Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Early childhood
9 February 2022

พ่อแม่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิในร่างกายของลูก

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • ลูกมีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ใครมาสัมผัสไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของร่างกายก็ตาม และผู้ใหญ่ก็ควรทำความเข้าใจ ไม่ล้ำเส้นเมื่อถูกปฏิเสธ

ไม่ว่าเด็กจะอายุเท่าไร เด็กก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการถูกเนื้อต้องตัวทุกรูปแบบ โดยพ่อแม่ยิ่งต้องช่วยลูกรักษาสิทธินี้ในวัยที่ลูกไม่สามารถปฏิเสธเองได้ และสอนให้ลูกปกป้องร่างกายจากผู้อื่น โดยเฉพาะจุดต้องห้าม 

‘ร่างกายเป็นของลูก’  ให้การปกป้องลูกในวันที่เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 

เด็กจะเกิดความรักและหวงแหนร่างกายของตัวเองได้ ก็ต่อเมื่อในวัยเยาว์ของเขาได้รับการปกป้องจากพ่อแม่ หากมีใครอยากมากอด มาอุ้ม มาหอม ลูกของเราในวัยแรกเกิดถึงวัยเตาะแตะที่ยังสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ควรปกป้องลูกและบอกปฏิเสธชัดเจนเมื่อผู้อื่นพยายามเข้ามาสัมผัสลูกทันที หรือเล่นกับลูกในแบบที่เขาไม่ชอบ โดยเราอาจจะให้คำอธิบายกับอีกฝ่ายว่า “ขอโทษนะคะ/ครับ น้องยังเล็ก ไม่มีภูมิคุ้มกันเท่าผู้ใหญ่” ถ้าอีกฝ่ายไม่เข้าใจ ขอให้พ่อแม่ปล่อยวางและยืนหยัดต่อไป ในกรณีที่เด็กโตพอจะสื่อสารได้เอง ผู้ใหญ่ควรขออนุญาตเขาก่อนการสัมผัสตัวหรือเข้าไปเล่นกับเขา 

นอกจากนี้ หากมีใครอยากมาเล่น มาหยอกล้อ มากอด มาอุ้ม มาสัมผัสตัวเด็ก โดยที่เขาไม่ได้รู้สึกยินยอม พ่อแม่ควรเข้าไปพาลูกออกมาจากผู้ใหญ่คนดังกล่าว ไม่ควรเกรงใจแล้วปล่อยให้เขาสัมผัสลูกของเรา แม้จะเป็นการหยอกล้อก็ตาม 

ไม่มีคำว่า ‘หวงลูก’ ‘เล่นตัว’ หรือ ‘หยิ่ง’ เกินไปในกรณีนี้ เพราะสำหรับเด็กไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ จะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง การที่เขาไม่ยินยอม เขาควรได้รับการปกป้องจากเรา 

“ร่างกายนี้เป็นของลูก ลูกมีสิทธิปฏิเสธไม่ให้ใครมาสัมผัสได้เสมอ” 

“สอนลูกว่าร่างกายเป็นของเรา” 

ลูกมีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ใครมาสัมผัส และบริเวณใดบนร่างกายที่ไม่ควรให้ใครมาสัมผัสเด็ดขาด 

สอนลูกให้รู้จักร่างกายของตัวเอง และสอนเขาให้ปกป้องร่างกายของเขาจากการสัมผัสจากผู้อื่น แม้จะเป็นผู้ใหญ่ในบ้าน ก็ไม่ควรสัมผัสเด็กในส่วนใดของร่างกาย หากเขาไม่ได้อนุญาตหรือไม่ชอบวิธีการสัมผัสของเรา 

โดยเฉพาะจุดต้องห้าม 4 จุด ได้แก่ 

  1. ริมฝีปาก    2. หน้าอก   3. อวัยวะเพศและบริเวณระหว่างขา   4. ก้น 

เหตุผลคือ จุดเหล่านี้เป็นจุดที่ไวต่อการสัมผัสและละเอียดอ่อน ถ้าคนอื่นมาสัมผัสแล้วเขาอาจจะเกิดความรู้สึกอยากทำอะไรมากกว่าแค่สัมผัส ซึ่งเขาอาจจะทำร้ายลูกเราได้

สิ่งสำคัญ คือ ผู้ใหญ่ไม่ควรหยอกล้อเด็กๆ โดยการสัมผัสร่างกายของเขาในบริเวณเหล่านี้

อ่านบทความฉบับเต็ม https://thepotential.org/family/child-rights-body/

Tags:

ลูกสิทธิร่างกายพ่อแม่ครอบครัว

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

PHAR

ชื่อจริงคือ พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เป็นนักวาดรูปเล่น มีงานประจำคือเอ็นจีโอ ส่วนงานอดิเรกชอบทำกับข้าว

Related Posts

  • Movie
    After the storm: เผชิญหน้าเพื่อลาจาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Movie
    คุณยายผมดีที่สุดในโลก: ความรักความใส่ใจละลายความแข็งกระด้างของเด็กได้ดีกว่าการขู่บังคับ

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Dear ParentsBook
    โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก: โลกร้ายกาจอาจไม่ทำลายคน ความเดียวดายต่างหาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsBook
    Toxic Parents: ยังไม่ต้องให้อภัยพ่อแม่ก็ได้ เผชิญหน้ากับความรู้สึกตัวเองก่อน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    วิธีแสดงความรักอย่างเหมาะสมต่อลูก

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel