Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Unique Teacher
4 March 2019

สนุกด้วยไรห์ม จำได้ด้วยบีท ในห้องเรียนของ ‘ครูเอ็ม’ RAP IS NOW

เรื่อง ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • ‘ครูเอ็ม’ คือ ครูภาษาอังกฤษสอนระดับมัธยมที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี แต่อีกฉากหนึ่งเขาคือ ‘NAZESUS’ แร็ปเปอร์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Rap is Now 
  • ห้องเรียนภาษาอังกฤษแบบฉบับครูเอ็ม คือการฝึกให้นักเรียนใช้ WHAT, WHY, HOW เพราะจะช่วยให้เด็กหาคำตอบและตั้งคำถามด้วยตัวเอง ได้ฝึกคิดมากกว่าการนั่งท่องศัพท์
  • ครูเอ็มใช้วิชาที่เขาถนัดทั้งการแร็ปและภาษาอังกฤษผสมผสานเข้าด้วยกันและส่งต่อให้เด็กนักเรียน เช่นการเปิดเพลง This is America เพื่อวิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้นกับอเมริกา ซึ่งเป็นการเรียนภาษาวัฒนธรรม โดยไม่ต้องพึ่งตำราเรียน
เรื่อง: อสรา ศรีดาวเรือง

คุณครูภาษาอังกฤษกับแรปเปอร์ผู้มีความขบถ สองบทบาทอาชีพที่ดูจะไปกันไม่ค่อยได้ แต่ครูเอ็ม – จีรังกุล เกตทอง หรือ แรปเปอร์ในนาม  AKA NAZESUS กลับเลือกที่จะเดินไปพร้อมๆ กับสองฉากชีวิตที่ดูแตกต่างกันสุดขั้ว ด้วยความฝันที่อยากเป็นครูมาตั้งแต่วัยเด็ก ที่แยกไม่ออกจากความชอบในเสียงดนตรีและไรห์มแรป

แม้ช่วงแรกของการเป็นครู เขาจะโดนโลกของความจริงซัดความฝันเสียจนเกือบหมอบ แต่นั่นไม่ได้ทำให้เขาล้มเลิกอาชีพครูเลยแม้แต่น้อย กลับกัน เขากลับใช้ความชอบและความสามารถในการแรปมาออกแบบห้องเรียนที่เขาเชื่อว่า

“ห้องเรียนที่ดี คือห้องเรียนที่ไร้ซึ่งความหวาดกลัว”

เขาบอกเราว่า การเป็นครูไม่จำเป็นต้องทอดทิ้งตัวตนเพื่อเป็นครูตามขนบ และเขาบอกว่า การเป็นครู ทำให้ NAZESUS ที่ครั้งหนึ่งเคยวางตนเป็นศูนย์กลางของโลก มองเห็นถึงหัวใจของผู้คนผ่านนักเรียนที่เป็นดั่งบทเรียนชั้นยอด เราจึงไม่พลาดที่จะมาชวนเขามาคุยในบทเรียนชีวิตตลอด 7 ปีของการเป็นครูเอ็ม แห่งโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี ว่าเขาล้ม ลุก ต่อสู้ และดำรงอยู่อย่างไรในวิถีนี้

ความฝันของผม คือเป็นครูที่เฟี้ยวๆ

ครูคือสิ่งที่ผมฝันเอาไว้ ว่าอยากจะเป็นครูที่เฟี้ยวๆ ก็เหมือนกับ  GTO ในการ์ตูนที่ทำเท่ เฮ้วๆ ชวนเด็กสร้างสรรค์ แต่ความเป็นจริงมันอีกรูปแบบหนึ่งเลย เราเรียนรู้ความเป็นครูก็ตอนที่เป็นครูนี่แหละ ว่ามันแหกคอกไปไม่ได้ เพราะเด็กเขาดูเราอยู่ เราเป็นต้นแบบให้เด็กอีกมากมายไม่ใช่เฉพาะเด็กที่แก่นเซี้ยว  เรายังต้องเป็นแบบอย่างให้เด็กที่ตั้งใจเรียนเป็นหมอ หรือเป็น WHATEVER ที่เขาต้องการ พอแหกคอกไม่ได้ ก็อยู่กับมันและแหกคอกแบบลับๆ (หัวเราะ) นั่นคือเราเป็นตัวเองให้ได้ขณะเดียวกันกับที่เราต้องเป็นมาตรฐานให้กับทุกๆ คนด้วย 

ด่านแรกของครู คือละลายความกลัวของนักเรียน

ความกลัวระหว่างครูกับนักเรียนเป็นสิ่งที่ต้องตัดทิ้งไปให้ได้ ผมรู้สึกว่าครูไม่ค่อยจะคุยกับนักเรียนแบบมนุษย์ธรรมดาเสียเท่าไหร่ (หัวเราะ)  และเมื่อไหร่ที่เกิดความกลัว เด็กจะทำตามเราในแบบที่เขากลัว แต่ไม่ใช่แบบที่เขาต้องการจะทำ เราจะชอบสังเกตเวลาเข้าไปในห้องเรียน เด็กทุกคนเหมือนหุ่นกระบอก แค่พูดก็เหมือนหุ่นกระบอก ซึ่งการเรียนการสอนมันควรเป็นธรรมชาติมากกว่านี้ วิธีของเราคือ เข้าไปคุยกับเขาเหมือนคนปกติคุยกัน ไม่ต้องใส่กรอบให้เขาและไม่ต้องตีกรอบให้ตัวเองด้วย ผมเชื่อว่าครูใหลายๆ คน อยู่ข้างนอกเขาก็เป็นอีกแบบ อยู่ในโรงเรียนก็ต้องสวมหน้ากากความเป็นครูอีกแบบ แค่เราเป็นธรรมชาติและคุยกับเขาแบบที่มนุษย์คุยกับมนุษย์ ก็ละลายความกลัวของเขาได้แล้ว

 ห้องเรียนภาษาอังกฤษที่คลอไปด้วยบีทดนตรี

เด็กจะจำอะไรได้ดี อย่างแรกเลยคือความประทับใจ การเอาแร็ปมาใช้กับกริยาสามช่องมันโอเคเลยนะ ตอนที่ผมเข้ามาสอนแรกๆ มันไม่มี RAP IS NOW หรือ THE RAPPER เด็กก็จะงงๆ แต่พอเด็กได้เปล่งเสียง ได้พูด ได้ตะโกนออกมา มันทำให้เขาได้ผ่อนคลาย ผมว่าเด็กเขาสนใจอะไรที่ไม่อยู่บนกระดานอยู่แล้ว พอเราเปิดเพลงเขาจะสนใจ เมื่อเขาผ่อนคลายแล้วเราจะสามารถหยิบยื่นอะไรให้เขาได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นเราก็เอาเพลงฮิปฮอปของเมืองนอกมาฉาย อย่างเพลง This is America ให้เขาดูว่า อะไรที่เพลงต้องการจะพูดถึงและเกิดอะไรขึ้นกับอเมริกา หรือลองเขียนประโยคที่จะอธิบายเรื่องราวของมิวสิควิดีโอที่เราเอามาเปิดสั้นๆ ว่าอะไรที่เขาคิดว่ามันแปร่งๆ หรือรู้สึกว่าไม่เวิร์คเลย

ห้องเรียนภาษาอังกฤษที่ถามแค่ WHAT, WHY, HOW

วิชาภาษาอังกฤษมันไม่ได้สอนแต่ภาษาอังกฤษ มันสอนเรื่องวัฒนธรรมการใช้ชีวิตด้วย เราก็จะแทรกวัฒนธรรมไทยไปด้วยว่าจริงๆ แล้วไทยเป็นแบบนี้ ของเมืองนอกเขาเป็นอย่างนี้ ทำไมถึงต่างกัน ทำไมจีนเวลากินเขาเรอได้อย่างเปิดเผย แต่ถ้าเราเรออาจจะโดนเพื่อนเขม่นเอาได้ ความต่างเหล่านี้เป็นเพราะอะไร ให้เขาคิดต่อยอดได้

จะมีอยู่สามคำถามที่ผมจะถามคือ What, Why, How ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่า เขาจะต้องหาคำตอบและตั้งคำถามให้กับเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ให้เขาได้คิดมากกว่าการนั่งท่องศัพท์ เพราะศัพท์สมัยนี้มันหาง่าย มันไม่ต้องเปิดดิกชันนารี แค่ดูใน Google ก็ได้ทุกอย่าง แต่การจะได้ทุกอย่างตรงนั้นมันง่ายไป ผมมีความรู้สึกว่าในประเทศเราจะครูจะพ่อหรือแม่ก็ตาม เราจะยัดเยียด จะป้อน จะเป็นผู้บังคับในสิ่งต่างๆ มากกว่าให้เขาไปคิดเอง อันนี้มันผิดตั้งแต่แรกแล้ว

ชมรม RAP IS NOW ของครู NAZESUS

แร็ปไม่ใช่การมาด่ากันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ก่อนที่เขาจะแร็ปได้ต้องผ่าน hip-hop culture ก่อน ให้เขาสนุกไปกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เราเอามาเล่าให้ฟัง เพราะก่อนที่จะชอบอะไร เขาควรรู้สิ่งนั้นให้มากพอ มันสำคัญ แร็ปคือแรงบันดาลใจ เป็นที่ให้เขาได้คิด ถ้าคิดแล้วพูดออกมาเลยก็แค่นั้น

แต่แร็ปคือการคิดและเขียน เขียนไม่พอต้องเรียบเรียง เอาคำที่สละสลวยคล้องจองมาใส่ แล้วในระบบการคิด มันได้ตกผลึกบางอย่าง แต่ละบาร์ หรือทุกๆ สี่บาร์ มันมีการตกผลึกในตัวของมัน การฝึกคิดเช่นนี้จะทำให้เด็กคิดเป็นแบบแผนมากขึ้น คิดมากกว่าปกติที่คิดไปอีกระดับหนึ่ง

การเป็นครูมันเครียดในระดับหนึ่ง และสิ่งที่จะทำให้เรามีความสุขได้คืออะไรที่ไม่ใช่การเรียนการสอน เราก็ตั้งชมรม RAP IS NOW ขึ้นมาเพราะมันน่าสนุก ไม่ได้คิดว่ามันจะต้องวางแผนการสอนด้วยซ้ำ แต่พอเด็กเข้ามา เขามีไฟ ยิ่งรู้ว่าเราคือ NAZESUS เขายิ่งอยากเข้ามา แต่เราไม่ได้เตรียมอะไรไว้ให้เขา มันไม่แฟร์ แต่พอเราเตรียมให้ มันก็ไม่แฟร์อีกแล้วเพราะเราปูให้เขามากไป กลายเป็นการเรียนการสอนอีกแล้ว เราเลยประยุกต์ให้มันเป็นโปรเจ็คท์ขึ้นมา พยายามให้เขาออกแบบด้วยตัวเอง โดยมีแค่เราเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น

งานของครูไม่ได้มีแค่สอนหนังสือ

ผมเชื่อว่าครูทุกคนมีหน้าที่นอกเหนือจากการสอนคนละอย่างสองอย่าง มีเวรต้องนอน มีเอกสารต้องทำ เขาอาจจะลืมไปว่าครูมีการบ้านที่ต้องตรวจ มีการสอนที่ต้องออกแบบ มันสำคัญนะ เคยไหมที่เราไม่ได้ไปโรงเรียนแล้วเรารู้สึกว่าเราจะตามเพื่อนไม่ทัน ครูก็รู้สึกอย่างนั้น เราไม่สามารถทุ่มเทการสอนในคาบนี้ได้ ในคาบถัดๆ ไปก็จับจังหวะไม่ถูก มันก็ทำให้เราเป๋เลย และด้วยหน้าที่และสิ่งที่มันมารุมเร้าโดยเฉพาะการประเมินต่างๆ ในประเทศนี้ มันไม่ใช่แค่การประเมินตัวเอง แต่มันประเมินยิบย่อย

ผลสุดท้ายพวกเขาก็มาดูแค่หน้างาน ดอกไม้สวยๆ ที่เอาไปตั้ง เล่มเอกสารที่เอาไปวาง รูปภาพที่เขาเปิดดูแล้วเขาก็จากไป โดยที่เขาไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้มันเกิดจากการเตรียมการภายใน 1 อาทิตย์

เราไม่เกี่ยงที่จะถูกประเมิน แต่ว่ามาประเมินที่การสอนเลย ท่านมากันที่โรงเรียน มาเดินดูเลยไม่ต้องบอกพวกเราก่อน มาดูว่าพวกเราสอนกันยังไง ไม่ใช่แค่วันเดียวแล้วกลับ มาดูกันเป็นเดือนเลยก็ได้เพราะทรัพยากรคนของพวกท่านเยอะมาก เและจุดมุ่งหมายจริงๆ มันแค่ต้องเห็นศักยภาพของเด็กกลุ่มหนึ่ง แต่ทั้งโรงเรียนมีเด็กเป็นพัน มันไม่ใช่มีแค่ 50 คน อันนี้หรือเปล่าที่คุณควรจะต้องทำ ประเมินเรื่องจริงดีไหม  

อำนาจในมือครู

เคยได้ยินไหมว่าถ้าอยากเห็นคนคนนั้นเป็นแบบไหน ให้ยื่นอำนาจให้เขา ครูก็เหมือนกันนะเขารู้ว่าเขามีอำนาจกับเด็ก และอำนาจมันสำคัญตรงที่เราเป็นคนที่มีพลังในการพูด สั่งอะไรเด็กก็ได้ ชี้อะไรเขาก็ทำ และเราก็เคยใช้อำนาจนั้น เพราะตอนเราเป็นครูมันก็ยังไม่ได้มีกฎห้ามตีกัน

ครั้งหนึ่งเราเห็นเด็กนักเรียนกดลิฟต์ลงมา เราอยู่ชั้นสี่เพิ่งสอนเสร็จ ร้อน เหนื่อย อยากจะลงลิฟต์ พอลิฟต์ลงมาถึงและประตูเปิดได้หน่อยหนึ่ง นักเรียนรีบกดปิดแล้วรูดลิฟต์ลงไปเลย เราโมโหมาก วิ่งตามไปจนถึงชั้น 1 รอลิฟต์เปิด พอเด็กออกมาเราก็โมโห เราก็ตีเขา ตีก้นเขา ซึ่ง … มันรู้สึกแย่จนถึงทุกวันนี้

เพราะอันนั้นมันไม่ใช่การสั่งสอน ไม่ใช่ห่าอะไรเลย มันคืออารมณ์ พอตีเสร็จ เรารู้เลยทันทีว่าเราผิดละ เฮ้ย เราทำอะไรวะ เรากำลังเป็นในสิ่งที่เราไม่ชอบ มันไม่ใช่แล้ว ก็ต้องยอมรับว่าพลาด นักเรียนคนที่ผมตีตรงนั้นเขาก็เป็นครูให้ผมว่าอย่าทำแบบนี้อีก

โรงเรียนกึ่งเผด็จการ

โรงเรียนปกครองแบบกึ่งเผด็จการนะ เพราะในความเป็นเผด็จการ มันมีการเลือกตั้ง (หัวเราะ) แต่ว่าการเลือกตั้ง ประธานนักเรียนก็ไม่ได้ใช้กระบอกเสียงของเขาเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับโรงเรียนได้อยู่ดี ผลสุดท้ายแล้วการเลือกตั้งประธานนักเรียนขึ้นมามันเหมือนการให้เด็กเล่นเลือกตั้ง จำลองให้ได้กา ได้เอาประธานขึ้นมานั่ง แล้วฟังครูกำหนดสิ่งต่างๆ ให้ไปทำ เอาง่ายๆ นโยบายของประธานนักเรียนที่หาเสียงในโรงเรียน มันเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน

ครูคือผู้ชี้ทางแต่ไม่ชี้นำ

ผมว่าครูคือคนที่เป็นมาตรฐานบางอย่างให้กับเด็ก ไม่จำเป็นต้องเก่งแบบโอเวอร์ ดุเวอร์ ครูเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งให้ได้ก่อนแล้วนำความธรรมดาๆ ของคุณมาเล่าให้เด็กฟัง ผมว่าครูคือคนชี้ทาง แต่ไม่ชี้นำ ครูไม่จำเป็นต้องไปพูดว่าโลกมันเป็นแบบนี้ ให้เขาตัดสินใจด้วยตัวเอง ผมว่าเขาอาจจะตัดสินใจผิดก็ได้นะแต่สุดท้ายเขาจะเรียนรู้มันเอง แต่เมื่อไหร่ที่เราสามารถทำให้เขาเข้าใจตัวเองได้ด้วยวิธีใดก็ตาม วิชาสามัญทั้งหลายมันเป็นเรื่องรองด้วยซ้ำถ้าเทียบกับชีวิตที่เขาจะต้องเจอในอนาคต การที่เราบอกเขาได้ แนะนำเขาได้ ทำให้เขาค้นหาตัวเองได้ มันสำคัญกว่าการป้อนวิชาเหล่านี้ด้วยซ้ำ คือการชี้นำมันคือทางเดียว แต่ทางเราชี้ทาง เราชี้กี่ทางก็ได้ให้เขาเลือกเอง

บทเรียนสุดท้ายของ NAZESUS ผู้หลงตัวเอง

NAZESUS ผู้หลงตัวเอง ผู้คิดว่าตัวเองเก่ง เราก้าวร้าวพอสมควรและคิดว่าตัวเองเจ๋งไปหมด เทียบกับตอนนี้มันคงต่างกันมากพอสมควรแต่ไม่ทั้งหมดนะเพราะเรายังมีอีโก้ เพราะถ้าไม่มีเราคงไม่แร็ป เรายังเชื่อมั่นในแร็ปของตัวเอง สิ่งที่ต่างออกไปคือ เรามองโลกกว้างขึ้น เรามองว่าคนอื่นดี เรามองว่าคนอื่นเก่ง เจ๋ง และเขาเป็นพลังให้เราได้ เราไม่ได้เป็นจุดศูนย์กลางของโลกอีกต่อไป พอมาที่โรงเรียนเราเจอลูกของคนหลายพ่อพันแม่ นิสัยก็ต่างกัน ความที่เด็กเป็นผ้าขาวเปื้อนสีมาในแบบของเขา นั่นเหมือนเราเห็นกระจกสะท้อนตัวเองทุกวัน บางอย่างในตัวเรามันเปลี่ยนไป

เราอยู่กับแร็ป อยู่กับตัวเอง อยากจะพูดระบายในมุมมองของกู แต่พอได้อยู่กับนักเรียน มันไม่ใช่แค่มุมมองกูแล้ว มันกลายเป็นมุมมองของทุกคน แน่นอนว่าเพลงที่ออกมาหลังจากที่เป็นครูแล้วมันอ่อนลงเรื่อยๆ จากที่พูดถึงด้านดาร์คเต็มที่ มันค่อยๆ แปรเปลี่ยนไป กลายเป็นเราทำเพลงเพื่อให้อะไรกลับไปสู่สังคมบ้าง

Tags:

ครูศิลปินดนตรีRapperจีรังกุล เกตทอง

Author:

Photographer:

illustrator

สิทธิกร ขุนนราศัย

Related Posts

  • Voice of New Gen
    WISHDOM: ไอดอลสายการศึกษา ไม่เสียการเล่น เน้นการเรียน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    ความสำเร็จแชมป์บีบอยพระสุเมรุ ‘แพ้มันเข้าไป ไฟห้ามหมด’

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Voice of New Gen
    บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ: เพราะชีวิตมนุษย์ต้องผ่านบททดสอบตลอดเวลาจนกว่าจะตาย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Voice of New Gen
    รักที่จะแร็ป: เส้นสีแดงแห่งไรม์ และด้านมืดสว่างของแร็ปเปอร์

    เรื่อง

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel