Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Transformative learning
13 June 2018

TEACHING EMPATHY: สอนเด็กให้ ‘เข้าอกเข้าใจ’ ลงมือทำ แบ่งปัน มองปัญหาผู้อื่นให้ทะลุปรุโปร่ง

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • ศิลปะการสอนให้เด็กๆ รู้จักเข้าอกเข้าใจ กำลังขยับเข้าใกล้หัวใจของการศึกษามากขึ้น เพราะความรู้สึกนี้เป็นทั้งเหตุและผลของการเข้าใจสิ่งต่างๆ
  • ความเข้าอกเข้าใจ ‘เชื่อมโยง’ สายสัมพันธ์ผ่านความรู้สึกระหว่างคนสองคน ขณะที่ความสงสารเห็นใจคือการ ‘ตัด’ สายสัมพันธ์ทางด้านความรู้สึก
  • หัวใจสำคัญของการเข้าถึงความเข้าอกเข้าใจ คือ การฟัง

คุณคิดว่าต้องใช้อะไรสร้างความเปลี่ยนแปลงบ้าง

ความรู้ ความเป็นผู้นำ ทักษะการบริหารจัดการ … ก็ถูก แต่จุดเริ่มต้นเล็กๆ ทำได้ง่ายๆ แค่ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’

เพราะการเอาใจเขาใส่ใจเรา (empathy) ช่วยสร้างความเชื่อมโยงกับมนุษย์คนอื่น และความสัมพันธ์ที่แข็งแรงยืนยาวเกิดขึ้นจากความเข้าอกเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายอย่างแท้จริง โดยนิตยสาร Greater Good Science Center ได้อธิบายไว้ว่า ความเข้าอกเข้าใจถูกใช้อธิบายประสบการณ์ในขอบเขตที่หลากหลาย กลุ่มนักวิจัยด้านอารมณ์ (Emotion Researchers) ได้ให้ความหมายโดยทั่วไปว่า เป็นความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นๆ รวมกับความสามารถในการจินตนาการถึงสิ่งที่บางคนอาจกำลังคิดหรือรู้สึกอยู่ในขณะนั้น

ศิลปะการสอนให้เด็กๆ รู้จักเข้าอกเข้าใจ (Teaching Empathy) กำลังขยับเข้าใกล้หัวใจของการศึกษามากขึ้น เพราะความรู้สึกนี้เป็นทั้งเหตุและผลของการเข้าใจสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์และความคิดที่จะสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้และชีวิตจริงได้

นอกจากนี้ ยังเป็นภาพรวมที่จะช่วยให้เด็กๆ พิจารณาในระดับตัวตนได้ว่า:

  • ฉันเป็นใคร
  • ใครคือ ‘คนอื่น’ เขาเป็นคนอื่นในหน้าที่ใดและอยู่ระดับไหน
  • เราเชื่อมโยงกันได้อย่างไร และจะแบ่งปันอะไรให้กันได้บ้าง
  • พวกเขาต้องการอะไรจากฉัน และฉันต้องการอะไรจากพวกเขา

บ่อยครั้งที่คำถามเหล่านี้จะนำไปสู่คำตอบของคำถามที่ว่า “ฉันควรเอาสิ่งที่รู้ไปทำอะไรดี”

อะไรคือ ‘เข้าอกเข้าใจ’

มีคำอธิบายจากหลายแห่งที่พยายามแยกความ ‘เข้าอกเข้าใจ (empathy)’ ไม่ให้ถูกใช้สับสนกับความ ‘เห็นใจ (sympathy)’ ที่อาจไปไกลจนกลายเป็นความสงสาร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่สะสมมาจนกลายเป็นมุมมองส่วนตัวของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับว่าจะยึดความหมายจากใคร

ดร.เบรเน บราวน์ (Dr.Brené Brown) ศาสตราจารย์วิจัยจากมหาวิทยาลัยฮิวสตัน ผู้พูด TED Talk ในหัวข้อ ‘พลังของความเปราะบางทางใจ’ (The Power of Vulnerability) ได้พูดถึงความแตกต่างของคำทั้งคู่ไว้ว่า

“ความเข้าอกเข้าใจเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ผ่านความรู้สึกระหว่างคนสองคน ในขณะที่ความสงสารเห็นใจคือการตัดสายสัมพันธ์ทางด้านความรู้สึก”

ตรงกันข้ามกับความหมายที่เว็บไซต์ Dictionary.com ได้อธิบายไว้ว่า ‘ทั้งความเข้าอกเข้าใจและความเห็นใจต่างก็เป็นความรู้สึกที่สัมพันธ์กับคนอื่นๆ ความเห็นใจคือ ‘ความรู้สึกกับ’ เป็นความรู้สึกเศร้าเสียใจต่ออีกคนหนึ่ง ในทางตรงข้าม ความเข้าอกเข้าใจคือ ‘ความรู้สึกถึง’ เป็นความสามารถในการแสดงบุคลิกลักษณะของคนหนึ่งให้คนอื่นได้เห็นและเข้าใจคนคนนั้นมากขึ้น’

สำหรับ Dictionary.com สองคำนี้แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น – ความเห็นใจใช้เพียงอารมณ์แต่ไม่ต้องการการกระทำ ขณะที่ความเข้าอกเข้าใจต้องการทั้งการกระทำและความรู้สึกไปด้วยกัน

ขณะที่นิตยสาร Greater Good อธิบายว่า กลุ่มนักวิจัยร่วมสมัยมักแบ่งคำนี้ออกเป็นสองประเภท

  • ความเข้าใจด้วยอารมณ์ (Affective Empathy) เป็นความรู้สึกที่เราได้รับและตอบสนองต่ออารมณ์ของคนอื่น เราอาจเป็นกระจกสะท้อนความรู้สึกหรืออาจเครียดเมื่อพยายามค้นหาความกลัวหรือความกังวลของอีกฝ่าย
  • ความเข้าใจด้วยกระบวนการคิด (Cognitive Empathy) บางครั้งอาจเรียกว่า การเอาทัศนคติของคนอื่นมาใส่ในใจเรา (Perspective Taking) เป็นความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของคนอื่นได้

แต่ต่อให้เนื้อหาดีมีประโยชน์แค่ไหน หากเริ่มต้นสอนโดยทำเหมือนความเข้าอกเข้าใจเป็นเพียงอาการทั่วไป สิ่งที่จะได้กลับมาคือท่าทีเมินเฉย ไม่แยแสเพราะไม่เห็นความเชื่อมโยง สาระสำคัญในการสอนเรื่องนี้จึงอยู่ที่การใช้นัยยะทางภาษา เริ่มต้นจาก ‘ภายใน’ ของคนอื่น เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะรับรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นได้

สอนอย่างไรให้เด็กๆ ‘เข้าอกเข้าใจ’ เป็น

ไม่มีอะไรจะแย่ไปกว่าการที่โรงเรียนเอาแต่จำกัดความสิ่งที่เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยคำว่า “เพราะครูบอกให้ทำ และเธอไม่อยากได้ศูนย์ใช่ไหม” – ใช่ เราไม่อยากได้ศูนย์ แต่สิ่งที่ครูสอนก็จะไหลออกไปทันทีที่เกรดออกมา การพัฒนาภายในจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการตัดเกรด

การสอนที่ยอดเยี่ยมคือการสร้างความเชื่อมโยงและน่าสนใจให้เนื้อหา ให้เด็กๆ รับรู้ได้ว่านี่คือสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง

แล้วจะเริ่มสอนอย่างไร? สกอตตี แม็คเลนแนน (Scotty McLennan) เจ้าคณะบาทหลวงจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แนะนำว่า สิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เด็กๆ รู้จักการเอาใจเขาใส่ใจเราได้ ขณะที่กลุ่มผู้ได้รับการสนับสนุนจากอโชกา (Ashoga) องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนความเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการสร้างนวัตกรรม ได้สรุปแนวทางการสอนเรื่องนี้มาให้ง่ายๆ 7 ข้อ

  1. รู้สึก จินตนาการ ลงมือทำ แบ่งปัน มองปัญหาของคนอื่นให้ทะลุปรุโปร่ง เชื่อมโยงกับตนเอง โดยให้คนอื่นเป็นศูนย์กลางเพื่อหาทางออกร่วมกัน และเมื่อสำเร็จก็ส่งต่อความรู้สึกให้คนอื่นต่อไป
  2. เริ่มจากตัวเอง ความเข้าอกเข้าใจเป็นเรื่องของการฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน และต่อบทสนทนาด้วยพลังบวก ทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าเราเข้าใจและอยู่ตรงนั้นกับเขาจริงๆ
  3. สร้างความสัมพันธ์ กระตุ้นให้เด็กๆ พยายามเป็นเพื่อนกับคนที่ต่างกันไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือความคิด ความสัมพันธ์จะทำให้พวกเขาเข้าไปรับรู้ เข้าใจ และรู้สึกแบบอีกฝ่ายให้ได้
  4. ให้เวลา ครั้งหน้าที่คุณเอ่ยปากถามว่า ‘เป็นอย่างไรบ้าง’ อย่าลืมที่จะให้เวลาฟังคำตอบจนจบ โดยไม่รีบหนีไปทำอย่างอื่นก่อนด้วยล่ะ
  5. ให้ค่ากับทุกความเห็น ฟังทุกเสียงและให้คุณค่ากับทุกความคิดของเด็กๆ แม้จะแตกต่างหรือไม่ตรงกับความคิดครูก็ตาม เมื่อเด็กๆ รู้สึกว่ามีคนฟัง เขาก็จะเริ่มฟังและเข้าใจคนอื่นมากขึ้น
  6. เริ่มต้นที่บ้านด้วยการแบ่งปัน เด็กๆ ต่างยึดพ่อแม่เป็นต้นแบบ เมื่อพ่อแม่เริ่มถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ที่มีความหมายด้านจิตใจให้ลูกฟัง ก็ไม่ยากนักที่พวกเขาจะซึมซับอารมณ์และความรู้สึกที่ทำให้พวกเขาคิดตาม รู้สึกตาม และเข้าใจในที่สุด
  7. จากผู้รับขยับเป็นผู้ให้ ความเข้าอกเข้าใจไม่ได้จบแค่การให้และรับของคนสองคน หากส่งเสริมให้ผู้รับไปช่วยเหลือคนอื่นต่อ ความสุขก็จะต่อเนื่องไม่รู้จบ
ที่มา:
Teaching Empathy: Are We Teaching Content or Students?
Empathy 101
How Putting Yourself in Someone Else’s Shoes May Backfire

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)เทคนิคการสอนความเข้าอกเข้าใจ(empathy)การฟังและตั้งคำถาม

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Learning TheoryBook
    วิจารณ์ พานิช: เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Transformative learning
    HEAR STRATEGY: เทคนิคง่ายๆ ฝึกทักษะการ ‘ฟัง’ ให้กับเด็กๆ

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Transformative learning
    ‘THEORY U’ การฟัง 4 ระดับ: ลองเช็ค คุณ ‘ฟัง’ ระดับไหน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • RelationshipTransformative learning
    ‘ณัฐฬส วังวิญญู’ โปรดใช้วิจารณญาณในการฟัง-ถาม-เข้าใจอย่างลึกซึ้ง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel