ผลลัพธ์ของ ‘ดนตรี’ ไม่ใช่แค่ความเพลิดเพลิน แต่ดนตรีบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญาทำงานได้สองแบบคือ 1. พัฒนาการ 2. เยียวยา
หากพูดถึงจังหวะชีวิต ในทางมนุษยปรัชญา (anthroposophy) แบ่งความเป็นเด็กย่อยเป็น 3 ช่วง คือช่วงอายุ 0-7 ปี, 7-14 ปี, 14-21 ปี ซึ่งดนตรีและเสียงเพลงจะเข้าไปทำงานกับเด็กแต่ละช่วงวัยต่างกัน
“เด็กคนหนึ่งเขามีปัญหาทางครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน ต่างคนต่างพยายามดึงลูกให้ไปอีกทาง เด็กจึงโตมาด้วยความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ลักษณะท่าทางของเขา ก็จะไม่มั่นคง ไม่เฟิร์ม ตัวตนด้านในไม่แข็งแรง แตกสลาย เราจึงให้เด็กตีกลอง เพราะกลองมีความหนักแน่น มีจังหวะที่ดี คุณภาพเสียงของกลองจะให้ความรู้สึกหนัก มั่นคง ในการตีกลองกัน จะให้เด็กเริ่มจับจังหวะของกลองให้ได้ และพัฒนาไปจนถึงรูปแบบจังหวะต่างๆ ที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งมันจะส่งผลไปถึงจังหวะชีวิตของเขา ความแน่วแน่มั่นคงของกลองจะทำให้เด็กรู้สึกเฟิร์มขึ้น และสร้างฟอร์มที่ดีขึ้นมาใหม่ได้”
นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่ ครูมัย – ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก นักดนตรีบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญาและครูสอนดนตรีในโรงเรียนวอลดอร์ฟ ออกแบบดีไซน์วิธีการโดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและเยียวยาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ ดนตรีบำบัด: ไม่ใช่แค่ฟังแต่ร้องมันออกมา ให้ท่วงทำนองเยียวยา เสียงเพลงสร้างพัฒนาการชีวิต