเท็จจริงผ่านการบังคับเลือกเพศและการใช้สรรพนาม เด็กจะต้องระบุเพศที่มีเพียงสองตัวเลือกในโรงเรียน (เพศชาย-เพศหญิง) หรือการระบุสรรพนามที่มีเพียงเพศชาย (นาย) และเพศหญิง (เด็กหญิง/นางสาว) ทั้งหมดนี้ยิ่งตอกย้ำว่าระบบเพศแบบสองขั้วนั้น คือ ระบบที่ถูกต้องและดำรงอยู่จริง ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าการกระทำรูปแบบนี้กลายเป็นสิ่งที่กำลังกดทับเด็กให้หลุดออกจากกรอบ ‘ความปกติที่ถูกต้องของสังคม’ ยิ่งเด็กรับรู้และเข้าใจตัวตนของตนเองมากเท่าไหร่ คำว่า ‘ความปกติที่ถูกต้องของสังคม’ ก็ยิ่งห่างไกลมากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งหากจะกล่าวกันแล้ว สังคมของเราถูกดำเนินมาด้วยระบบเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) มาโดยตลอด ทุกอย่างล้วนแฝงอยู่ในทุกอณูของการใช้ชีวิต แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นจริงแค่ไหน? แท้จริงแล้วระบบเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) หรือระบบวัฒนธรรมที่กล่าวว่าเพศที่แท้จริงมีเพียงสองเพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง เพิ่งถือกำเนิดมาในศตวรรษที่ 17 และถูกนำขึ้นมายกย่องในศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์ผิวขาว ผู้มีความเชื่อว่าการแบ่งแยกเพศออกเป็นเพศชายและเพศหญิงนั้นถือเป็นสิ่งที่ดีงามสำหรับผู้มีอารยะชนผิวขาว ทั้งยังใช้ในการแบ่งแยกตนให้สูงส่งกว่าชาติพันธุ์อื่นๆ

ยิ่งไปกว่านั้น แท้จริงแล้วการถือระบบเพศแบบสองขั้ว (Gender binary) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันยังได้รับเผยแพร่มาจากลัทธิการล่าอาณานิคมของคนผิวขาวชาวตะวันตก ที่ต้องการขยายดินแดนและเข้าถึงทรัพยากรของพื้นที่อื่น โดยการใช้คำว่า ‘อารยธรรมอันสูงส่ง’ เข้ามาเผยแพร่ ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการกดขี่ชนพื้นเมืองให้อยู่ภายใต้โครงสร้างอำนาจทางการเมืองเท่านั้น

María Lugones นักปรัชญาสตรีนิยมและศาสตราจารย์ด้านวรรณคดีเปรียบเทียบและสตรีศึกษา ได้กล่าวถึงเรื่องการล่าอาณานิคมกับเพศไว้ว่า “ชาวตะวันตกผิวขาวได้เข้ามาขยายอาณานิคมโดยนำแนวคิดเรื่องเพศและเชื้อชาติเข้ามาแนะนำด้วย ซึ่งแนวความคิดนี้กลายเป็นเครื่องมือในการควบคุมชนพื้นเมือง โดยกำหนดเพศแบบระบบสองขั้วตรงข้าม (Gender Binary) และกำหนดหมวดหมู่ทางสังคมแบบลำดับชั้น (Social hierarchies) ซึ่งผู้หญิงจะถูกกำหนดให้มีความสัมพันธ์ที่เป็นรองภายใต้ผู้ชายในทุกประเภท ดังนั้นการล่าอาณานิคมทำให้เกิดแนวคิดเรื่องเชื้อชาติและเพศขึ้นมา” 

นอกจากนี้ โอเยรองเก โอเยวูมิ (Oyèrónkẹ́ Oyěwùmí) นักวิชาการสตรีนิยมและนักทฤษฎีเพศภาวะได้เน้นย้ำถึง ‘ความไม่มีจริงของระบบเพศแบบสองขั้ว’ จากงานวิจัยของเธอเกี่ยวกับชาวโยรูบา (Yorùbá) ของประเทศไนจีเรีย เบนินและโตโก ว่าสังคมโยรูบาก่อนการล่าอาณานิคมนั้นไม่มีระบบเพศสภาพในสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งระบบการกดขี่ทางเพศเหล่านี้เพิ่งจะมาเกิดขึ้นหลังยุคที่สังคมโยรูบาผ่านการล่าอาณานิคมมาแล้ว ระบบเพศแบบสองขั้วได้ครอบคลุมและบังคับกดขี่ความเป็นหญิงในทุกมิติ โอเยวูมิอธิบายว่า แนวความคิดเรื่องเพศได้รับการแนะนำโดยชาวตะวันตกผิวขาว ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ปกครองและกดขี่ ผู้หญิงถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ชายและไม่สามารถมีอำนาจ, เป็นเจ้าของที่ดิน หรือมีส่วนร่วมในบทบาทผู้นำในสังคม

และในก่อนที่ระบบเพศแบบสองขั้วจะเป็นที่นำมาใช้ นักวิทยาศาสตร์เองก็ยังคงเชื่อว่าในตัวมนุษย์คนหนึ่งมีทั้งความเป็นชายและความเป็นหญิงอยู่ภายในตัวอีกด้วย นอกจากนี้การใช้ระบบเพศแบบสองขั้วยังถือเป็นการลบตัวตนของอินเทอร์เซ็กซ์ (Intersex) หรือ บุคคลที่เกิดมาพร้อมกับลักษณะโครงสร้างทางกายภาพหรือ/และทางเพศที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ ไม่ได้ตรงกับกรอบของความเป็นหญิงหรือชาย โดยการกล่าวอ้างว่าอินเทอร์เซ็กซ์เป็นเพียงโรคชนิดหนึ่ง 

ซึ่งแท้จริงแล้ว Claire Ainsworth ได้อธิบายไว้ในวารสารเนเจอร์ วารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกถึงเรื่องนี้และเรื่องเพศไม่ใช่แค่เลขฐานสอง (ชาย-หญิง) หรือระบบสองขั้ว แต่เป็นเหมือนสเปกตรัม ดังนั้นกรณีการแบ่งแยกเพศด้วยโครโมโซมจึงไม่ถูกต้อง เพราะแท้จริงแล้วโครโมโซมของมนุษย์ไม่ได้ถูกกำหนดได้อย่างตายตัวว่าโครโมโซม XX คือ เพศหญิง และโครโมโซม XY คือ เพศชาย แต่มีความซับซ้อนกว่านั้น 

“เมื่อมีโครโมโซม Y อยู่ คุณเป็นผู้ชาย และหากไม่มีโครโมโซม Y คุณก็คือผู้หญิง แต่แพทย์ทราบมานานแล้วว่าคนบางคนนั่งคร่อมพรมแดนเพศ โครโมโซมเพศของพวกเขาบอกสิ่งหนึ่ง แต่อวัยวะสืบพันธุ์ (รังไข่หรืออัณฑะ) หรือกายวิภาคศาสตร์ทางเพศพูดอีกอย่างหนึ่ง พ่อแม่ของเด็กที่มีอาการที่กล่าวมา หรือที่รู้จักกันในภาวะที่มีเพศคลุมเครือหรือความแตกต่างหรือความผิดปกติของพัฒนาการทางเพศ (DSDs) มักต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ยากลำบากว่าจะเลี้ยงลูกเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง ซึ่งเอาจริงๆ แล้วจากงานวิจัยในปัจจุบัน ทุกๆ ทารก 100 คนจะมีมากกว่า 1 คนที่เป็น DSDs หรือ อินเทอร์เซ็กซ์ (Intersex)

“และเมื่อพันธุกรรมถูกนำไปพิจารณา ขอบเขตระหว่างเพศจะยิ่งพร่ามัวยิ่งขึ้นอีก นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่ายีนจำนวนมากมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบหลักของ DSD และได้เปิดเผยการแปรผันของยีนเหล่านี้ว่า มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อเพศทางกายวิภาคหรือทางสรีรวิทยาของบุคคล ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีใหม่ในการจัดลำดับดีเอ็นเอและชีววิทยาของเซลล์เปิดเผยว่าเกือบทุกคนเป็นเซลล์ที่แยกจากกันทางพันธุกรรมในระดับที่แตกต่างกัน เพศกำเนิดของบางคนก็อาจจะไม่สัมพันธ์กับส่วนอื่นในร่างกายได้ งานวิจัยบางชิ้นยังแนะนำว่าเพศของแต่ละเซลล์ขับเคลื่อนพฤติกรรมของมันเองผ่านเครือข่ายอันซับซ้อนของปฏิสัมพันธ์ระดับโมเลกุล”

และมีงานวิจัยอีกจำนวนมากที่ระบุว่า โครโมโซมเพศเป็นสิ่งที่ไม่สามารถระบุเจาะจงได้อย่างถ่องแท้ เซลล์มนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งกว่านั้น นอกเหนือจากโครโมโซม XX, XY ยังคงมีโครโมโซม XYY, XXY,  XXX, X หรือโครโมโซมอื่นๆ ที่ผสมกันได้อีกเช่นเดียวกัน

การมีโครโมโซม XX แต่มีอวัยวะเพศชายสามารถเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกับที่การมีโครโมโซม XY แต่มีอวัยวะเพศหญิงก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน การมีอยู่ของอินเทอร์เซ็กซ์ได้ยืนยันว่าความหลากหลายและระบบเพศแบบสองฐานนั้นไม่เป็นจริง ซึ่งการลบตัวตนของอินเทอร์เซ็กซ์ (Intersex) ด้วยการจัดกลุ่มว่าเป็นเพียงโรคนั้นจะไม่เป็นธรรมไป เพราะยังคงมีงานวิจัยจำนวนมากที่ออกมาบอกว่าเด็กที่เป็นอินเทอร์เซ็กซ์แท้จริงแล้วสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี เพียงแต่การที่ผู้ปกครองให้แพทย์ศัลยกรรมเลือกเพศในตอนแรกเกิดนั้นเกิดจากความหวาดกลัวและกังวลในการเลี้ยงดู เนื่องจากเป็นประสบการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อน

อย่าลืมว่าบางทีความจริงก็ไม่อาจน่ากลัวเท่าความกลัว ก่อนที่เราจะมีประสบการณ์ เราจำต้องหวาดกลัวและไม่มีประสบการณ์มาก่อน การปัดกลุ่มอินเทอร์เซ็กซ์เป็นเพียงโรคนั้นไม่ใช่ทางออกของปัญหา ยังแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กถ้าหากการศัลยกรรมมีปัญหา 

สิ่งสำคัญ คือ การที่เราควรเปิดใจและลองมองว่า แท้จริงแล้วเพศของเราเป็นดั่งสเปกตรัม ถ้าระบบเพศแบบสองขั้วที่ก่อสร้างมาจากการล่าอาณานิคมไม่ได้เป็นเรื่องแท้จริงแต่อย่างใด วิทยาศาสตร์ที่ออกมาเพื่อตอบสนองโครงสร้างอำนาจนี้ก็ไม่ได้เท็จจริงเสมออย่างนั้น 

การให้เด็กเติบโตและมีสิทธิ์เลือกเพศของเขาในอนาคต คือ สิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจในตัวตนและเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่  และนอกจากการมีครอบครัวหรือผู้ปกครองที่ให้การสนับสนุน เข้าใจ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กได้แล้ว โรงเรียนก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญที่จะช่วยโอบรับและสร้างความเข้าใจในความหลากหลายนี้

นอกจากนี้ฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงที่แบ่งออกเป็นแบบเลขฐานสอง (กล่าวคือมีเพียง 2 เพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง) ก็เช่นเดียวกัน ฮอร์โมนเพศถูกทำให้เป็นที่รู้จักครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 โดยเป็นการนำมาเสริมทฤษฎีโครโมโซมเพศ ในแง่มุมที่กล่าวว่า โครโมโซมเพศมีคู่ที่เข้าคู่กันเพื่อให้เข้ากับฮอร์โมนที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย สาเหตุนี้จึงทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนถูกแยกออกจากกันเป็นครั้งแรกเพื่อเสริมแรงทฤษฎีนี้ (นอกจากนี้ การเสริมแรงนี้ยังคงเป็นรากฐานในการเสริมสร้างแนวความคิดที่ว่า ‘เพศกำเนิดเป็นเรื่องทางชีววิทยาและตายตัว’ ในยุคหลังอีกด้วย) 

ทั้งที่ความจริงแล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนเพศหญิงก็สามารถมีอยู่ในเพศกำเนิดชายในระดับที่สูงเช่นเดียวกับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนเพศชายก็สามารถมีอยู่ในเพศกำเนิดหญิงในระดับที่สูงไม่ต่างกัน การมีปริมาณฮอร์โมนทั้งสองนี้อยู่ในระดับที่แตกต่างจากที่วิทยาศาสตร์เหล่านั้นกำหนด ไม่ได้แปลว่าเราผิดปกติหรือแตกต่าง แท้จริงแล้วคือเรื่องธรรมชาติและธรรมดาของมนุษย์ 

ร่างกายของเพศกำเนิดหญิงอาจมีขนขึ้นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่การมีหนวด เช่นเดียวกับร่างกายของเพศกำเนิดชายอาจมีแทบไม่มีขนเลย เพศกำเนิดหญิงอาจมีเสียงที่ใหญ่ห้าว เช่นเดียวกับเพศกำเนิดชายก็สามารถมีเสียงที่แหลมเล็กและไร้ลูกกระเดือก ส่วนคำถามที่ว่าทำไมร่างกายของเพศชายถึงแข็งแรงและมีกล้ามเนื้อมากกว่าเพศหญิงก็คงต้องมองย้อนกลับไปที่การเลี้ยงดูในตอนต้น เด็กที่เกิดมาเป็นเพศกำเนิดชายมักถูกเลี้ยงดูไปในทางที่เปิดโอกาสให้กล้ามเนื้อได้เสริมสร้างตั้งแต่ยังเด็ก ต่างจากเพศกำเนิดหญิงที่ลักษณะการเลี้ยงดูและการเล่นมักจะเปิดโอกาสให้สมองสร้างทักษะการจดจำได้มากกว่า 

สิ่งสำคัญที่เราควรรื้อถอนและลบอคติทางเพศทั้งหลาย สร้างความเข้าใจว่าร่างกายของมนุษย์แตกต่างและซับซ้อนมากกว่าที่จะมาหนดให้เป็นเพียงแค่ระบบเลขฐานสอง มันยังมีหลากหลายปัจจัยและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ มากกว่านั้น

หากเราลบอคติและมองด้วยใจที่แท้จริง จะเห็นได้ว่าระบบเพศแบบสองขั้วหรือ Binary นั้นแท้จริงแล้วเป็นเพียงสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นมาเพื่อให้เกิดเป็น ‘วัฒนธรรมอันถูกต้อง’ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องทางชีววิทยาอย่างที่วิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษาพร่ำบอก แต่แม้ว่าจะเป็นเรื่องของชีววิทยาจริงๆ ก็ไม่อาจเถียงได้ว่าแท้จริงแล้วมันสามารถเปลี่ยนและลื่นไหลได้ตามกาลเวลาอยู่แล้ว เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าวิทยาศาสตร์และชีววิทยาในอดีตพัฒนามาจนถึงปัจจุบันเพราะการตั้งคำถามในชุดความรู้เดิมๆ จนเกิดการวิวัฒนาการและการกำเนิดชุดความรู้ใหม่ๆ 

ดังนั้น จึงไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบใดที่ตายตัวและสมบูรณ์แบบ หากแต่ถ้าเรานำมันมาเป็นชุดความรู้-ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจเถียงได้ เมื่อนั้นโลกคงถึงกาลอวสานสิ้นความรู้เพราะอคติที่ไม่เปิดรับของเหล่ามนุษย์โลก

การยอมรับและโอบรับความหลากหลายไม่ใช่เรื่องยาก ในทุกวันนี้มีเด็กจำนวนมากที่ถูกกดทับจากวิทยาศาสตร์ที่มีอคติทางเพศและถูกปัดไปเป็นคนชายขอบ เด็กที่ต้องดิ้นรนอยู่ในวังวนของความสงสัยในความแตกต่างของตนเอง เด็กที่ต้องพยายามปีนป่ายเพื่อให้เข้าไปในกรอบอันนั้นเพียงเพราะข้อเท็จจริงทั้งหลายเหล่านี้ได้สร้างทัศนคติและมุมมองที่น่าเจ็บปวด รวมทั้งข้อกฎหมายที่ไม่เคยเข้าถึงความหลากหลายทางเพศเลยแม้แต่เศษเสี้ยว 

อย่าปล่อยให้พวกเขาถูกทอดทิ้ง อย่าปล่อยให้พวกเขาต้องเกลียดชังในความเป็นตนเอง โปรดโอบรับและเปิดใจมองเห็นความหลากหลายเหล่านี้ อย่าแบ่งแยกหรือกีดกันเขาออกไป การสร้างค่านิยมและวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์และกฎหมายใหม่ไม่ใช่เรื่องยาก หากเพียงแต่วันนี้เราคงต้องตั้งคำถามกับตนเองว่าเราสามารถสร้างโลกที่โอบรับคนทุกคนได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมไหม 

ถ้าคำตอบนั้นคือใช่ โลกที่เด็กและคนทุกคนสามารถเป็นตนเองได้โดยไม่รู้สึกผิดและภูมิใจในสิ่งเหล่านั้นคงไม่เกินจริง

อ้างอิง
แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary)
What is intersex?
สสวท.คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา 
Sex isn’t chromosomes: the story of a century of misconceptions about X & Y
Sex redefined
Sex isn’t binary, and we should stop acting like it is
Pediatric Differences in Sex Development
Sex Chromosome Abnormalities
Androgen insensitivity syndrome
Coloniality of Gender

Tags:

ระบบการศึกษาเพศวิทยาศาสตร์

Author:

illustrator

กุลธิดา ติระพันธ์อำไพ

ชื่อชอบงานศิลปะ แต่ไม่ถนัดวาดรูป รักการถ่ายรูป ค้นพบตัวได้ที่อาร์ตแกลหรือร้านหนังสือ สนใจในเรื่องเพศ สังคม จิตวิทยา มนุษย์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม เป็นเฟมินิสต์แอคทิวิสต์ที่ชอบฟังนิทานก่อนนอน เชื่อในความหลากหลายและฝันอยากมีโลกที่โอบอุ้มคนทุกคน

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • ‘ครูต้องเชื่อว่าตัวเองมีเสรีภาพที่จะสร้างหลักสูตรในระดับปฏิบัติการ’ แนวคิดที่จะทำให้หลักสูตรฐานสมรรถนะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ : คุยกับ ดร.ออมสิน จตุพร

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Everyone can be an Educator
    ชวนเด็กเล่นเกม เรียนรู้ผ่านกล ฝึกฝนกระบวนการคิด : ฟิสิกส์แสนสนุกฉบับ ‘วิทย์พ่อโก้’ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • MovieLife classroom
    Accepted 2006: เมื่อเป้าหมายการศึกษาที่ไม่ใช่เพื่อเข้ามหาลัย แต่เพื่อค้นพบตัวเอง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Voice of New Gen
    คุณวุฒิ บุญฤกษ์: เด็กชายผู้ล้มเหลวในวิชาวิทย์ สู่นักวิจัยสายสังคมศาสตร์

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • How to get along with teenager
    รับมือวัยรุ่นยุค SEXTING: สื่อสารให้เข้าใจเรื่องความปลอดภัยของตัวลูกเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel