Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Early childhood
4 August 2021

‘ให้อิสระกับลูก ปล่อยให้เขาทำผิดบ้าง’ 6 แนวทางการดูแลเด็กในช่วงโควิด-19 ที่ไม่ซ้ำเติมความเครียดในครอบครัว

เรื่อง The Potential ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • งานวิจัยพบว่า พ่อแม่ที่ปล่อยลูกให้มีอิสระ จะทำให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นเพราะความต้องการของเขาได้รับการเติมเต็ม ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวก็ดีขึ้นเช่นกัน ปริมาณความผูกพันทางอารมณ์เพิ่มขึ้น และการให้ทางเลือกลูกโดยไม่จำกัดขอบเขต ดูจะเป็นวิธีรับมือที่ดีในสภาวะตึงเครียดเช่นนี้
  • แนวทางการเลี้ยงลูกที่จะทำให้พวกเขามีอิสระ เช่น ปล่อยให้ลูกทำผิดบ้าง ขณะที่ลูกกำลังเล่นต่อบล็อกไม้ ผู้ปกครองลองปล่อยให้เขาวางแผนทำด้วยตัวเอง พักการให้คำแนะนำ เช่นว่าต้องทำฐานให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้บล็อกไม้ถล่ม หรือไม่ต้องเตือนลูกบ่อยให้ทำการบ้าน 
  • สิ่งที่ผู้ปกครองหลายคนเป็นกันโดยอัตโนมัติ คือ พยายามแก้ไขปัญหาของลูกทันที ลองเชื่อมั่นในตัวเขา ปล่อยให้ลูกได้หาทางออกเอง โดยผู้ปกครองอาจอยู่ในฐานะผู้รับฟังว่าปัญหาลูกคืออะไร ถามเขาว่าเขาจะแก้ไขยังไง หรือปัญหาทะเลาะระหว่างพี่น้อง ปล่อยให้พวกเขาจัดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองไม่เป็นจำเป็นต้องเข้าไปช่วยแก้

ผ่านมา 1 ปี 7 เดือน กับการระบาดของโควิด-19 ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไปโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกที่จากเดิมก็ถือเป็นหนึ่งงานหิน แต่การเลี้ยงลูกในช่วงภาวะโรคระบาดยิ่งเพิ่มความยากไปอีกหลายเลเวล ไหนจะต้องดูแลลูกให้มีพัฒนาการตรงตามวัย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีหลากหลายทฤษฎีออกมา ข้อควรระวังต่างๆ ที่ทำให้การเลี้ยงลูกยากขึ้น รวมถึงสุขภาพจิตใจที่ต้องเยียวยาทั้งของลูกและผู้ปกครอง

Cara Goodwin นักจิตวิทยาครอบครัว ได้เขียนบทความแนะนำแนวทางการเลี้ยงลูกในช่วงโควิด-19 โดยหยิบยกงานวิจัยที่ทำการสำรวจแนวทางการเลี้ยงลูกของผู้ปกครองในเด็กวัยเรียนชาวเยอรมัน จำนวน 496 คน อายุตั้งแต่ 6 ถึง 19 ปี ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2020 

‘ให้อิสระลูกมากขึ้น’ ปล่อยให้เด็กๆ มีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจด้วยตัวเอง เคล็ดลับการเลี้ยงลูกที่จะทำให้ทั้งตัวเด็กและผู้ใหญ่มีความสุข งานวิจัยพบว่า พ่อแม่ที่ปล่อยลูกให้มีอิสระ จะทำให้ลูกอารมณ์ดีขึ้นเพราะความต้องการของเขาได้รับการเติมเต็ม ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวก็ดีขึ้นเช่นกัน ปริมาณความผูกพันทางอารมณ์เพิ่มขึ้น งานวิจัยพบอีกว่า การให้ทางเลือกลูกโดยไม่จำกัดขอบเขต ดูจะเป็นวิธีรับมือที่ดีในสภาวะตึงเครียดเช่นนี้

เพราะความกดดันที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครอง ไม่ว่าจะต้องคอยตอบสนองลูก สร้างการมีส่วนร่วม และรับมือกับอารมณ์อ่อนไหวของลูกที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า การที่ผู้ปกครองรู้จักปล่อยวางบ้าง ไม่ต้องพยายามรับมือจัดการด้วยตัวเองทุกอย่าง เพราะการให้ลูกมีอิสระในการเลือก ตัดสินใจ มีแนวโน้มว่าจะส่งผลดีกับทั้งตัวผู้ปกครองและเด็กในช่วงเวลาตึงเครียดเช่นนี้

Goodwin แชร์แนวทางการเลี้ยงลูกที่จะทำให้พวกเขามีอิสระ ซึ่งไม่เพียงใช้ได้แค่ในช่วงเวลานี้ แต่ผู้ปกครองสามารถใช้แนวทางนี้ไปได้ตลอดเช่นกัน

1. ให้ทางเลือกลูกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจเริ่มด้วยการกระทำพื้นฐานสุด อย่างให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะใส่ชุดอะไร กินอาหารอะไร หรือเล่นของเล่นชิ้นไหน

2. ปล่อยให้ลูกทำผิดบ้าง ขณะที่ลูกกำลังเล่นต่อบล็อกไม้ ผู้ปกครองลองปล่อยให้เขาวางแผนทำด้วยตัวเอง พักการให้คำแนะนำ เช่นว่าต้องทำฐานให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้บล็อกไม้ถล่ม หรือไม่ต้องเตือนลูกบ่อยให้ทำการบ้าน 

ลองชวนลูกคุยว่าการเรียนรู้จากความผิดพลาดสำคัญอย่างไร Goodwin แชร์ว่า เธอมักเล่าเรื่องความผิดพลาดของตัวเองให้ลูกฟังบ่อยๆ และวิธีที่เธอเรียนรู้จากความผิดพลาด

3. ให้ลูกเรียนรู้ผลที่ตามมาจากสิ่งที่เขาเลือก เช่น ถ้าอากาศหนาวแต่ไม่ยอมใส่เสื้อกันหนาว ผลที่ตามมา คือ ต้องเผชิญกับอากาศเย็นๆ หรือถ้าไม่ยอมจัดห้อง ปล่อยให้ห้องรก ก็จะหาของเล่นยากลำบาก

4. พยายามหลีกเลี่ยงการแก้ไขอารมณ์ลบที่เกิดกับลูก ให้โอกาสลูกได้สัมผัสอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อน จากนั้นผู้ปกครองค่อยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อลูกสงบลง

5. ระหว่างที่ลูกเล่น ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการสอน การแก้ไขความถูกต้อง หรือถามลูกบ่อยๆ ด้วยคำถามที่ไม่จำเป็น รวมถึงอย่าพยายามเปลี่ยนความสนใจของลูก สร้างความมั่นใจให้ลูกเมื่อการเล่นพวกเขาไม่เป็นไปตามแผน

6. อย่าแก้ไขปัญหาให้ลูกเอง เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองหลายคนเป็นกันโดยอัตโนมัติ พยายามแก้ไขปัญหาของลูกทันที เชื่อมั่นในตัวเขา ปล่อยให้ลูกได้หาทางออกเอง โดยผู้ปกครองอาจอยู่ในฐานะผู้รับฟังว่าปัญหาลูกคืออะไร ถามเขาว่าเขาจะแก้ไขยังไง หรือปัญหาทะเลาะระหว่างพี่น้อง ปล่อยให้พวกเขาจัดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ปกครองไม่เป็นจำเป็นต้องเข้าไปช่วยแก้

นี่อาจเป็นเพียงหนึ่งคำแนะนำ เพราะแต่ละบ้านมีแนวทางเลี้ยงลูกที่แตกต่างกันตามบริบทครอบครัว สิ่งสำคัญที่สุด คือ ความสุขของคนในครอบครัว แต่โปรดอย่าลืมว่าพ่อแม่ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ทำผิดพลาดได้ ไม่จำเป็นต้องสวมบทฮีโร่ตลอดเวลา ทำพลาดบ้าง ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปโดยที่เราไม่ต้องพยายามไปกำหนดกะเกณฑ์ เพราะเราไม่รู้ว่าสภาวะนี้จะจบลงเมื่อไหร่ การรักษาจิตใจของเราไม่ให้บอบช้ำไปมากกว่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

อ้างอิง

Pandemic Parenting

Tags:

ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ความเครียดการเลี้ยงลูก

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • How to get along with teenager
    Teenage Burnout : ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นวัย (หมด) ฝัน

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.3 “I am worth enough.”

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • How to get along with teenager
    ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.1 ‘I feel hopeless.’

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Early childhood
    วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.2 แนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับลูกปฐมวัย

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    ในวันที่ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสังคมไม่โอเค : คุยกับสมภพ แจ่มจันทร์ Knowing Mind

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel