Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Creative learning
29 January 2020

“ขนมปังยังสอนผมได้ตลอด ถ้าผมยังปั้นมันอยู่” กับคลาสขนมปังเปลี่ยนชีวิตที่ม.เถื่อน

เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • มือค่อยๆ คนแป้งที่ผสมกับน้ำจนวัตถุดิบค่อยเปลี่ยนจาก ผง สู่ของเหลว จนขึ้นเป็นรูปขนมปัง ครูโรส-วริศรา มหากายี เจ้าของคลาสขนมปังเปลี่ยนชีวิต บอกว่า “ตา จมูก ลิ้น หู มือ” ที่สัมผัสลงบนแป้ง คือช่องทางการสื่อสารกับแป้ง “ใจที่อ่อนน้อมและมั่นใจ” จะค่อยๆ ปั้นแป้งจนขึ้นเป็นก้อนอย่างมหัศจรรย์
  • ระหว่างนวดแป้งช่วงแรก บ้างติดมือ บ้างเละเหลว นั่นทำให้เราไม่มั่นใจว่าขนมปังจะพังหรือไม่ ครูโรสเดินผ่านและบอกเราอย่างมั่นคงว่า “ให้บอกเขาอย่างใจเย็น จงเปลี่ยน จงเปลี่ยน นวดเร็วขึ้น เร็วขึ้น” ไม่นานขนมปังก็เป็นก้อน “เนียน ชื้น และอุณหภูมิเย็นได้ที่” ดังตั้งใจ – ขนมปังเสกได้ ชีวิตก็เปลี่ยนได้
ภาพ ป้อมปืน วรวัส สบายใจ

“ขนมปัง บางทีก็สอนให้เรา confidence บางทีก็สอนให้เราอ่อนน้อม” 

ครูโรส-วริศรา มหากายี เจ้าของคลาสขนมปังเปลี่ยนชีวิต กล่าวระหว่างถ่ายทอดประสบการณ์การทำขนมปังกับพวกเรา ครูเล่าว่า ความสนใจในขนมปังของครูเกิดจากความคิดจะ “ลงมือทำ” อะไรสักอย่าง เปลี่ยนตัวเองจากการใช้ “หัว” มาใช้ “มือ” ทุกการสัมผัสจะสื่อสารกับทุกส่วนผสมจนเกิด “ขนมปังที่มีชีวิต” และนั่น ทำให้คลาสการทำขนมปังเพื่อเปลี่ยนชีวิตของผู้คนเริ่มต้นขึ้น

ขนมปังยังสอนผมได้ตลอด ถ้าผมยังปั้นมันอยู่

หลังจากเป็นนักเรียนคลาสทำขนมปังของครูโรสรุ่นแรกที่มหา’ลัยเถื่อนเมื่อห้าปีก่อน ครั้งนี้ผมไปเข้าเรียนขนมปังเปลี่ยนชีวิตเป็นรอบที่ 3 แล้ว ครูถามผมว่าทำไมถึงมาเรียนอีก? ยังทำขนมปังไม่ได้เหรอ? ผมตอบว่าทำได้! อย่างไรก็ตาม ผมอึ้งไปพักนึงเพราะกลับมาคิดหนักกับคำถามนี้ ก่อนจะตอบในใจว่า “ขนมปังยังสอนผมได้ตลอด ถ้าผมยังปั้นมันอยู่” การเรียนรู้มันเป็นไปตลอดชีวิต และการหาความหมายในสิ่งที่เรียนคือแนวคิดสำคัญของมหา’ลัยเถื่อน

ที่มหา’ลัยเถื่อน ห้องเรียนจะโอบล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขา ดอยหลวงเชียงดาวที่อยู่ตรงหน้าให้พลังธรรมชาติคอยสนับสนุนชีวิตและการเติบโตของเหล่านักเรียนทุกคน ที่นี่มีวิชาเรียนหลากหลาย ครูหลากหลาย แนวทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งฟัง ทำ กิน สนทนา นักเรียนออกแบบการเรียนรู้เอง เรียนจากตัววิชา เรียนจากเพื่อน เรียนจากครูที่ต่างวัย หรือแม้แต่จะเรียนจากธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เราเรียนผ่านการลงมือทำ เข้าไปคลุกฝุ่นแล้วคุยอย่างออกรสเพื่อหาความหมายของสิ่งที่เรียนต่อชีวิตของเรา จากเรื่องเรียน มาเรื่องการงาน จนกระทั่งในทุกๆ เรื่อง เรียนทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อสร้างความหมายของการเรียนรู้ร่วมกัน

ผมออกจะรู้สึกทึ่งที่พบว่าระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มหา’ ลัยเถื่อนมีความหลากหลายมากมายเช่นเดียวกับระบบนิเวศของธรรมชาติที่มีความหลากหลายของชีวิตและจิตสำนึกที่เชื่อมโยงกันอยู่ ยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากเท่าไร เรายิ่งมองเห็นความเป็นไปได้ของชีวิตที่อยู่ร่วมกันได้อย่างน่าทึ่ง ระบบนิเวศที่ทะเลทราย ป่าเขา และท้องทะเล สอนให้เรารู้ว่าชีวิตที่ทะเล ป่าไม้ และเม็ดทรายงดงามอย่างไร ระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มหาลัย’เถื่อน ยิ่งมีความหลากหลายก็ยิ่งสร้างผลผลิตชีวิตเรียนรู้ที่งดงามไม่แพ้กัน

ที่ห้องเรียน “ขนมปังเปลี่ยนชีวิต” เรากำลังเรียนรู้ความหลากหลาย ส่วนผสมของขนมปัง ทั้งแป้ง  น้ำ ยีสต์ นม น้ำตาล เกลือ เนย มีที่มาหลากหลาย จากกระบวนการผลิตที่แตกต่าง จากระบบโรงเรือนสู่ระบบโรงงาน ยังไม่นับรวมดิน น้ำ อากาศ ธรรมชาติที่รอให้เราสัมผัสและนำเอาพลังงานแวดล้อมมาทำ “ขนมปัง” ให้คุณภาพของส่วนผสมที่พร้อมขึ้นรูปเป็นชีวิตขนมปังที่ให้รสแตกต่างกัน ให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพแตกต่างกันมากกว่าส่วนผสม ที่สำคัญคือ “ช่างปั้นขนมปัง” บ้างเรียกว่า Artisan Bread ที่พกพาสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่สำคัญคือสภาวะจิตใจ ณ ขณะทำขนมปังนั้นแตกต่างกัน

การเข้าห้องเรียน “ขนมปังเปลี่ยนชีวิต” ทำให้ผมค้นพบว่าคุณภาพของ “จิตใจ” ของผู้ทำ ส่งผลให้คุณภาพของ “ขนมปัง” ของแต่ละคนออกมาแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ

เห็นตัวเองระหว่างปั้น

กว่าจะเป็นขนมปัง เราใช้แป้ง น้ำ ยีสต์ เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนผสมแค่นี้ก็ขึ้นรูปแป้งได้แล้ว เราเติมเกลือ ไข่ไก่ น้ำตาล เนย นม เพื่อให้ “รสที่รื่นรมย์” ความตกใจของผมในการเรียนขนมปังครั้งแรกคือ จากส่วนผสมเหล่านี้มันปั้นขึ้นมาเป็น “ก้อนแป้ง” ได้อย่างไร ครูค่อยๆ เทส่วนผสมที่จัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบทีละขั้นตอน

ใช้มือค่อยๆ คนแป้งที่ผสมกับน้ำจนวัตถุดิบค่อยๆ เปลี่ยนจาก ผงสู่ของเหลวจนขึ้นเป็นรูปขนมปัง ครูโรสบอกว่า “ตา จมูก ลิ้น หู มือ” ที่สัมผัสลงบนแป้ง คือช่องทางการสื่อสารกับแป้ง “ใจที่อ่อนน้อมและมั่นใจ” จะค่อยๆ ปั้นแป้งจนขึ้นเป็นก้อนอย่างมหัศจรรย์

ตา-มีไว้สำหรับ เช็ค สี ขนาด จมูก-ดมกลิ่นของทุกส่วนผสม และเช็คขนมปังเมื่อสุกพร้อมเอาออกจากเตา ลิ้น-สำหรับชิมรสส่วนผสมที่เราอยากได้ ทั้งน้ำตาล เกลือ เนยที่ให้รสและความมัน ตัวอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจคือเราสามารถสร้างรสน้ำตาลที่ชอบได้จากความหลากหลายของน้ำตาลที่มีอยู่บนโลกใบนี้  มือ-สัมผัสอุณหภูมิความร้อยเย็น และความเนียนนุ่มของแป้ง หู-สำหรับฟังเสียงการทำงานของยีสต์ ลม และแป้งที่สัมผัสกับมือและโต๊ะระหว่างนวดแป้งจนขึ้นรูป

ขนมปังเสกได้ ชีวิตที่เปลี่ยนได้

ราวกับเวทย์มนต์ เราค่อยๆ เห็นการสานกันของแป้งและส่วนผสม จากของเหลวค่อยๆ ก่อตัวขึ้นเป็นก้อน ความประหลาดใจของผมคือ ระหว่างนวดแป้งช่วงแรก บ้างติดมือ บ้างเละเหลว นั่นทำให้เราไม่มั่นใจว่าขนมปังจะพังหรือไม่

ครูโรสเดินผ่านและบอกเราอย่างมั่นคงว่า “ให้บอกเขาอย่างใจเย็น จงเปลี่ยน จงเปลี่ยน นวดเร็วขึ้น เร็วขึ้น” ไม่นานขนมปังก็เป็นก้อน “เนียน ชื้น และอุณหภูมิเย็นได้ที่” ดังตั้งใจ

ขณะที่เรากลัว ไม่มั่นใจ มือเราทำงานผ่านใจ ขนมปังก็ออกมาเละเหมือนใจเราขณะนั้น ถ้าเราสื่อสารกับขนมปังด้วยใจอย่างพอดี ขนมปังจะได้ที่ตามที่เราตั้งใจ ครูย้ำว่า “ดูโดว์ เนื้อเนียนดี เย็น 24 องศา แป้งไม่แฉะ ห้ามแห้ง เนื้อไม่รัดไม่เป็นไต” เป็นอันว่าสำเร็จตามใจของแต่ละคน

กับขนมปัง ผมพบว่าถ้านวดแรงไปเพราะกลัวจะไม่ขึ้นรูปเสียที ขนมปังก็จะแข็ง แห้ง แต่หากนวดช้าไปขนมปังก็จะเหลวไม่เป็นก้อน ติดไม้ติดมือ นี่เองที่ทำให้ผมเข้าใจจิตใจตัวเองจากที่ครูโรสบอกว่า  “ขนมปัง บางทีก็สอนให้เรา confidence บางทีก็สอนให้เราอ่อนน้อม” พื้นฐานของจิตใจไม่ว่าจะริเริ่มลงมือทำอะไร มันจะปรากฎเมื่อตอนเราทำขนมปัง

แต่ไม่ว่าพื้นฐานของจิตใจเราจะเป็นอย่างไร ในทุกๆ ขณะของการขนมปังก็สอนให้เราปรับจิตใจของเราได้ การทำงานและการใช้ชีวิตเช่นกันเราสามารถปรับจิตใจของเราให้สมดุลพอเหมาะพอดีกับสถานการณ์ในชีวิตได้ และนั่นคือ “การเปลี่ยนชีวิต”

อร่อยปาก อร่อยใจ

ขั้นตอนของการทำขนมปังมี 10 ขั้น คือ mixing, clean up, bulk ferment, degas, devide, preshape, final shape, scroll, bake, overspring จากผสมแป้ง ปั้นขึ้นรูป รอให้ยีสต์หายใจ ปั้นเป็นรูปร่าง นำเข้าเตาอบ จนขนมปังขึ้นฟู หอมพร้อมกิน ในทุกช่วงทุกขั้นคือการใส่ใจ และสื่อสารกับผลงานที่เราลงมือทำ

ผลงานของความใส่ใจ คือเวลาทองของการรอคอย เมื่อเราได้ชิมขนมปังฝีมือของเรา เราจะรับรสความอร่อยเป็นพิเศษ เรายังเช็คความสมบูรณ์ของการทำงานปั้นแป้ง ด้วยการดูสี ดูกลิ่น การสานตัวของขนมปัง เมื่อฉีกขนมปังออก แล้วชิมรส นอกจากความอร่อยลิ้นเมื่อชิมรสแล้ว ความอร่อยใจยังตามมาด้วยคุณภาพของความทุ่มเท

ผมได้เรียนรู้ว่า อะไรก็ตามที่เราทำมันด้วยความใส่ใจและใจรัก อ่อนน้อมถ่อมตนเท่าๆ กับความมั่นใจ ผลงานที่ออกมาไม่ว่าจะผิดพลาดอย่างไร ความภูมิใจย่อมส่งผลให้เราพร้อมพัฒนาต่อ และนี่คือเส้นทางการเปลี่ยนชีวิตในห้วงเวลาหนึ่งของผม ที่ให้ผมมองเห็นความเป็นไปได้ว่า…

ชีวิตเสรี เกิดขึ้นได้อย่างไร

Tags:

วริสรา มหากายีมหาลัยเถื่อนอาหารเชียงใหม่

Author:

illustrator

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

Related Posts

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    เพจทำอาหารที่ชวนกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ผ่านบทสนทนาง่ายๆ “แม่ เมนูนี้ทำไง”

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • How to enjoy life
    SACRED MOUNTAIN สนามเด็กเล่นทางจิตวิญญาณที่บอกเราว่า โลกคือปาฏิหาริย์และชีวิตคือความศักดิ์สิทธิ์

    เรื่องและภาพ วิรตี ทะพิงค์แก

  • Creative learning
    มหา’ลัยเถื่อน: เรียนข้ามศาสตร์ กับครูที่ไม่ต้องจบครู ในยุคที่การศึกษาถูก DISRUPTED

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • Creative learningอ่านความรู้จากบ้านอื่น
    บ้านเรียนทางช้างเผือก: ทำให้ทุกวิชามีความรู้สึก บ้านหรือโรงเรียน ที่ไหนก็เรียนรู้

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • How to enjoy life
    ผลัดใบจากความกลัว ผลัดใจเก่าทิ้งไป เพื่อชีวิตใหม่ที่งดงาม

    เรื่องและภาพ วิรตี ทะพิงค์แก

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel