Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Early childhoodFamily Psychology
22 December 2020

“โรค” จากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ (2): หอบหืด ประจำเดือนผิดปกติ โรคกลัวผู้หญิง / ผู้ชาย มาจากการถูกกักขังเสรีภาพในนามของความรัก

เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ชวนดูสาเหตุอีกมุมหนึ่งที่อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคกลัวผู้ชาย และโรคกลัวผู้หญิง
  • ความรักและความเป็นห่วงลูกที่มักเกิดกับผู้ปกครอง จนกลายเป็นความกังวลที่ทำให้เผลอแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมบางอย่าง เช่น กลัวลูกออกไปข้างนอกแล้วจะเป็นอันตราย ก็กักให้ลูกอยู่แต่ในบ้านแทน พฤติกรรมเหล่านั้นอาจส่งผลให้ลูกเกิดอาการป่วย เช่น โรคหอบหืดที่มาจากความกลัว หรืออาการประจำเดือนผิดปกติเพราะความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างลูกและแม่

ตอนที่แล้ว (อ่าน “โรค”จากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ (1): อาหารไม่ย่อย ขี้กลัว ภูมิแพ้ เพราะพ่อแม่ห่วงหรือบ่นมากไป) ครูณา – อังคณา มาศรังสรรค์ และเม้ง – ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ คุยกันเรื่องอาการที่เกิดจาก ‘โรคพ่อแม่ทำ’ ไปทั้งหมด 4 อาการ ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคผดผื่น ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ และอาหารไม่ย่อย ทั้งหมดนี้เป็นอาการที่เกิดจากผู้ปกครองกระทำบางอย่างผ่านการเลี้ยงดู หรือสัมพันธภาพของลูกกับผู้ปกครองมันไม่ดี หรือรักมากไปทำให้เกิดอาการเหล่านั้น 

ตอนนี้พวกเขาจะต่อกันอีก 4 อาการ ได้แก่ โรคหอบหืด ประจำเดือนมาไม่ปกติ โรคกลัวผู้ชาย และโรคกลัวผู้หญิง

บทความนี้ถอดความมาจาก Podcast รายการ ‘โรคพ่อแม่ทำ’ ตอนที่ 7 โรคจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ 2 ดำเนินรายการโดย เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ คุณพ่อลูกหนึ่งและครีเอทีฟจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร และ ครูณา-อังคณา มาศรังสรรค์ กระบวนกรและนักเยียวยาความสัมพันธ์

รับฟังในรูปแบบพอดแคสต์ได้ที่นี่

โรคหอบหืด

มีเคสหนึ่งที่ผมอยากยกมาเล่าจากหนังสือ ‘โรคแม่ทำ’ เคสของคุณเรโกะที่ป่วยเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เด็กๆ รักษาเท่าไรก็ไม่หาย จนได้มารักษากับคุณหมอคิวโทกุ คนเขียนหนังสือเล่มนี้ เขาก็พยายามหาสาเหตุอาการป่วย จนกระทั่งพบว่า ความสัมพันธ์ของคุณเรโกะกับแม่เนี่ยแหละที่ทำให้เกิดอาการหอบหืด เพราะตอนเด็กๆ คุณเรโกะเคยถูกแม่ทิ้งไว้ที่บ้านตอนเด็กๆ ตื่นขึ้นมาแล้วแม่ไม่อยู่ ความกลัวในตอนนั้นก็กลายเป็นโรคหอบหืด วิธีแก้ของคุณหมอ คือ ให้คุณเรโกะพูดว่า ‘แม่นี่บ้าจริงๆ’ ลองนึกภาพผู้หญิงเรียบร้อย เชื่อฟังแม่ตลอด ต้องมาพูดประโยคนี้ แต่ประเด็นคือหลังจากพูดเสร็จคุณเรโกะก็ค่อยๆ หายจากโรคหอบหืดเลย

พอฟังเรื่องนี้ทำให้พี่นึกถึงช่วงที่พี่อยู่ในทีมให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น พี่เรียกอาการนี้ว่า อาการของโรคสายยู เคสแบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลกเลยนะ ที่พ่อแม่รู้สึกกังวลเป็นห่วงลูกมากๆ แต่จัดการความรู้สึกตรงนั้นไม่เป็น ก็เลยแสดงออกมาเป็นการกักขังเสรีภาพลูกแทน ลองไปดูตามคอนโดต่างๆ เวลาเด็กเลิกเรียนกลับบ้าน ถ้าพ่อแม่ยังไม่กลับก็จะบอกให้พนักงานในคอนโดล็อกสายยูให้ลูกอยู่ในห้องไว้ 

ซึ่งอาการแบบนี้มันส่งผลทำให้เกิดโรคหลายอย่างเลยนะ อย่างอาการหอบหืดของคุณเรโกะก็เป็นอาการหนึ่ง เป็นความกลัวที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น แล้วความกลัวมันก็เกี่ยวข้องกับปอดกลายเป็นโรคหอบหืด หรือเด็กที่โดนทำโทษจับขังห้องน้ำ

วิธีทำโทษยอดฮิตเลยครับ

โห… เจอจนเราตกใจเลยว่าทำไมมีเด็กถูกจับขังในห้องน้ำเยอะขนาดนี้ แล้วที่พี่เรียกว่าโรคสายยู เพราะการที่พ่อแม่ไปใช้อำนาจล็อกขังลูกไว้แบบนั้น มันทำให้ลูกอยู่กับความรู้สึกที่… ร้องไห้เท่าไรก็ไม่ได้ถูกปล่อยออกมา จนเด็กรู้สึกว่าร้องไห้ไป ร้องขอความรักไปก็ไม่มีประโยชน์ สุดท้ายเขาก็จะเลิกแสดงความทุกข์ ความเสียใจออกมา ท้ายที่สุดพอโตขึ้นก็จะใช้ชีวิตแบบสนุกสุดเหวี่ยง แต่เขาไม่ได้สนุกจริงๆ หรอก เป็นความสนุกเพื่อกลบเกลื่อนความทุกข์ แล้วเกิดเป็นบุคลิกภาพบางอย่างที่มีความไม่ปกติอยู่ เพราะเขาไม่สามารถดีลกับตัวเอง สมมติเกิดความเครียดก็จะกลายเป็นซาตานคุ้มคลั่ง หรือเก็บเป็นความทุกข์ไว้ข้างใน 

เพราะฉะนั้น โรคที่เกิดจากอาการสายยูผลกระทบมันเยอะและสูงมากนะ อย่างของเรโกะก็เป็นความกลัวที่เขาอยู่คนเดียว ซึ่งถ้าดูสัมพันธภาพของแม่ที่มีต่อเรโกะพี่ก็นึกถึงอีกเรื่องหนึ่งได้ คือในทาง Twelve Senses (ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์) เซนส์ที่สาม Sense of Movement การขับเคลื่อนตัวเองเพื่อไปอยู่กับโลกภายนอก ถ้าเด็กไม่ได้รับเสรีภาพที่จะได้เรียนรู้ชีวิตที่ดี เขาก็จะเสียสมดุลของเสรีภาพ และผลกระทบที่ตามมาก็จะไปแสดงตอนโต

ผลกระทบมี 2 แบบ คือ หนึ่ง – เด็กที่ถูกริดรอนเสรีภาพด้วยความรุนแรง เช่น เด็กทำตัวไม่โอเค ไม่เชื่อฟัง ก็ใช้วิธีลงโทษด้วยการตี พอเด็กเหล่านี้โตขึ้นชุดภาษาที่เขาใช้จะแหลมคม ภาษาก็คือ movement การเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง และที่เขามีชุดภาษาที่แหลมคมก็เพื่อกวาดคนที่อยู่รอบๆ ให้ออกไปไกลจากรัศมีของตัวเอง เพื่อต้องการเสรีภาพ 

และแบบที่สอง – คล้ายกับที่เรโกะเป็น การถูกริดรอนเสรีภาพในนามของความรัก ตัวพ่อแม่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงแต่ใช้ความรักในการกักขังเสรีภาพ เช่น ‘ไม่ออกไปเล่นนะลูก เดี๋ยวไม่สบายลูก’ ‘ลูกอย่าทำอย่างนี้เลย แม่รักนะ’ ‘อยู่ในนี่นะลูก แม่รักหนูนะคะ อย่าดื้อนะ’ เชื่อไหมว่า พฤติกรรมพวกนี้ถ้ามันมากเกินไปจนกระทั่งไปริดรอนเสรีภาพของเด็กที่อยากออกไปข้างนอก อยากจะไปเล่นกับเพื่อนแต่แม่ก็บอกว่า ‘อย่าไปนะลูก แม่รัก’ พอเขาโตขึ้นชุดภาษาที่เขาใช้จะนุ่มๆ อ่อนโยน เหมือนที่เรโกะเป็นเลย ฟังเหมือนดูดีนะ แต่คนกลุ่มนี้จะไม่มีพลังชีวิต อยากได้อะไรก็บอกว่า ‘ไม่เป็นไรค่ะ’ ‘แล้วแต่คุณแม่เลยค่ะ’

ไม่กล้าพูดความต้องการตัวเองออกมา

ใช่ อย่างที่เรโกะเป็น แค่จะพูดว่า ‘แม่ ทำไมบ้าแบบนี้’ เขายังพูดไม่ได้เลย เพราะมันเป็นเสรีภาพที่ถูกริดรอนด้วยความรัก ภาษาของคนกลุ่มนี้จะไม่สามารถเรียก space ตัวเอง เรียกเสรีภาพตัวเองคืนมา มันจะอ่อนแรง เหมือนไม่รู้จักตัวเอง ไม่รู้จะดันชีวิตตัวเองยังไงเพื่อให้มีพื้นที่ มักจะถูกเอาเปรียบ ถูกแกล้งง่าย คนก็จะไม่เข้าใจความรู้สึกเขา 

เพราะเขาเองยังไม่เคยแสดงออกหรือไม่เคยบอกความรู้สึกตัวเอง

เหมือนเราให้นิยามความรักกับลูกผิด ‘ถ้ารักแม่ต้องเชื่อฟังแม่ทุกอย่าง ถ้าไม่เชื่อฟังแม่แสดงว่าไม่รัก’ นี่คืออาการอย่างหนึ่งนะที่มาจาก ‘โรคแม่ทำ’ ไม่สามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ ไม่สามารถเรียกร้องเสรีภาพ หรือดูแลพื้นที่ของตัวเอง คนเหล่านี้มักจะพึ่งพิงและอิงกับคนอื่น 

ดังนั้น วิธีที่คุณหมอใช้เพื่อรักษาอาการของคุณเรโกะ คือ การให้เขาย้อนกลับไปเพื่อแก้ไขเหตุการณ์บางอย่างในอดีต อย่างเวลาที่พี่รักษาเคส ความเจ็บป่วยของคนที่เกิดขึ้น แม้กระทั่งความเจ็บป่วยที่รุนแรงมาก หรือพฤติกรรมที่ผิดเพี้ยน พี่ก็จำเป็นต้องพาเขาย้อนกลับไปในอดีตนะ เพื่อให้คุณเข้าใจมันใหม่ แคะให้เจอจุด ถ้าแคะเจอจุดอย่างคุณหมอคิวโทกุก็จะคลิกเลย แค่พาเขากลับไปแล้วตะโกนพูดบางอย่างได้เนี่ย มันก็จะกระโดดมาอีกฝั่งหนึ่งเลยนะ ซึ่งบางคนอาจจะฟังแล้วแบบ มันจะเป็นไปได้ไง แต่มันเป็นไปจริงๆ เรื่องราวของจิตใจ

เหมือนไปเคลียร์เรื่องเก่าๆ ถ้าเป็นหนังไซไฟคือย้อนอดีตไปตรงนั้น

คล้ายแบบนั้นเลย คือ คุณกลับไปแก้บางอย่างที่เป็นต้นเหตุของโรคหอบหืด เพราะโรคหอบหืดมันเกิดจากจิตใจที่รู้สึกกับบางสิ่งบางอย่างแล้วฝังลงไป เพราะฉะนั้น เราก็ต้องหาต้นตอเพื่อที่จะให้ไปแก้ พอเขาเจอคลิกปุ๊บ เขาก็จะมีสาเหตุ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคนี้น้อยลงไปทันทีเลย หลังจากที่เขาผ่านกระบวนการนั้น

ประจำเดือนมาผิดปกติ

อาการประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนผิดปกติ ผมคิดว่าผู้หญิงน่าจะเป็นกันเยอะ บางคนอาจจะมาเยอะไป แต่กับเคสนี้ในหนังสือ ‘โรคแม่ทำ’ คือไม่มาเลย เขาเป็นลูกคนเดียวครับ แม่เป็นซิงเกิลมัม ก็รักลูกมาก ทุ่มเททุกอย่างที่มีให้ลูก ทำให้แม่ก็ค่อนข้างเฮี้ยบมาก ทุกอย่างต้องอยู่ในกรอบที่แม่กำหนดไว้ กลับบ้านกินโมง ไปเรียนอะไร แล้วตัวลูกเกิดอาการประจำเดือนไม่มา ผมก็เป็นผู้ชาย ไม่รู้ว่ามีเคสแบบนี้เยอะไหม หรือเคสที่เจอการเลี้ยงดูแบบนี้ แต่ผลกระทบออกมารูปแบบอื่น 

ถ้าจะให้สรุปภาพโดยรวมของอาการประจำเดือนผิดปกติ มันคือภาพทัศนคติต่อเพศแม่ ต่อความเป็นแม่ เวลาพี่เจอเคสที่เขามีปัญหาเรื่องประจำเดือน พี่ถามก่อนเลยว่าความสัมพันธภาพของเขากับแม่เป็นอย่างไร? เพราะมันเกี่ยวเนื่องกัน สมมติเวลาเราเกิดความรู้สึกบางอย่างต่อความเป็นแม่ อวัยวะที่เกี่ยวข้องคืออะไร? มดลูก เพราะเป็นอวัยวะแทนเพศแม่ เพราะฉะนั้นเวลาที่มีความรู้สึกกลัวคนที่เป็นแม่ หรือสัมพันธภาพที่มีกับแม่เป็นลบมากๆ ทุกครั้งที่คิดหรือทุกครั้งที่มีประเด็นกัน ความรู้สึกเหล่านี้จะวิ่งไปที่อวัยวะส่วนนี้ ทำให้อวัยวะส่วนนี้ที่เขาเรียกว่า dysfunction ทำงานผิดปกติ หรือทำงานไม่ได้ดีพอ 

คนที่ส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับประจำเดือน เชื่อไหมว่าถ้าเราทำให้เขามีความเข้าใจบางอย่าง หรือแก้ไขปัญหาบางอย่างได้ บางทีพี่ก็ต้องใช้โฮมีโอ (โฮมีโอพาธีย์ Homeopathy การแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง) หรือบางทีพี่ก็จะเดาได้ว่าต้องใช้ยาตัวไหนกับอาการแบบนี้ แล้วถ้าพี่ให้ยาบางอย่างที่เกี่ยวกับเรื่องความเป็นแม่ ก็ต้องรีบทำงานกับเขาเรื่องจิตใจที่มีผลต่อแม่ พอทำได้เสร็จปุ๊บ เขาหายเลย

เคยมีผู้หญิงคนหนึ่งที่มีประจำเดือนๆ ละประมาณหยดเดียวแล้วสีดำ แต่พอเขาทำงานเข้าใจปัญหาที่เกิด สิ่งที่เกิด คือ เดือนถัดมาเขาโทรมาพี่ด้วยความดีใจมากเลยที่มีประจำเดือนแล้ว และเป็นสีแดงด้วย แล้วก็มีหลายวันๆ เขาบอก แค่นี้ก็ดีใจที่สุดในชีวิตแล้ว

ไม่ต้องไปกินยาบำรุงอะไรเลย แต่ไปแก้ที่จิตใจ แก้ที่ความสัมพันธ์ 

ใช่ ความสัมพันธ์กับแม่ ณ ปัจจุบัน จริงๆ มันเป็นผลจากอดีต ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องให้เขาย้อนกลับไปทำความเข้าใจใหม่ เพราะในวัยเด็กเขาถูกสร้างโปรแกรมมาแบบนั้น แต่ว่าท้ายที่สุดเราก็สามารถช่วยเหลือเขาโดยการที่ทำให้เขาโปรแกรมบางอย่างในความรู้สึกใหม่ 

ในเส้นทางของความสัมพันธ์ของเรากับคนอื่นมันไม่ได้มีแต่แง่ลบหรอก มันมีแง่บวกด้วย แต่คนจะเก่งเรื่องจดจำสิ่งลบๆ  หรือเพราะความเป็นลบของมันรุนแรงถึงขนาดทำให้เรานั่งคิดซ้ำไปซ้ำมาวนไป เกิดเป็นความรู้สึกที่ซำ้รอย เราเลยต้องกลับไปแก้ที่ตรงนั้น 

เพราะฉะนั้น ถ้าเขาเข้าใจบางสิ่งในวัยเด็กมากขึ้น ประจำเดือนเขาก็จะกลับมาค่อนข้างเป็นปกติ แล้วบางทีคนที่มีประจำเดือนไม่ปกติ ก็จะมีแนวโน้มเยอะเหมือนกันนะที่ไม่อยากมีคู่

โรคกลัวผู้ชาย

ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ผมขอต่อที่โรคนี้เลยครับ โรคกลัวผู้ชาย ครูณาเคยเล่าให้ผมฟังว่า สมัยครูณาเป็นวัยรุ่นก็มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ คบกันอยู่ดีๆ อยู่ๆ ก็เลิกกันเฉย โดยที่ไม่ได้ทะเลาะหรือขัดแย้งอะไรเลย

พี่ต้องย้อนกลับไปว่าสาเหตุที่พี่รู้สึกว่าตัวเองเป็น ‘โรคพ่อทำ’ คือถ้าในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ทำให้เด็กเข้าใจหรือรับรู้ความเป็นจริงของชีวิต ชีวิตเขาสถานการณ์เปลี่ยนเลยนะ แต่ตัวพี่ไม่ได้รับแบบนั้นไง พี่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันแล้วพ่อก็ลงไม้ลงมือ ตัวพ่อเองไม่ได้มีอาชีพที่มั่นคง เล่นการพนัน ซึ่ง ณ วันนี้ที่พี่พูดถึงพ่อแบบนี้ มันเป็นเพราะว่าความทรงจำของพี่ที่มีต่อพ่อเป็นแบบนี้ แต่พอวันที่พี่เรียนรู้และได้มองย้อนกลับไป มันก็ยังมีด้านที่ดีอยู่ สายสัมพันธ์ระหว่างพี่กับพ่อมีทั้งบวกและลบ แต่พอพี่ไปตัดสินว่าพ่อเป็นแบบนี้ (คนไม่ดี) โดยที่เราก็ไม่รู้ตัวนะ มันกลายเป็นว่า ในช่วงวัยเด็กจนโตพี่นิยามเพศชายในแบบแปลกๆ คือ เป็นคนที่ไม่ค่อยรับผิดชอบ หรือบางทีถ้าเขารู้สึกไม่โอเค เขาก็มีโอกาสที่จะทำร้ายเรา

เหมือนบันทึกไปแล้วว่าผู้ชายเป็นแบบนี้แหละ แบบพ่อของเรา

เด็กเขาก็รับภาพแบบที่เขาเห็น แล้วเขาไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจความจริง แต่วันนี้พี่ได้เรียนกับตัวพี่เอง พอเรามองย้อนกลับไปตัวพี่ก็มีด้านหนึ่งที่ไม่โอเคเหมือนกัน คือ เราก็เลือกที่จะจำพ่อแบบนั้นด้วย แล้วก็ไม่รู้จักเรียนกับชีวิตเพื่อที่จะเข้าใจ เพราะฉะนั้นพอพี่ไม่เข้าใจ พี่ก็นิยามไว้ในจิตใต้สำนึกแบบผิดๆ

สิ่งที่เกิดขึ้น

ตอนที่มีแฟนคนแรก เขาดีมาก! (เน้นเสียง) ไม่เคยทะเลาะกับคนนี้เลยนะ แถมพี่สาวเรานี่รักเขามาก แต่จู่ๆ วันหนึ่ง เราตื่นขึ้นมาแล้วไม่รู้ทำไมรู้สึกว่าอีตาคนนี้จะรักฉันจริงๆ ไหม? ชีวิตฉันจะโอเคไหมถ้าคบกับเขา? เพราะตอนพ่อแม่เรา ก่อนแต่งงานคนก็บอกรักกันมาก แต่ทำไมแต่งแล้วถึงมีชีวิตที่ตบตีกันขนาดนี้ 

แล้วแฟนเราเรียนวิศวะด้วยไง เขามีดื่มเหล้า เราก็คิดว่า โหย…เขากินเหล้า แล้วจะรับผิดชอบชีวิตฉันได้ไหมเนี่ย? แล้ววันนั้นเขามารับเราพอดี เจอหน้าปุ๊บพี่บอกเลิกเขาเลย เลิกขาดทันที ถ้าให้พี่ย้อนกลับไปมองตัวเองในวันนั้น พี่ก็รู้สึกว่ายัยผู้หญิงคนนี้มันก็กวนเหมือนกันนะ เพราะว่าไม่ได้ทำแค่ครั้งนี้ครั้งเดียว แต่เราทำแบบนี้เยอะมาก น่าจะประมาณ 4 ครั้ง บอกเลิกผู้ชายทุกคนที่คบโดยที่ไม่มีเหตุผล แล้วผู้ชายแต่ละคนที่เราคบก็ดีๆ ทั้งนั้น ทำให้บางครั้งพี่บอกเหตุผลที่อยากเลิกว่า ‘เขาดีเกินไป’ แต่ว่าไม่ใช่อะไรเลย ทุกวันนี้มองย้อนกลับไปมันคือตัวเราที่ตั้งแต่วัยเด็กไปจำภาพความเป็นเพศชาย เพศพ่อ ว่าเป็นแบบพ่อเรา 

ถ้าฟังถึงตรงนี้คุณผู้ฟังอาจจะพยายามเสิร์ชหน้า อังคณา มาศรังสรรค์ ว่าเฮ้ย..สวยขนาดไหน ทิ้งผู้ชายแบบนี้ได้ (หัวเราะ) แต่นั่นแหละครับจนมาถึงสามีปัจจุบันที่ครูณาเล่า คือ นิสัยใจคอดีหมดเลย ก็เหมือนแพทเทิร์นคนที่ครูณาเคยคบ

ใช่ แต่ละคนที่เราคบก็เป็นคนที่อ่อนโยน ดูแลเรานะ แล้วเขาก็ไม่ได้ไม่ดี แต่ลองคิดดูนะไอโรคที่เราคิดว่าเกิดจากพ่อทำด้วยเนี่ย ซึ่งจริงๆ มันก็มีผลส่วนหนึ่งแหละ แต่ตัวเราก็ไม่ได้ถูกฝึกให้คิดให้เข้าใจด้วย

หมายความว่าถ้าเราเจอคุณพ่อ แล้วเราได้เยียวยาความสัมพันธ์นั้นได้ อาการเหล่านี้มันก็อาจจะดีขึ้น

ใช่ เพราะว่าพอพี่เริ่มมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับสามีพี่ คือตัวพี่ไม่ชอบผู้ชายที่ใช้ความรุนแรง เพราะฉะนั้นพี่จะได้แฟนที่อ่อนโยน กี่คนที่คบก็มาแนวนี้หมดเลย จนกระทั่งมาถึงคนที่เป็นสามี แต่ด้วยความที่พี่ไม่ชอบผู้ชายที่รุนแรง เวลาที่พี่ทะเลาะกับพี่หมู (สามีครูณา) นะ พี่สามารถใช้คำพูดแล้วก็บิลท์เขาจนกระทั่งเขาจะกลายเป็นคนรุนแรง เธอนึกถึงเรื่องแรงดึงดูดของเราได้ไหม เราเกลียดผู้ชายที่รุนแรง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรานี่แหละที่จะไปสร้าง trigger ความรุนแรงในตัวผู้ชายที่อ่อนโยนได้ พี่ทำให้พี่หมูเกือบจะเป็นคนที่ใช้ความรุนแรง เพราะมีวันหนึ่งพี่ trigger เขาจนกระทั่งเขาเงื้อมือ แล้วพี่ยังนิสัยไม่ดี ยังคิดว่า เออ… ถ้าเธอทำฉันก็สมเหตุสมผลที่จะเลิก นี่คือ ‘โรคที่พ่อแม่ทำ’ นะ

ยิ่งตอกย้ำมายเซ็ตเราว่า เป็นอย่างนี้จริงๆ ผู้ชายมันเป็นอย่างนี้ทุกคน 

เอ้อ! น่ะเห็นไหม! ผู้ชายมันเป็นอย่างนี้ แต่ไม่ใช่ตัวเรานี่แหละที่ไม่รู้จักฝึกคิดเอง เพราะฉะนั้นอย่างที่พี่พูดไปในอีพีที่แล้วเนอะว่า ถ้าวันนี้เราได้เรียนรู้แล้ว ไม่ว่าเราจะเกิดโรคพ่อแม่ทำมายังไง แต่จริงๆ พ่อแม่ก็ทำดีที่สุด ณ ตอนนั้น วันนี้ผู้ฟังเราเป็นพ่อแม่ที่สามารถตัดวงจรได้ เหมือนเราก็ถูกทำมาว่า เราก็ไม่ชอบคนที่รุนแรง แต่ท้ายที่สุดเราเห็นเลยว่า พฤติกรรมที่เกลียดผู้ชายที่รุนแรง เรานั่นแหละเป็นตัวสร้างความรุนแรงให้กับคนที่อยู่ด้วย แล้วพี่เจอเคสแบบนี้ เยอะ! มาก! (เน้นเสียง) เลยนะ ที่เกลียดความรุนแรงแต่ท้ายที่สุดเขาเลือกใช้วิธีนี้กับคนรักของเขา แล้วเขาก็ทำให้คนรักของเขากลายเป็นคนที่รุนแรงได้ 

ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการคบคนนะครับ แต่บางทีเราก็เผลอแสดงออกแบบวิธีที่เราไม่ชอบ

ใช่ ถ้าเราไม่ชอบวิธีไหนก็ระวังๆ เพราะคุณน่ะอาจเผลอใช้วิธีนั้นแบบไม่รู้ตัว

ทีนี้โดยรวบรัด มีบางคนที่ยังกลับไปแก้ทัน ถอยหลังกลับไปเยียวยาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น แต่บางคนถอยหลังกลับไปไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเราต้องแก้ที่ทัศนคติตัวเรา แต่ไม่มีคุณพ่ออยู่ให้พูดคุยปรับความเข้าใจ เราควรทำอย่างไรดีครับ?

ถ้าเราพบว่าตัวเรามีเกิดปัญหาในความสัมพันธ์แบบเดิมๆ ให้เรากลับมาตั้งหลักที่ตัวเองเลยว่า เรามีทัศนคติบางอย่างที่มาจากรากที่มันไม่โอเค ให้เราฝึกที่จะเข้าใจทัศนคตินั้น แล้วก็พยายามสร้างทัศนคติใหม่ให้กับชีวิตของเราเอง เพราะชีวิตเรากำหนดและเดินได้ด้วยทัศนคติของเรานี่แหละ 

ไม่ว่าเส้นทางชีวิตเราจะเดินมาแบบไหน เราอาจจะเป็นคนหนึ่งที่เกิดโรคจาก ‘โรคพ่อหรือแม่ทำ’ แต่วันนี้เรามีศักดิ์และสิทธิ์สูงมากเลยที่จะมีความสุขแล้วก็ประสบความสำเร็จ โดยการฝึกสร้างทัศนคติใหม่ให้ชีวิตของเรา 

ไม่ว่าพ่อแม่จะดูแลเราด้วยความรักมากไป หรือใช้ความรุนแรงกับเรา หรือการเลี้ยงดูของพ่อแม่มันทำให้เราตีความหมายของโลกใบนี้อีกแบบหนึ่ง ทั้งหมดมันเกิดจากการที่เราถูกสร้างมา แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้ ทัศนคติเป็นเรื่องที่ฝึกได้ ชีวิตที่มีความสุขและความสำเร็จ คือ ชีวิตที่ฝึกฝน ฝึกตนมาดี ความสุข ความสำเร็จไม่ได้มาได้เปล่าๆ 

โรคกลัวผู้หญิง

ผมอ่านเจอในหนังสือ ‘โรคแม่ทำ’ เขาบอกว่า ‘เด็กผู้ชายที่ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ที่ดุมากๆ เมื่อโตเป็นหนุ่มมีแนวโน้มที่จะเป็นรักเพศเดียวกันได้ง่าย’ หมายถึงว่า การเลี่้ยงดูก็มีผลต่อการเลือกเพศวิถี (sexual orientation) ของเรา เจอแม่ดุๆ เข้าไป กลัว ไม่ชอบผู้หญิง

พี่รู้สึกว่าการรักเพศเดียวกันมันไม่ใช่ความผิดนะ และก็มีบางคนเต็มใจเลือกเส้นทางนี้ แต่กลับบางคนก็ถูกสร้างทำให้เกิดความรู้สึกแบบนั้น มาจากการเลี้ยงดูของพ่อหรือแม่นี่แหละที่ทำให้เกลียดหรือไม่ชอบเพศตรงข้าม อย่างเคสโรคกลัวผู้หญิง บางทีก็เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับแม่ที่ไปสร้างความหมาย ‘เพศตรงข้าม’ ให้ลูกรู้สึกว่า รับมือยาก จัดการไม่ได้ หรือไม่ได้มีความน่ารัก

ถามว่าประสบการณ์เลี้ยงดูในวัยเด็กมีผลต่อการเลือกเพศวิถีไหม? ใช่ มีผลเยอะมากและไม่ใช่แค่เรื่องเพศเท่านั้น  เช่น วิถีชีวิต ความรัก การเลือกคู่ แต่เราก็ต้องไม่ไปมองว่าสิ่งนั้น (การรักเพศเดียวกัน) ผิด คือสุดท้ายแล้วทุกคนก็เลือกวิถีชีวิตตามโลกที่เขาสร้างมา มันก็คือโลกที่เขาเห็น เขาก็รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ดีกับเขา ทำให้เขาพบความรักที่แท้จริง เอาจริงๆ ความรักที่บริสุทธิ์ ความรักที่ดีมากๆ ก็เกิดจากเพศกับวัยที่ไม่มีขีดจำกัดเลย เราก็สามารถพบกับสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความสุขแล้วก็ดีได้ เพียงแต่ถ้าเรารู้สึกว่าทุกข์หรือไม่แน่ใจ เราก็จะมีข้อมูลบางอย่างที่รู้สึกเอ๊ะกับชีวิต แล้วเราจะเยียวยายังไงดี เพราะสิ่งนี้เป็นแค่ข้อมูลเริ่มต้นที่ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เราควรที่จะดูแลสิ่งเหล่านี้ยังไงบ้าง เข้าใจชีวิตหรือว่าเรียนรู้อะไรกับมัน เพราะชีวิตเราเรียนรู้ได้ 

ครบทั้ง 4 อาการที่เราอยากพูดในตอนนี้ครับ เดียวตอนต่อไปเราจะมาคุยกันต่อกับโรคที่เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ตอนที่ 3 เริ่มกันที่โรคซึมเศร้าว่ามันเกี่ยวข้องกับ ‘โรคพ่อแม่ทำ’ ยังไง รวมถึงโรคอยากเห็น ‘ลูกเก่ง’ มันจะทำร้ายลูก สร้างความทุกข์ให้เขายังไงบ้าง ฝากติดตาม ‘โรคพ่อแม่ทำ’ อีกสักตอนหนึ่งแล้วกันนะครับ ฟังเรื่องที่เราคุยกัน อาจจะช่วยเหลือเยียวยาความสัมพันธ์ หรือทำให้ใครบางคนมีชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

Tags:

ปม(trauma)โรคพ่อแม่ทำ

Author:

illustrator

อังคณา มาศรังสรรค์

กระบวนกรและนักเยียวยาความสัมพันธ์

illustrator

ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์

คุณพ่อลูกหนึ่งและครีเอทีฟจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    ดอเรียน เกรย์ : ความเหงาและหัวใจที่เชื่อมโยง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Book
    จดหมายถึงพ่อ – เมื่อโลกของเด็กถูกสร้างด้วยความรู้สึกผิด

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    ภาวะซึมเศร้า กับ โรคปั้นลูกให้เก่ง ผลลัพธ์ข้างเคียงที่เกิดจากความรักที่มากไปของผู้ปกครอง

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    ถ้อยคำทำร้ายลูก(1) ทำไมโง่อย่างนี้ ไม่น่าเกิดมาเป็นลูกฉันเลย ทำได้แค่นี้แหละ โกหก!

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel