Skip to content
ความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงาน
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Family PsychologyDear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่น
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงาน
Transformative learning
15 July 2025

‘ข้อมูลที่ตรงจริง กับคุณครูที่มีหัวใจ’ โรงเรียนเปลี่ยนได้ด้วย Data Driven: ผอ.ปัฐน์ศรัญย์ จิตต์ประยูร

เรื่อง นิภาพร ทับหุ่น

  • แนวคิดหลักของ Data Driven School คือการตัดสินใจบนฐานข้อมูล ไม่ใช่ความรู้สึก ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้ตรงจุด ตามบริบทเฉพาะรายบุคคล ที่สำคัญจะช่วยพัฒนาโรงเรียนได้อย่างต่อเนื่องจากข้อมูลย้อนกลับ
  • ผอ.ปัฐน์ศรัญย์ จิตต์ประยูร ผู้อำนวยการโรงเรียนพินิจอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ ให้ความสำคัญกับ ‘พลังของข้อมูล’ ที่ตรงจริง ในการใช้บริหารจัดการและนำมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รวมถึงเชื่อมข้อมูลกับกระบวนทัศน์ ‘จิตศึกษา’ พัฒนาคุณค่าจากภายใน ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ข้อมูลได้ทำงาน
  • “ข้อมูลที่ตรงจริงจะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้เราสามารถเรียนได้อย่างเป็นระบบ แล้วเด็กก็จะไม่หลุดออกจากการศึกษา เราจะเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้ โรงเรียนจะไม่ใช่โรงสอนอีกต่อไป แต่เป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยให้เด็กได้เติบโตในสิ่งที่เขาเป็น”

“ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลที่ตรงจริง จะสามารถเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้อย่างแท้จริง”

นั่นเป็นแนวคิดของ ผอ.ปัฐน์ศรัญย์ จิตต์ประยูร ผู้อำนวยการโรงเรียนพินิจอนุสรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ ที่กล่าวไว้บนเวทีการจัดการความรู้ School Zero Dropout ภาคเหนือ ‘พลังความร่วมมือ’ การขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) ณ จังหวัดพิษณุโลก 

“ผมอยากจะชวนพี่น้องการศึกษาทุกคนลองร่วมกันคิด ร่วมกันฝันที่จะเปลี่ยนแปลงโรงเรียน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงด้วยงบประมาณนะครับ แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงนั้นได้คือ พลังของข้อมูล”

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้ ข้อมูล (Data) คือปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กระทั่งการศึกษาเองก็เช่นกัน โรงเรียนพินิจอนุสรณ์ เป็นโรงเรียนสามัญที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในแต่ละปีมีตัวเลขเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาอยู่บ้าง แต่ด้วยเพราะไม่มีข้อมูลที่ตรงจริง ปัญหาจึงยังไม่ได้รับการแก้ไข 

 “ผู้ที่มีข้อมูลที่ตรงจริง จะสามารถช่วยในการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดทิศทางได้อย่างชัดเจน โรงเรียนจึงจำเป็นต้องไปสู่การเป็น Data Driven School เพื่อที่จะนำข้อมูลนั้นเอาไปใช้ในการบริหารจัดการ และนำมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของเรา เพราะว่าสิ่งสำคัญคือเด็ก เด็กของเราคือของขวัญล้ำค่าที่จักรวาลมอบให้ และนี่คือจุดเริ่มต้นที่เรานำข้อมูลมาใช้”  

เมื่อโลกเปลี่ยน โรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตาม โรงเรียนพินิจอนุสรณ์ เลือกที่จะใช้ข้อมูลนำทางเพื่อการพัฒนา โดยแนวคิดหลักของ Data Driven School คือการตัดสินใจบนฐานข้อมูล ไม่ใช่ความรู้สึก ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ได้ตรงจุด ตามบริบทเฉพาะรายบุคคล ที่สำคัญจะช่วยพัฒนาโรงเรียนได้อย่างต่อเนื่องจากข้อมูลย้อนกลับ

“เรามีแนวคิดหลักเพื่อเปลี่ยนแปลง หนึ่งก็คือเพื่อใช้ในการตัดสินใจ สองเพื่อใช้ในการช่วยเหลือเด็ก และสามใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ แนวคิดสำคัญทั้ง 3 แนวคิดนี้จะไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เราจึงนำแนวคิด กระบวนทัศน์จิตศึกษา มาเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีหัวใจ ทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับข้อมูลนั้น ทำให้ครูเห็นเด็กได้อย่างแท้จริง ครูสามารถเปิดหูรับฟังเสียงของเด็ก 

ข้อมูลอาจจะไม่มีค่า ถ้าเราไม่ได้ฟังด้วยหัวใจ สิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือคุณครู”  

เมื่อมีข้อมูลและพื้นที่ปลอดภัยแล้ว จะใช้ข้อมูลนั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผอ.ปัฐน์ศรัญย์ บอกว่า จะต้องเชื่อมข้อมูลกับกระบวนทัศน์ ‘จิตศึกษา’ พัฒนาคุณค่าจากภายใน ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ข้อมูลได้ทำงาน เน้นความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างครูกับเด็ก จัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น ที่สำคัญต้องแสดงข้อมูลที่มาจากเรื่องราวของชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ตัวเลข 

“เรานำข้อมูลเข้ามาสู่ในวง PLC ที่มีคุณภาพที่ทุกคนร่วมกันวางแผน ร่วมกันวิเคราะห์ เพื่อที่จะช่วยเหลือนักเรียนของเรา แล้ววง PLC นั้นจะเกิดไม่ได้เลยถ้าเราไม่เห็นข้อมูลที่เหมือนกัน”

ระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ หรือ Q-info จะถูกรวบรวม วิเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที ซึ่งการนำข้อมูลเข้าสู่วง PLC คุณภาพนั้น จะช่วยเรื่องการวางแผน และลดอัตราเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบ เพราะมีข้อมูลที่ตรงจริง 

“มีเด็กอยู่คนหนึ่งครับ เด็กชาย ป.4 ที่โรงเรียนของผมเอง เขาเป็นเด็กที่เรียนดี แต่เราเริ่มสังเกต คุณครูประจำชั้นเริ่มสังเกตว่า เอ๊ะ..เด็กคนนี้ทำไมถึงขาดเรียน แล้วคะแนนลดลง เมื่อผมได้รับข้อมูลรายงานจากระบบสารสนเทศของโรงเรียน และวง PLC ครูทั้งโรงเรียนจึงไม่นิ่งนอนใจ ช่วยกันทั้งระบบ แล้วเด็กคนนั้นก็กลับมายืนได้อีกที เพราะว่าข้อมูลที่ตรงจริง กับคุณเป็นครูที่มีหัวใจ 

สิ่งนั้นที่เราทำ เราใช้เครื่องมือระบบสารสนเทศ Q-info มาใช้ในการจัดการ เมื่อเราสามารถช่วยเหลือเด็กได้จริง เด็กไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา เราจึงเห็นว่าสิ่งนี้มันมีค่า เราจึงส่งต่อความสำเร็จหรือแนวคิด แนวทาง แบ่งปันกับเครือข่ายของเรา ก็คือเครือข่าย TSQM

เราไม่ได้ใช้ข้อมูลอยู่แค่โรงเรียนเดียว แต่เราสามารถขยับข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลเครือข่ายที่ใช้ร่วมกัน สิ่งนั้นอาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กของเราไม่หลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะเรามีข้อมูลที่มีหัวใจเชื่อมโยงกันและแบ่งปันกันใช้” 

แน่นอนว่า เมื่อ ‘ข้อมูลดี’ โรงเรียนก็สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากมี ‘ข้อมูลตรง’ ครูก็จะช่วยเด็กได้อย่างตรงจริง ที่สำคัญคือการมี ‘ข้อมูลที่เชื่อมโยง’ จะทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในพัฒนาและสร้างอนาคตของเด็กไปพร้อมๆ กัน 

“ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่มีข้อมูลที่ตรงจริง และข้อมูลที่ตรงจริงก็จะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้เราสามารถเรียนได้อย่างเป็นระบบ แล้วเด็กก็จะไม่หลุดออกจากการศึกษา เราจะเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้

โรงเรียนจะไม่ใช่โรงสอนอีกต่อไป แต่เป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยให้เด็กได้เติบโตในสิ่งที่เขาเป็น และเราเองจะไม่ใช่แค่ผู้บริหารโรงเรียน แต่เราจะเป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นคนที่คอยปลุกพลังให้เด็กได้เห็นฝันอีกครั้ง”  

พลังของข้อมูลที่มีหัวใจจะทำให้โรงเรียนมองเห็นเด็กได้ชัดเจนทุกคน เมื่อหนึ่งโรงเรียนทำได้ การขยายผลสู่เครือข่าย TSQM-N เพื่อแบ่งปันระบบ ข้อมูล วิธีการใช้ และแนวคิด ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กหลุดออกจากระบบได้ เพราะเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกัน

Tags:

การช่วยเหลือเด็กพื้นที่ปลอดภัยโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM)Q-infoData Driven Schoolผอ.ปัฐน์ศรัญย์ จิตต์ประยูรโรงเรียนพินิจอนุสรณ์School Zero Dropout

Author:

illustrator

นิภาพร ทับหุ่น

Related Posts

  • ‘โรงเรียน = รุนแรง’ สมการนี้สังคมต้องร่วมแก้ …เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Social Issues
    ‘พิการ’ ไม่เท่ากับ ‘ไร้ค่า’ ขอแค่พื้นที่ปลอดภัย และโอกาสในการเรียนรู้ 

    เรื่อง The Potential

  • Everyone can be an Educator
    ‘เด็กทุกคนมีแสงสว่างในตัวเอง’ สร้างพื้นที่ปลอดภัยและให้โอกาสเติบโต : ราฎา กรมเมือง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (2)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Unique Teacher
    ห้องแนะแนวที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า อารมณ์ น้ำตา และคนรับฟัง ของครูต้น-เบญจวรรณ บุญคลี่

    เรื่อง The Potential ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel