Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Early childhood21st Century skills
30 October 2018

โปรดจ่ายใบสั่งยาที่เขียนว่า ‘เล่น เล่น และเล่น’

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • การทำให้เรื่องเล่นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสามารถสร้าง ‘ความสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และแข็งแรงด้วยทักษะของศตวรรษที่ 21’
  • การเล่นเป็นหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ และสังคม รวมถึงลดความเครียดของพวกเขาลง
  • สิ่งที่ทำลายความสร้างสรรค์ของเด็กคือ การขาดแคลนเวลาพักผ่อน สนามเด็กเล่น และของเล่นปลายเปิดที่ให้เขาต่อยอดจินตนาการไปได้เรื่อยๆ

การเล่นมีเวทมนตร์ และความสร้างสรรค์ของเด็กเกิดจากเวทมนตร์นั้น

โลกที่ให้ความสำคัญกับเดดไลน์และปริมาณผลผลิต จึงยากเหลือเกินที่ผู้ใหญ่มากมายจะโอบกอดความสร้างสรรค์ของเด็กๆ ไว้ได้โดยไม่มองว่าเป็นเรื่อง ‘ไร้สาระ’ หรือ ‘เสียเวลา’

รายงานฉบับล่าสุดจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics – AAP) ได้ย้ำให้แพทย์เขียน ‘ใบสั่งยาสำหรับการเล่น’ (prescription for play) โดยรายงานดังกล่าวพัฒนาจากรายงานเมื่อปี 2007 ที่อธิบายถึงการเล่นอย่างมีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงบทบาทการเสริมทักษะทางสังคม ภาษา และการควบคุมตนเอง เช่นเดียวกันกับความสามารถในการช่วยจัดการความเครียดและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กๆ กับผู้ปกครอง

รายงานฉบับนี้ยังแนะนำว่า การทำให้เรื่องเล่นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสามารถสร้าง ‘ความสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และแข็งแรงด้วยทักษะของศตวรรษที่ 21’

อย่างไรก็ตาม มีเด็กอีกเพียบที่ยังไม่เคยแม้แต่จะได้ลองเล่นแบบที่เป็นประโยชน์ (beneficial play)

มาเล่นกันเถอะ

ในปี 2012 สถาบันเอเอพีได้เก็บข้อมูลจากเด็กปฐมวัยและพ่อแม่เกือบ 9,000 คน ระบุว่ามีเด็กเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ออกไปเดินหรือเล่นข้างนอกกับพ่อแม่วันละครั้ง

นอกจากห่วงความปลอดภัย ขาดแคลนสวนสาธารณะ และสภาพแวดล้อมไม่เอื้อแล้ว รายงานของสถาบันฯ ยังค้นพบแรงกดดันด้านวิชาการที่เพิ่มขึ้นและเวลาหยุดพักผ่อนในโรงเรียนที่น้อยลง จนทำให้เกิดการถกเถียงกันระดับชาติ เคียงคู่ไปกับร่างกฎหมายที่พยายามจะพิสูจน์ให้เห็นคุณค่าของเวลาเล่น

“หลายโรงเรียนตัดช่วงเวลาพักผ่อน วิชาพละ ศิลปะ และดนตรี เพื่อไปเน้นเตรียมสอบให้เด็กๆ” รายงานระบุ

“ความขาดแคลนและไม่ปลอดภัยของสนามเด็กเล่นและบริเวณในชุมชนจะทำให้เด็กๆ เกิดภาวะขาดธรรมชาติ (nature deficit disorder)” ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกำลังมองว่ากำลังจะเป็นโรคประจำของเด็กยุคนี้ โดยจะส่งผลต่อการเข้าสังคมในอนาคตของพวกเขาได้

“การเล่นเพิ่มสายสัมพันธ์ที่ดีให้ครอบครัวได้” ดร.ไมเคิล ยอกมัน (Michael Yogman) กุมารแพทย์และหัวหน้าทีมผู้เขียนรายงานเกี่ยวกับความสำคัญของเวลาเล่นของเอเอพี กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีและสื่ออาจช่วยเพิ่มความใฝ่รู้ให้เด็กๆ ได้ แต่ยังไม่เป็นผลดีต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

“แม้การมีส่วนร่วมกับสื่อตามวัยอาจทำให้เกิดผลประโยชน์ได้บ้าง แต่การมีปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตจริงยังคงมีประโยชน์มากกว่าสื่อดิจิทัล”

“หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่พ่อแม่จะทำให้ลูกได้คือการเล่น เพราะจะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์ และสังคม รวมถึงลดความเครียดของพวกเขาลงด้วย”

เล่นอย่างไรให้มีประโยชน์

บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการเล่น ครูศิลปะ และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยที่พิพิธภัณฑ์เด็กได้บอกเคล็ดลับการเล่นให้ ที่แม้แต่พ่อแม่ผู้สุดแสนจะมีเวลาจำกัดจำเขี่ยก็สามารถกระตุ้นให้เด็กๆ สังเกต สำรวจ และจินตนาการได้ง่ายๆ

• เล่นไร้รูปแบบ

ดร.ปีเตอร์ เกรย์ ศาสตราจารย์นักวิจัยด้านจิตวิทยาจากวิทยาลัยบอสตันบันทึกว่า สิ่งที่ดึงเด็กออกจากด้านความสร้างสรรค์ของพวกเขาคือ การขาดแคลนเวลาพักผ่อน สนามเด็กเล่น และของเล่นปลายเปิดที่ให้เขาต่อยอดจินตนาการไปได้เรื่อยๆ เช่น ดินน้ำมัน หรือการผสมสี

แคสซี สตีเฟนส์ (Cassie Stephens) ครูผู้สอนศิลปะชั้นประถมศึกษามา 20 ปี กระตุ้นให้พ่อแม่ไม่บิดเบือนเรื่องง่ายๆ ที่ผู้ใหญ่เห็นจนชินตา เพราะมันน่าสนใจและสำคัญสำหรับเด็กมาก

“เมื่อสองสีรวมกันได้เป็นสีส้ม และเด็กวัย 5 ขวบตื่นเต้นที่ได้ผสมสองสีจนเกิดสีใหม่ขึ้นมา เราเองก็ควรตื่นเต้นไปกับเขาด้วย ไม่ใช่พูดว่า ‘ก็ใช่น่ะสิ’ หรือ ‘เคยสอนแล้วไง’”

• เก็บพื้นที่ความเป็นเด็กเอาไว้

ราเชล จีอานนินี (Rachel Giannini) ผู้เชี่ยวใหญ่ด้านเด็กและอดีตครู บอกว่า คนส่วนใหญ่ไม่หล่อเลี้ยงความสร้างสรรค์เหมือนเด็กๆ ส่วนพ่อแม่ก็มักเลือกของเล่นให้และทึกทักจุดประสงค์เอาเอง

“เด็กอาจมองของเล่นเป็นเครื่องบิน เรือดำน้ำ ถ้าคุณบอกว่า ‘นั่นมันรถ นี่เป็นล้อรถ และมันวิ่งบนถนน’ คุณกำลังทำลายจิตวิญญาณความเป็นเด็กของเขา”

‘เวทมนตร์อยู่ในสิ่งเล็กๆ’ – ผู้ใหญ่หลายคนลืมข้อนี้ไป หรือไม่สังเกตโลกรอบๆ ตัว ระวังให้ดีและอย่าปล่อยให้ตัวคุณจำกัดจินตนาการของเด็กๆ ไปด้วย

• ใช้อะไรก็ได้ง่ายๆ รอบตัว

ไม่จำเป็นต้องซื้อของเล่นแพงๆ เพื่อสร้างความสร้างสรรค์ในบ้าน เพราะเด็กๆ จะได้ประโยชน์จากของเล่นที่ไม่ปิดกั้นความคิดสารพัด เช่น ดินน้ำมัน

สตีเฟนส์ แนะนำว่า พ่อแม่ควรเลือกเล่นในกิจกรรมที่เด็กๆ สนุกกับมันอยู่แล้ว พ่อแม่อาจรู้สึกเพี้ยนเวลาเล่นด้วย แต่เด็กๆ จะไม่เอาแต่จ้องหน้าจอและพวกเขาก็จะตื่นเต้นมาก”

• ให้เด็กทำพลาดบ้าง

ไม่ต้องช่วยแก้ปัญหาเล็กน้อยให้พวกเขา ไม่ต้องปกป้องหรือวิ่งเข้าหาเขาทุกครั้งที่เขามีปัญหากับคนอื่น เพราะการปล่อยให้เด็กๆ ทำพลาดระหว่างเล่นหรือทดลองทำอะไรบางอย่าง จะกระตุ้นให้เขาลุกขึ้นท้าทายตัวเองต่อไป

“สร้างพื้นที่ให้เขาล้มเหลวได้อย่างปลอดภัย ในแบบที่เขาสามารถลุกขึ้นได้อีกครั้ง” เกรย์บอก “ถ้ายังไม่ได้ผลจริงๆ ก็แค่ลองหาเวลาพูดคุยเล่นกับลูก เพื่อหาว่าเหตุใดจึงไม่ได้ผลเสียที”

อ้างอิง:
How To Raise A Creative Kid
How To Raise ‘Creative, Curious, Healthier’ Kids, According To The AAP

Tags:

การเล่นพ่อแม่ปฐมวัย21st Century skills

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Space
    เพราะ ‘การเล่น’ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่นๆ: ‘เทศกาลเล่นอิสระ’ พื้นที่ปลดปล่อยจินตนาการของเด็ก 

    เรื่อง สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

  • Early childhood
    Play with your heart ‘เล่นอย่างอิสระ’ เรียนรู้และเติบโตอย่างมีคุณภาพ: ครูมอส- อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Space
    เปลี่ยนสนามเด็กเล่นที่ไม่น่าเล่นและไม่ปลอดภัย มาเป็นผู้ช่วยให้เด็กพัฒนาสมวัย

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    4CS : สี่ทักษะการเรียนรู้ที่ควรมี ฝึกกันได้ และไม่ต้องใช้พรสวรรค์

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Early childhoodLearning Theory
    เรียนปนเล่น เล่นปนเรียน: กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel