Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Creative learning
25 October 2021

วิทยาศาสตร์ในหม้อชาบูและไอศกรีม ห้องเรียนเคมีชวนน้ำลายสอของ ครูดาว – ฒามรา พรหมหอม

เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนสถานะของสสารจากการทำไอศกรีมและอธิบายเรื่องกลไกการเดือดของน้ำในหม้อชาบู คาบเรียนวิชาเคมีของ ครูดาว – ฒามรา พรหมหอม โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
  • “เมื่อไรก็ตามที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เขาก็จะสามารถแปลงจากสิ่งที่เขาเห็นเป็นคอนเซปต์ในทางเคมีได้ เพราะฉะนั้นถามว่าการออกแบบการเรียนรู้ผู้เรียนได้อะไรบ้าง แน่นอนว่ากิจกรรมทำให้เราเห็นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีการร่วมคิด มีการร่วมกันทำ และเกิดเป็นความสุขในการทำงาน”
  • Tricks ในการสร้าง Integrated Creative Lesson การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ คือ หนึ่ง-ครูต้องเอ๊ะ? จนเป็นนิสัย สอง-ผูกโยงไปกับชีวิตประจำวัน ท้ายที่สุดต้องเท่าทันเหตุการณ์ และผสานกับสิ่งที่นักเรียนสนใจ 

‘Food and Fruit Atomic Model’ 

‘Science in Shabu Pot’ 

‘Dried Ice I-Tim’

‘ตามล่าหาสารละลาย’ 

นี่คือส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ในคาบเรียนวิชาเคมีของ ครูดาว – ฒามรา พรหมหอม จากโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ จังหวัดสงขลา ผู้ที่ใช้อาหารมาอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเดือดของน้ำ การเปลี่ยนสถานะของสสาร เป็นต้น เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว เพราะเชื่อว่าเด็กๆ จะเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือทำผ่านเรื่องใกล้ตัว

นำเสนอเป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ใน เวทีระดมสมองเพื่อการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 5 ‘หลักสูตรฐานสมรรถนะระดับมัธยมศึกษา ออกแบบอย่างไรให้ถูกใจเยาวชน?’ โดยสำนักนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ในคณะอนุกรรมการจัดทำและพัฒนา (ร่าง) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)

คาบเคมีของครูดาวจะสนุกหรืออลหม่านแค่ไหน ชวนเปิดห้องเรียนไปพร้อมๆ กัน 

ห้องเรียนเคมีที่เด็กๆ รัก 

หลักการออกแบบและพัฒนาบทเรียนของครูดาวคือ ต้องยึด ‘ผู้เรียน’ เป็นสำคัญก่อน จากนั้นใช้กระบวนการ Active Learning บูรณาการวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน และขับเคลื่อนด้วยวงจร PLC ‘มีเพื่อนครูช่วยคิด เพื่อนครูช่วยทำ’   

“เมื่อไรก็ตามที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติ เขาก็จะสามารถแปลงจากสิ่งที่เขาเห็นเป็นคอนเซ็ปต์ในทางเคมีได้ เพราะฉะนั้นถามว่าการออกแบบการเรียนรู้ผู้เรียนได้อะไรบ้าง แน่นอนว่ากิจกรรมทำให้เราเห็นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน มีการร่วมคิด มีการร่วมกันทำ และเกิดเป็นความสุขในการทำงาน” 

ทั้งนี้ยังได้เผยแพร่ไปยังห้องเรียนทางไกล มูลนิธิชัยพัฒนา เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่ห่างไกล ถ่ายทอดจากห้องเรียนต้นทางคือโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ ไม่ว่าโรงเรียนจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ร่วมกันได้ 

และเนื่องจากความชอบในการทำอาหารและความชอบกินของครูดาว เธอจึงออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นไปที่อาหาร “อะไรก็ตามที่กินได้ เราก็จะสร้างสื่อการเรียนการสอนได้”

ออกแบบ ‘อะตอม’ จากสิ่งของรอบตัว    

ครูดาวยกตัวอย่างบทเรียนแรกคือ เรื่อง ‘อะตอม’ ซึ่งอะตอมเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแน่นอน เมื่อเด็กต้องเรียนในสิ่งที่มองไม่เห็นจะทำอย่างไรให้รู้สึกว่าอะตอมสามารถจับต้องได้ จากไอเดียนี้เกิดเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ชื่อว่า ‘Food and Fruit Atomic Model’ 

“เราให้เด็กๆ สามารถออกแบบอะตอมโดยใช้อาหารเป็นสื่อการเรียน นำอาหารหรือสิ่งของรอบตัวมาสร้างเป็น Atomic Model แบบจำลองอะตอม ท้ายที่สุดจะต้องนำเสนอและวิเคราะห์ รวมถึงเชื่อมโยงไปสู่ทฤษฎีแบบจำลองอะตอมทั้ง 5 แบบให้ได้” 

นี่คือรูปแบบกิจกรรมที่ใช้ในกรณีที่เป็นออนไซต์ แต่เมื่อเจอสถานการณ์โควิด-19 กลายเป็นออนไลน์ เด็กๆ ต่างคนต่างเรียนจากที่บ้านของตัวเอง แล้วจะทำอย่างไรให้เด็กเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและความเป็นทีมยังคงอยู่ ครูดาวจึงต้องปรับกิจกรรมนี้ 

“ปรับโจทย์ใหม่ว่า ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มเขาหาสิ่งของในบ้านทั้งหลายเอามาแทนอะตอมแบบต่างๆ โดยที่นักเรียนทุกคนก็ยังคงมีการทำงานร่วมกัน แต่การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ของเขาทำยังไงละ ก็คือการออนไลน์ผ่านโปรแกรมง่ายๆ google slides ทุกคนมะรุมมะตุ้มที่สไลด์เดียวกัน แต่ละคนก็ต้องมานึกว่าอุปกรณ์ที่เขามีในบ้านจะแทนอะไรด้วย Atomic Model แต่ละชนิด” 

นั่นหมายความว่า เด็กจะต้องมีความคิดขั้นสูง ความคิดในการรวบยอด และท้ายที่สุดต้องสื่อสารออกมาได้ ในขณะเดียวกันการทำงานเป็นทีมก็ยังเกิดขึ้นได้ เป็นความท้าทายในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องให้เด็กๆ ได้ทั้งสามสิ่งนี้อยู่ด้วยกัน 

“เพราะฉะนั้นเด็กแต่ละกลุ่มเขาก็จะสื่อสารออกมาหรือแทนออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ไม่น่าเชื่อว่าโจทย์ที่เราออกเพียงห้านาที แต่ว่าภาพที่ปรากฏแสดงให้เห็นได้เลยว่าเด็กเขาสามารถเชื่อมโยงคอนเซ็ปต์ในห้องเรียนไปสู่แบบจำลองที่สามารถจับต้องได้”

และอีกหนึ่งทักษะที่ครูดาวเอ่ยปากว่าจำเป็นมากในปัจจุบัน ก็คือ จะต้องส่งเสริมให้เด็กเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ดังนั้นครูดาวจึงเปิดโอกาสให้เด็กมีการประเมิน ให้ข้อคิดเห็นหรือคอมเมนต์ซึ่งกันและกันเสมอ 

“สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการสะท้อนให้เห็นหรือเป็นการฝึกเขาเรื่อยๆ ว่าในการอยู่ร่วมกันมันต้องมีการแสดงความคิดเห็นและเราต้องยอมรับ ยอมฟัง แล้วก็นำไปปรับปรุงงานของตัวเอง” 

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส เรียนรู้การเปลี่ยนสถานะของสสารจากของกินยอดฮิต

ลองจินตนาการถึงหม้อชาบูที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อสัตว์ ผักต่างๆ และน้ำซุปรสเด็ด กำลังเดือดพล่าน ส่งกลิ่นหอมชวนน้ำลายสอไปทั่วทั้งห้องเรียน 

ใครที่เดินผ่านไปผ่านมาอาจจะรู้สึกว่านี่คือวิชาการงานอาชีพหรือเปล่า แต่เปล่าเลยนี่คือห้องเรียนเคมีที่กำลังสอนเรื่องการเปลี่ยนสถานะของน้ำต่างหาก เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ประจำห้องเรียนเคมีของครูดาว ที่มีชื่อว่า วิทยาศาสตร์ในหม้อชาบู หรือ ‘Science in Shabu Pot’ เป็นการนำอาหารยอดฮิตในยุคนี้อย่าง ‘ชาบู’ มาบูรณาการเข้ากับสาระวิชาวิทยาศาสตร์ 

เรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอน้ำหรือแก๊ส และอธิบายเรื่องกลไกการเดือดของน้ำ โดยเริ่มจากการสังเกตการเปลี่ยนสถานะของน้ำซุป ซึ่งเกิดจากการที่น้ำที่มีสถานะเป็นของเหลว ถูกนำไปต้มบนความร้อนจนถึงจุดเดือดจึงกลายเป็นไอน้ำที่ลอยตัวขึ้น 

เมื่อทิ้งไว้ในความร้อนเรื่อยๆ ก็จะระเหยจนหมด หรือถ้านำมาทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกติก็จะกลับมาเป็นของเหลวเหมือนเดิม เป็นการกลับไปกลับมาของสถานะของสสาร

อีกทั้งยังสามารถบูรณาการเข้ากับวิชาชีววิทยาเรื่องโครงสร้างพืช นั่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ว่า ทำไมพืชแต่ละชนิดถึงสุกเร็วและช้าต่างกัน จะเห็นว่าในหม้อชาบูเต็มไปด้วยวิทยาศาสตร์ทั้งนั้นเลย

“ตามปกติก็ต้มน้ำให้เด็กดู แต่ปัจจุบันนี้ปรากฏว่ามองออกไปรอบๆ โรงเรียน เดินไปหน้าโรงเรียนแป๊บเดียวก็เจอร้านชาบูละ แล้วชาบูคืออาหารหลักของวัยรุ่นไทยไปละ เพราะฉะนั้นเรามาคิดง่ายๆ ว่า ชาบูสอนอะไรได้บ้าง ไม่น่าเชื่อว่าในชาบูหนึ่งหม้อเด็กได้เรียนรู้ตั้งแต่เรื่องราวของการเปลี่ยนสถานะ บูรณาการกับวิชาชีววิทยาเรื่องของโครงสร้างพืช เช่น ใส่อะไรก่อนอะไรหลัง เมื่อกุ้งโดนความร้อน ทำไมกุ้งถึงเปลี่ยนสี เป็นต้น หลังๆ เวลาเด็กไปกินชาบูกันก็แอบส่งรูปมาแซวว่า ครูวันนี้ได้ความรู้เพิ่มแล้วนะจากหม้อชาบูที่เราไปนั่งกินกัน” 

อีกหนึ่งกิจกรรมที่เด็กชื่นชอบและร้องขอครูดาวเสมอนั่นก็คือ การทำไอศกรีมที่ก็ยังคงเกี่ยวข้องกับหลักการทางเคมี กับกิจกรรม ‘Dried Ice I-Tim’ เด็กๆ ได้ออกแบบสูตรไอศกรีมของตัวเอง ตามโจทย์สถานการณ์ที่ครูให้บูรณาการทั้งเรื่อง colligative สมบัติของสารละลาย และได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการมิกซ์แอนด์แมทช์ส่วนผสมเพื่อให้ได้ไอศกรีมรสชาติที่ถูกใจ 

โดยหลักการทำไอศกรีม เกิดจากวัตถุดิบที่มีสถานะเป็นของเหลวโมเลกุลเคลื่อนที่ได้หลายชนิดมารวมกัน โดยมีองค์ประหลักๆ คือ น้ำตาล น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ นม และอาจจะมีช็อกโกแลตหรือหัวเชื้อกลิ่นต่างๆ ที่ชอบด้วย ตามแต่รสชาติที่ต้องการ ซึ่งการกรรมวิธีในการทำนั้นจะใช้น้ำแข็งกับเกลือเม็ดเป็นตัวทำให้ไอศกรีมแข็งตัว 

เมื่อเริ่มเปลี่ยนสถานะเรียกว่าการแช่แข็ง ด้วยวิธีการทำความเย็น ส่วนผสมของไอศกรีมที่ถูกผสมจนเข้ากันดีค่อยๆ คายพลังงานความร้อนออกมาจนหมดเกิดเป็นผลึกน้ำแข็งที่เข้าไปแทนที่ยึดเกาะกับโมเลกุล และเกิดเป็นไอศกรีมในที่สุด

และเมื่อไอศกรีมเจอกับความร้อนภายนอก ความร้อนก็แทรกตัวเข้าไปทำลาย หลอมโมเลกุลที่แข็งตัวให้กลายเป็นของเหลว และถ้าปล่อยทิ้งไว้น้ำที่เป็นของเหลวไว้กลางแดดหรือเอาไปทำความร้อนโดยการต้ม โมเลกุลของน้ำก็จะกระจายตัวลอยขึ้นไปในอากาศก่อนจะกลายเป็นของเหลวในที่สุด

นี่คือลักษณะบทเรียนบูรณาการที่ครูดาวพยายามรวบทฤษฎีในห้องเรียนผสานกับสิ่งที่เด็กจะสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน 

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสนุกๆ ชวนไปออก ‘ตามล่าหาสารละลาย’ เรียนรู้เรื่องสารละลายในเครื่องดื่มจากร้านสะดวกซื้อหน้าโรงเรียน

“เนื่องจากโรงเรียนเราเป็นบริบทของชุมชนเมือง ข้ามถนนไปเจอเซเว่นฯ แน่นอนว่ากิจกรรมนี้เราให้เด็กขออนุญาตเรียบร้อย ครูดาวให้เด็กสำรวจสารละลายในเซเว่นว่ามีอะไรบ้าง หรือสารละลายมีความเข้มข้นเท่าไรในชานมไข่มุก” 

ทั้งนี้ครูดาวทิ้งท้าย Tricks สำคัญในการสร้าง Integrated Creative Lesson การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ โดยหนึ่ง-ครูต้องเอ๊ะ? จนเป็นนิสัย สอง-ผูกโยงไปกับชีวิตประจำวัน ดังตัวอย่างบทเรียนข้างต้น ท้ายที่สุดต้องเท่าทันเหตุการณ์ และผสานกับสิ่งที่นักเรียนสนใจ 

และทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูดาว- ฒามรา พรหมหอม จากโรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์

Tags:

เทคนิคการสอนหลักสูตรฐานสมรรถนะครูดาว-ฒามรา พรหมหอมโรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์Integrated Creative Lesson

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Related Posts

  • Creative learning
    Self-Directed Learner ช่วงเวลาเรียนรู้ที่มีคุณภาพของเด็กมัธยม: ครูณี-พรรณี แซ่ซือ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Learning Theory
    Rich classroom climate mindset: ชวนสร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียน ให้นักเรียนรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการยอมรับนับถือจากครูและเพื่อน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Growth & Fixed Mindset
    สอนให้เด็กรู้ศักยภาพของสมอง: ลบความเชื่อเรื่องโง่หรือฉลาดแต่กำเนิด เขาจะพัฒนาได้ด้วยตัวเอง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    อย่าให้ใครว่ามั่ว เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์ FAKE NEWS

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel