Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Family PsychologyDear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่น
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Transformative learning
26 May 2025

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1 บทนำ ‘มนุษย์ทุกคนมีพลังซ่อนเร้น’

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บันทึกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ นี้ ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Hidden Potential : The Science of Achieving Greater Things (2023) เขียนโดย Adam Grant นำสู่การตีความหนังสือออกเป็นบันทึกชุดนี้ แต่เป็นการตีความที่ต่างจากบันทึกชุดก่อนๆ คือ ผมได้เสริมข้อคิดเห็นของตนเอง จากความรู้เดิมที่มีและจากความรู้ที่ขอให้ปัญญาประดิษฐ์หลายสำนักช่วยค้นและให้ข้อสรุปด้วย โดยผมไม่ได้คัดลอกข้อความจากปัญญาประดิษฐ์โดยตรง แต่ใช้ข้อมูลจากปัญญาประดิษฐ์ช่วยการเขียนของผม    

ชีวิตที่ยาวนาน 82 ปี บอกผมว่า มนุษย์เราทุกคนมีพลังซ่อนเร้นอยู่มากมาย ที่หากรู้จักดึงออกมาใช้ จะเป็นคุณทั้งต่อเจ้าของพลังนั้น ต่อครอบครัว วงศ์ตระกูล ชุมชนโดยรอบ บ้านเมือง และต่อโลก แต่เมื่ออ่านหนังสือ Hidden Potential ก็พบว่ายังมีมิติพลังซ่อนเร้นของมนุษย์ที่ผมไม่เข้าใจ และไม่ตระหนักอีกมากมาย รวมทั้งมีวิธีปลดปล่อยพลังนั้นออกมา ที่มาจากผลงานวิจัย โดยที่ทั้งเป้าหมายและวิธีการเหล่านั้นจำนวนมากใช้ความเชื่อที่แตกต่าง หรือตรงกันข้ามกับที่เราเคยชิน

และที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นแนวทางและวิธีการที่ต่างจากความเชื่อและวิธีการที่ใช้กันอยู่ในระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการเรียนวิชา ผ่านการบอกสอนของครู ให้นักเรียนจดจำ 

ผมจึงเขียนบันทึกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ นี้ เพื่อกระตุ้นการพลิกโฉม (transformation) ระบบการศึกษาไทย ให้จัดการศึกษาที่เอื้อให้ผู้เรียนปลุกพลังซ่อนเร้นของตนออกมากระทำการ เพื่อยกระดับคุณภาพพลเมืองไทยในอนาคต สำหรับช่วยกันยกระดับสังคมไทยสู่ประเทศรายได้สูงสังคมดี     

พลังซ่อนเร้น หรือศักยภาพของมนุษย์นี้ เกือบจะกล่าวได้ว่า ไร้ขีดจำกัด คือเมื่อบรรลุศักยภาพในระดับหนึ่งไปแล้ว ก็จะมีศักยภาพหรือพลังซ่อนเร้นในระดับที่สูงขึ้นรออยู่ เป็นไปตามหลักการ Zone of Proximal Development ของ Lev Vygotsky  

ประเทศที่ระบบการศึกษามีความก้าวหน้า ต่างก็พยายามค้นหาวิธีการที่ช่วยเอื้อการปลดปล่อยศักยภาพที่ซ่อนเร้นดังกล่าว โดยที่ผู้ปลดปล่อยคือเจ้าตัวเอง ผ่านความรู้สึกมั่นใจหรือเป็นตัวของตัวเอง (agency) ผ่านการกระทำ (action) ของตนเอง ตามด้วยการสะท้อนคิด (reflection) สู่ความเข้าใจหลักการมิติต่างๆ ของการเรียนรู้อย่างบูรณาการ รวมทั้งความเข้าใจผิดชอบชั่วดี หรือที่เรียกว่า ค่านิยมศึกษา (VbE – Values-Based Education) ที่จะทำหน้าที่หางเสือชีวิต นำพาสู่ชีวิตที่ดี ที่เป็นกุศล    หลีกเลี่ยงอบายมุขได้          

บันทึกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ นี้ จะค่อยๆ บอกท่านผู้อ่านว่า 

ทุกย่างก้าวของชีวิตมนุษย์ และทุกสถานการณ์ของชีวิตจริงที่แต่ละคนเผชิญ ทั้งที่เป็นสถานการณ์ที่ให้ความสุขหรือความพึงพอใจ และที่เป็นสถานการณ์ที่ก่อความทุกข์ยากแสนสาหัส  ต่างก็เป็นประสบการณ์ที่ให้การเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ยิ่งทุกข์ยากสูง ยิ่งเป็นโอกาสเรียนรู้สูง    

คนที่ประสบความสำเร็จสูงในชีวิต มักเป็นผู้ที่มีทักษะเรียนรู้จากความล้มเหลว รู้จักนำมาสะท้อนคิดเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่าสำหรับอนาคต สำหรับนำข้อเรียนรู้มาพลิกแพลงใช้ในต่างสถานการณ์ ที่เรียกว่าทักษะเพื่ออนาคต (future skills) และมองอีกมุมหนึ่งได้ว่า เป็น soft skills      

ข้อเรียนรู้สำคัญต่อวงการศึกษาไทย คือ การปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ ไม่สามารถทำได้โดยการศึกษาที่เน้นการบอกสอน หรือการเรียนรู้เชิงรับ (passive learning) ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเชื่อตามที่ครูบอก และจดจำไว้ตอบข้อสอบ ต้องทำโดยนักเรียนทำกิจกรรม แล้วสะท้อนคิด ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงรุก (active learning) โดยครูเน้นทำหน้าที่ตั้งคำถาม สำหรับเป็น ‘นั่งร้าน’ (scaffolding) ให้นักเรียนไต่การเรียนรู้สู่มิติที่เป็นการเรียนรู้ขั้นสูง ตาม Bloom’s Taxonomy of Learning

นักเรียนควรได้ฝึกทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยต้องมีทั้งประสบการณ์ที่ราบรื่น และประสบการณ์ที่มีความทุกข์ยาก ผสมความล้มเหลว         

ซึ่งในกระบวนการนี้ นักเรียนจะได้ฝึกการตั้งคำถาม หรือฝึกเป็นคนช่างสงสัย (inquiry) แบบไม่รู้ตัว ที่จะมีทักษะของการใช้ข้อสังเกตจากกิจกรรมหรือประสบการณ์ นำมาตั้งคำถามสู่การสะท้อนคิด (reflection) สู่การตกผลึกหลักการเชิงนามธรรม (abstract conceptualization) ด้วยตนเอง   

พลังซ่อนเร้นในมนุษย์ ส่วนที่สำคัญยิ่ง คือพลังของการตีความ ทำความเข้าใจหลักการหรือทฤษฎี จากประสบการณ์ตรงของตนเอง ซึ่งก็คือการตกผลึกหลักการ หรือทฤษฎี ด้วยตนเอง ที่จะเป็นสมรรถนะแห่งอนาคต สำหรับนำไปใช้ในสถานการณ์ในอนาคตที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน   

เท่ากับศักยภาพซ่อนเร้นของมนุษย์คือ การมีสมรรถนะในการใช้ประสบการณ์ชีวิตยกระดับศักยภาพในการเรียนรู้ของตนขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไร้จุดจบหรือขีดจำกัด ยิ่งประสบการณ์นั้นเข้มข้นและสดใหม่ การยกระดับศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาของผู้นั้นก็ยิ่งสูง    

หัวใจสำคัญคือ ผู้นั้นต้องมีสติตั้งมั่นไม่เสียขวัญ เมื่อเผชิญประสบการณ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย หรือเป็นประสบการณ์ที่ขู่ขวัญหรือยากลำบากแสนสาหัส ยิ่งประสบการณ์มีความท้าทายสูง ข่มชวัญสูง ยิ่งเป็นโอกาสสูงต่อการเรียนรู้ตีความทำความเข้าใจหลักการจากประสบการณ์นั้นในมิติที่สูง แต่คนโดยทั่วไปมักสติแตกจากการถูกข่มชวัญนั้น และไม่สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ยากลำบากแสนสาหัสนั้นได้   

บันทึกชุดนี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจ ว่าความทุกข์ยากแสนเข็ญ จะช่วยให้ท่านเรียนรู้และยกระดับศักยภาพหรือสมรรถนะในตัวของท่านได้อย่างไร ท่านต้องทำอย่างไร ตั้งสติอย่างไร กำหนดท่าทีอย่างไร และมีสมรรถนะอะไร จึงจะสามารถเปลี่ยนความทุกข์ยากให้กลายเป็นพลังบวกยิ่งใหญ่แห่งชีวิตได้     

ท่านจะได้เรียนรู้ว่า ความเชื่อหลากหลายเรื่องที่คนเรายึดถือสืบทอดกันมา เป็นสิ่งผิดพลาดและปิดกั้นการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างไร จะทำอย่างไรจึงจะก้าวข้ามความเชื่อ และการปฏิบัติผิดๆ นั้นได้ โดยที่ในความเป็นจริงแล้วมีคนที่เข้าใจและสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านั้นได้ แต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นได้รับประโยชน์ด้วย 

หนังสือ Hidden Potential ได้ช่วยรวบรวมผลงานวิจัย ที่อธิบายปรากฏการณ์การปลดปล่อยพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ ในภาษาที่ไม่เป็นวิชาการและเข้าใจง่าย มีตัวอย่างจริงประกอบ และเมื่อผมค้นคว้าเพิ่มเติม โดยการตั้งคำถาม ให้ Generative AI หลายสำนักช่วยให้ข้อมูล นำมาเสนอให้สอดคล้องกับบริบทไทย ก็เชื่อว่าจะช่วยกระตุกความคิด กระตุ้นการปฏิบัติ ที่นำสู่การสะท้อนคิดจากประสบการณ์ของคนในวงการศึกษาไทย ที่จะนำสู่การพลิกโฉมการศีกษาไทย   

Tags:

ระบบการศึกษาActive Learningปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ค่านิยมศึกษาทักษะเพื่ออนาคต (future skills)หนังสือ Hidden Potential : The Science of Achieving Greater Things (2023)

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Unique Teacher
    ครูวรวุฒิ ขึ้นสันเทียะ : ห้องเรียน Active Learning หน่วยพิทักษ์สายน้ำแห่งบางเสร่ เมื่อครูกับนักเรียนคือบัดดี้ที่เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Movie
    Blackdog : ซีรีส์ที่บอกว่าโรงเรียนไม่ใช่สถาบันการศึกษาที่ถูกลืม

    เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

  • How to get along with teenager
    นักจิตวิทยาโรงเรียน “น้องร้องไห้ เราจะนั่งฟัง ลูบหลัง ตบไหล่ ให้เขาไม่ลืมเห็นใจตัวเอง”

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Social Issues
    CONNECT TO THE FUTURE: “มันต้องไม่เป็นอย่างนี้” เปลี่ยนอนาคตด้วยการไม่ทนอีกต่อไป

    เรื่อง

  • Everyone can be an Educator
    ความสิ้นหวังการศึกษาในกราฟิกดีไซน์: ศิลปะต้องสร้างอนาคต

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel