Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Learning Theory
13 February 2019

เอ๊ะ นี่ครูหรือหมาป่า ด่า *&^#$&+X$% จนลืมสอน

เรื่องและภาพ KHAE

“พวกเธอมาเตะบอลในห้องได้ไง ทำกระจกแตกอีก โตป่านนี้แล้ว ยังเล่นไม่เข้าเรื่อง”

“ทำอย่างนี้ใช้ได้ที่ไหน ไปทำรายงานมาใหม่เลยส้มส้ม ใช้ไม่ได้”

“เป็นเด็กอย่าเถียงเวลาครูพูด”

“ถึงบอกไป ครูก็ไม่เข้าใจหรอก”

“หนูโง่จะตาย ใครจะไปทำได้”

ปัจจัยของความรุนแรงที่มาจากภาษาที่เราใช้จนเห็นเป็นธรรมดาโดยไม่รู้ตัว รูปประโยคที่เต็มไปด้วยการกล่าวโทษ ตัดสินตีความ วิจารณ์ และจัดประเภท และมีนัยยะว่าคนที่ไม่ทำตามความต้องการของเรามีความผิด หรือสถานการณ์ที่ไม่เป็นดังใจเราก่อความทุกข์

และประโยคเหล่านี้มักเกิดขึ้นในห้องเรียน

เพราะอะไร?

ระบบใครอำนาจเหนือกว่าเป็นใหญ่ (Dominant System)

สังคมที่หล่อหลอมให้คนมองโลกด้วยบรรทัดฐานดีชั่ว ถูกผิด เก่งโง่ เป็นธรรมดาที่ต้องใช้การทำโทษหรือให้รางวัลเป็นเครื่องมือเพื่อบริหารอำนาจตัดสิน สังคมแบบนี้คือ ระบบใครอำนาจเหนือกว่าเป็นใหญ่ (Dominant System) หมายความว่าคนมีสถานะเหนือกว่าจะใช้อำนาจนั้นควบคุม ‘เหนือ’ ผู้อื่นแทนที่จะเคารพในความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันอย่างเท่าเทียม

ในสังคมนี้ เราจะเห็นพ่อแม่มีอำนาจในบ้าน คุณครูอาจารย์มีอำนาจที่โรงเรียน หรือเจ้านายมีอำนาจในบริษัท สามารถออกคำสั่ง ชี้ถูกผิด และตัดสินผู้อยู่ใต้อำนาจอย่างลูกหลาน นักเรียน ลูกจ้างเสมอมา

สังคมแบบนี้สอนให้เราวัดประเมินการกระทำกับคำพูดคนอื่นอยู่ตลอดว่าใครดีหรือไม่ดี ทำถูกหรือทำผิด จึงไม่แปลกที่ทุกคนต่างก็เรียนรู้ที่จะมองโลกด้วยสายตาแห่งการประเมินตัดสินเช่นกัน

ภาษาที่ตัดสินคนอื่นว่าผิดหรือโง่

ดร.มาร์เชล บี. โรเซนเบิร์ก (Marshall B. Rosenberg) ผู้ก่อตั้งและอำนวยการศูนย์การศึกษาเพื่อการสื่อสารอย่างสันติ สังเกตว่า ภาษาที่เราใช้สื่อสารก็เป็นตัวการหนึ่งที่ผสมโรงให้ความสัมพันธ์ของผู้คนในระบบ Dominant เต็มไปด้วยการแสดงออกทางความรุนแรงในความสัมพันธ์ เช่น ออกคำสั่ง ประเมินตัดสิน วิพากษ์วิจารณ์คนอื่นว่าดีหรือร้ายอยู่ตลอดเวลา ยิ่งในโรงเรียน คนที่ด้อยอำนาจกว่าคือนักเรียน ต้องเป็นฝ่ายถูกตัดสิน บังคับ และกดความต้องการที่แท้จริงเพื่อให้ครูถูกใจ

โดยหารู้ไม่ว่ายิ่งถูกบีบให้กดความต้องการเท่าไหร่ แรงต่อต้านยิ่งก่อตัวมากขึ้นเท่านั้น เกิดเป็นการต่อต้าน อาการขบถ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ครูมองว่าเด็กมีนิสัยเกเร ดื้อ และลงเอยด้วยการทำโทษในที่สุด

สิ่งสำคัญที่สุดที่นักเรียนต้องเรียนรู้แทนที่จะเป็นการพัฒนาทักษะชีวิตและองค์ความรู้ จึงกลับเป็นการเรียนรู้ว่าทำยังไงจึงจะได้รับคำชม และทำยังไงจึงจะไม่ถูกต่อว่า ครูจึงกลายเป็นหมาป่าโดยไม่รู้ตัว

Tags:

วัยรุ่นเทคนิคการสอนจิตวิทยาการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)

Author & Illustrator:

illustrator

KHAE

นักวาดลายเส้นนิสัยดี(ย้ำว่าลายเส้น)ผู้ชอบปลูกต้นไม้และหลงไหลไก่ทอดเกาหลี

Related Posts

  • Social Issues
    เปิดเทอมใหม่ อย่าเพิ่งสอนวิชาการ เยียวยาเด็กและเพื่อนครูด้วยกันก่อน

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ มานิตา บุญยงค์

  • Learning Theory
    ห้องเรียนไม่ใช่สมรภูมิรบ: ครูสงบศึกได้ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    ฟังลูกบ้าง อย่าเพิ่งแปลงร่างเป็นหมาป่า

    เรื่อง ภาพ BONALISA SMILE

  • Adolescent Brain
    ห้องเรียนเพื่อพัฒนาการสมอง: เมื่อความรู้นอกห้องสนุกกว่า ห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะอยู่อย่างไร?

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • How to get along with teenager
    จะทำอย่างไรเมื่อลูกวัยรุ่นของคุณ ‘กลอกตา’ ใส่?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel