Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
How to get along with teenagerAdolescent Brain
8 March 2018

วัยรุ่นจะตื่นเช้าทั้งที…ทำไมมันยากนัก (ฮึ)?

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • นิสัยชอบนอนดึกตื่นสายของวัยรุ่น มีคำตอบวิทยาศาสตร์ที่หนักแน่นมารองรับ
  • ลึกๆ แล้วเหล่าวัยรุ่น อยากนอนให้เพียงพอมากกว่าการตื่นสาย แต่ทำยังไงได้ สมองพวกเขาเริ่มออกสตาร์ทจริงๆ จังๆ ตั้งแต่ 10 โมงเช้าเป็นต้นไป
  • การให้เริ่มเรียน 7:30 – 8:30 น. ถือว่าเช้าเกินไป ถ้าวัดตามการทำงานของนาฬิกาชีวิตวัยรุ่น

วัยรุ่นจะตื่นเช้าทั้งที…ทำไมมันยากนัก?

ให้ตื่นแต่ฟ้ายังไม่สางน่ะเหรอ สู้ไม่นอนทั้งคืนเลยยังง่ายกว่า…

ประเด็นวัยรุ่นขี้เซา หรือนิสัยชอบนอนดึกตื่นสาย ไม่สามารถขุดตัวเองออกจากที่นอนได้ในตอนเช้า – เอาเข้าจริงๆ เป็นเหมือนกันหมดทั่วโลก ซึ่ง ‘ความเป็นสากล’ ของวัยรุ่นเรื่องนี้มีคำตอบด้านชีววิทยา ที่กินความว่ามากกว่าเรื่องนาฬิกาชีวิตมารองรับด้วย

บทความใน The World Economic Forum โดย พอล เคลลีย์ (Paul Kelley) เรื่อง ‘Honorary Associate in Sleep, Circadian and Memory Neuroscience, The Open University’ ให้คำตอบกับเรื่องนี้ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก นักวิจัย University of Munich ในปี 2004 ที่พบว่า

วัยรุ่นมีการกำหนดรู้เรื่องเวลา (sense of time) แตกต่างจากผู้ใหญ่ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นมีวงรอบชีวิต 24 ชั่วโมง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งการนอนหลับที่ยาวนานกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งจะยาวนานที่สุดในช่วงอายุประมาณ 20 ปี

หลังอายุ 20 ปี ช่วงเวลาการตื่นจนเข้านอนของวัยรุ่นจะเร็วขึ้นอีกครั้ง และเมื่ออายุ 55 ปี เราจะตื่นในเวลาใกล้เคียงกับตอนอายุราว 10 ปี นักวิจัย กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนของนาฬิกาชีวิตและการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น (การเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากภายนอก) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน โดย ‘peak lateness’ หรือ ช่วงเวลาใน 1 วัน ระหว่างการตื่นแล้วกลับไปเข้านอนที่ยาวนานที่สุดในช่วงปลายวัยรุ่นนั้น เป็นนาฬิกาชีวิตที่ส่งผลถึงช่วงสุดท้ายของการเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่นด้วย

The Conversation

ภาพ infographic แสดงให้เห็นว่า

  • โรงเรียนระดับประถมและมัธยม 5 ใน 6 โรงเรียนของอเมริกาเข้าเรียนเร็ว โดยมีเวลาเข้าเรียนก่อน 08:30 น. ขณะที่ The American of Pediatrics แนะนำว่า โรงเรียนระดับประถมและมัธยมไม่ควรเริ่มต้นการเรียนการสอนก่อน 08:30 น. เพื่อให้นักเรียนมีเวลานอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • วัยรุ่นควรนอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 9 ชั่วโมงสำหรับวัยก่อนวัยรุ่น ซึ่งในความเป็นจริง พบว่า 2 ใน 3 ของนักเรียนจากโรงเรียนระดับมัธยมนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมง

จากภาพ วัยรุ่นที่ไม่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอมีแนวโน้มที่จะ

  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ออกกำลังกายได้ไม่เพียงพอ
  • ทรมานกับอาการซึมเศร้า
  • มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และใช้ยาผิดกฎหมาย
  • ผลการเรียนย่ำแย่

เมื่อการนอนหลับถูกลิดรอน

ช่วงเวลาเดียวกันที่ผลการศึกษาจากมิวนิค เกี่ยวกับการกำหนดรู้เรื่องเวลาถูกนำเสนอออกมา รัสเซล ฟอสเตอร์ (Russell Foster) จาก University of Oxford ได้ค้นพบสิ่งสำคัญเกี่ยวกับประสาทวิทยาของเวลา

ฟอสเตอร์ลงมือทดลองเลี้ยงหนูตาบอด ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาการนอนหลับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่มีแสงแดดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นหมายความว่า นาฬิกาชีวิตที่มีส่วนกำหนดความรู้สึกง่วงเป็นคนละเรื่องกับเวลาบนหน้าปัดนาฬิกาที่กำหนดกิจวัตรประจำวันของมนุษย์

ความไม่สอดคล้องกันของเวลานำมาสู่ ‘เวลาที่ขาดหายไปในการนอน’ กิจกรรมของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเวลาทางสังคมตามหน้าปัดนาฬิกา เริ่มต้นระหว่าง 7:30 – 8:30 น. ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เช้าเกินไป เพราะหากวัดตามการทำงานของนาฬิกาชีวิต เราควรปรับเวลาการเข้านอนให้ช้าขึ้น (นอนดึกกว่าเดิม) แล้วตื่นสายกว่าเดิมได้ ด้วยการนอนให้ครบ 8-9 ชั่วโมงในหนึ่งคืน

ขณะที่สถานการณ์จริง วัยรุ่นหลายคนสูญเสียเวลานอนไปคืนละ 2-3 ชั่วโมงในช่วงวันเปิดเรียน สตีเฟน ล็อคลีย์ (Steven Lockley) จาก University of Harvard ให้ข้อสรุปว่า นี่เป็นระบบชีวิตที่ทำให้คนเราสูญเสียการนอนซึ่งไม่สามารถกู้คืนได้อีกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของวัยรุ่น

มีทางออกบ้างไหม?

การแก้ปัญหาเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายในทางทฤษฎี ก็แค่ปรับเวลาเริ่มต้นทำกิจกรรมให้ช้าออกไปเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ง่ายนัก เพราะมีปัจจัยท้าทาย 3 ส่วนด้วยกัน

  1. การพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการเริ่มต้นการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเช้าเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพของวัยรุ่น
  2. การระบุช่วงเวลาที่ดีที่สุด (identifying the best starting times) สำหรับการเริ่มคาบแรก ทั้งในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย
  3. การต่อสู้กับความไม่ยินยอมให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ทางการศึกษา หากต้องปรับเปลี่ยนเวลาไปจากการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม

The US Centre for Disease Control and Prevention ได้รวบรวมผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ซึ่งชี้ไปทางเดียวกันว่า โรงเรียนในสหรัฐ ควรปรับเวลาการเรียนการสอนใหม่ให้เริ่มต้นช้ากว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอันตรายของการไปโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเช้าเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของโรคอ้วน โรคซึมเศร้า และผลการเรียนในระดับต่ำ

The American Medical Association ยังเสนอว่า ไม่ควรมีการเรียนการสอนก่อนเวลา 8:30 น. ตอนนี้ ทั้งในออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสวีเดน กำลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน แต่ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประโยชน์ด้านสุขภาพที่เห็นได้อย่างชัดเจนในนักเรียนวัย 13-16 ปี ซึ่งเริ่มเข้าเรียนตั้งแต่ 10 โมงเช้าเป็นต้นไป

Mariah Evans จาก University of Nevada ใช้วิธีการใหม่ในการหาคำตอบ เพื่อระบุช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการเริ่มต้นวันใหม่ในวัยรุ่นอายุ 18-19 ปี ผลลัพธ์ที่ได้ออกมายิ่งน่าทึ่ง เธอบอกว่า

11:00 น. หรือเลยไปจนถึง 12:00 น. เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรับรู้

เห็นทีว่าโรงเรียนและผู้ปกครองทั่วโลกคงต้องเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่อวัยรุ่น แทนที่จะตำหนิเวลาลูกตื่นสายก็ปล่อยให้ลูกได้นอนตื่นช้าออกไปในแบบที่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิต หากกำหนดเวลาเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้ช้าออกไปได้ จะช่วยให้เยาวชนปลอดภัย มีสุขภาพดี และเกิดการเรียนรู้ได้ดีด้วย

ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของเวลา และผู้หลักผู้ใหญ่ที่เข้าใจ

อ้างอิง: Paul Kelley, Honorary Associate in Sleep, Circadian and Memory Neuroscience, The Open University
ภายใต้ความร่วมมือกับ The Conversation.

Tags:

จิตวิทยาAdolescent Brainพ่อแม่ครูระบบการศึกษาวัยรุ่น

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • How to get along with teenager
    UNIQUE IS BETTER THAN PERFECT : เป็นตัวเองดีที่สุด

    เรื่อง The Potential ภาพ SHHHH

  • 21st Century skills
    เพราะความรู้ปัจจุบันไม่เพียงพอ ‘โรงเรียนอนาคต’ จะทำให้เด็กอยู่รอดและไปต่อในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Adolescent Brain
    ห้องเรียนเพื่อพัฒนาการสมอง: เมื่อความรู้นอกห้องสนุกกว่า ห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะอยู่อย่างไร?

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    สมองสุขภาพดีของวัยรุ่น ผู้ใหญ่สร้างได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Education trend
    มหกรรมสอบในเด็ก: ความเครียดและความล้มเหลวก่อนวัยอันควร

    เรื่อง The Potential

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel