Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
Movie
27 June 2024

Hannah Gadsby: Nanette คอมเมเดี้ยนเกย์ที่(เคย)เกลียดตัวเองและอยู่อย่างไม่มีตัวตน

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • ‘แฮนนาห์ แกดส์บี’ คือคอมเมเดียนชาวออสเตรเลีย ที่มักจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเพศสภาพ ตัวตนของเธอบนโลก และล้อเลียนวงการศิลปะด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะที่เธอเรียนมา ซึ่งใน Stand up commedy เธอใช้ชื่อโชว์ว่า ‘เนเนตต์ (Nanette)’ ที่เปิดเผยตัวตนในแบบลึกซึ้งและน่าสนใจ
  • ในฐานะคอมเมเดียน เธอรู้สึกไม่สบายใจที่จะติเตียนตัวตนของตัวเองอีกแล้ว เธอบอกว่าเธอจะเลิกทำสิ่งนี้ เพราะเธอคิดว่าการติเตียนตัวเองที่มาจากใครสักคนในกลุ่มที่เป็นส่วนน้อยอยู่แล้วนั้น “ไม่ใช่การอ่อนน้อมถ่อมตน แต่เป็นการอัปยศอดสู”
  • แฮนนาห์ไม่ได้พูดถึงแค่เรื่องตัวเอง เธอพูดเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อมโยงทุกเรื่องเข้าด้วยกันจนทำให้เราได้สะท้อนความคิด ตกตะกอน เธอเป็นตัวแทนของคนผู้มีเพศสภาพที่เป็นหญิง ผู้ที่เป็นเพศหลากหลาย คนที่เจ็บปวดเหนื่อยล้า และคนที่เคยเกลียดตัวเอง 

‘แฮนนาห์ แกดส์บี’ คือคอมเมเดียนชาวออสเตรเลียที่มักจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเพศสภาพ ตัวตนของเธอบนโลก แวะจิกกัดสังคมชายแท้ผิวขาว และล้อเลียนวงการศิลปะด้วยความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะที่เธอเรียนมา ซึ่งฉลาดและสนุกมากสำหรับเรา 

เรื่องที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้เป็นส่วนนึงจาก stand up commedy ของแฮนนาห์ที่มีชื่อโชว์ว่า ‘เนเนตต์ (Nanette)’ ซึ่งเธอได้มาเปิดเผยตัวตนของเธออีกครั้งหนึ่งในแบบลึกซึ้งและน่าสนใจมาก

แฮนนาห์เล่าว่าเธอเกิดในเมืองเล็กๆ ในรัฐแทสเมเนียซึ่งความรักของผู้ที่รักเพศเดียวกันเป็นสิ่งผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปี 1997 และเป็นช่วงเวลาที่แฮนนาห์กำลังเป็นวัยรุ่น แฮนนาห์ต้องออกจากบ้านเกิดมาอยู่ที่เมืองหลวงเมื่อตอนที่เริ่มรู้ว่าตัวเองเป็นเลสเบี้ยน 

เธอเล่าว่าเธอใช้เวลาอย่างมากในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น เพราะสมัยนั้นสื่อมักจะพูดถึงความรักของผู้ที่รักเพศเดียวกัน ว่าเป็นเรื่องของชายรักชาย มองพวกเขาเป็นตัวปัญหา เป็นผู้ที่นำพาโรคเอดส์  ไม่ค่อยมีคนพูดถึงเพศหลากหลายอื่นๆ อย่างเลสเบี้ยนซักเท่าไหร่

อีกเหตุผลหนึ่งคือ ‘เทศกาลมาร์ดิกราส์’ ที่จัดทุกปีสำหรับกลุ่มเพศหลากหลายที่เธอเข้าใจว่ามันควรเป็นกลุ่มของเธอ (My people) ก็มีความปาร์ตี้ พลังล้นเหลือ เสียงดัง ชอบเต้น จนเธอสงสัยว่า พวกเกย์เงียบๆ เรียบร้อยเขาไปอยู่ที่ไหนกัน

ซึ่งแฮนนาห์ก็ออกตัวว่าไม่ได้มีปัญหากับความน่าตื่นตาตื่นใจของงานพาเหรด เธอแค่รู้สึกว่าตัวเองไม่ฟิตอิน เธอเป็นพวกรักความสงบ ไม่ได้รู้สึกถูกดึงดูดท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่รื่นรมย์สำหรับแฮนนาห์คือเสียงของแก้วน้ำชาที่กระทบกับจานรองของมันก็แค่นั้น 

แฮนนาห์เล่าถึงช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีก่อนที่เธอเริ่มมาเป็นคอมเมเดียนแรกๆ ตอนนั้นเธอได้หยิบเอาเรื่องการเปิดเผยตัวตนการเป็นเกย์ของตัวเองมาเล่าโดยเลือกที่จะใช้มุกตลกแบบติเตียนตัวเองมาโดยตลอด รวมไปถึงการเล่นมุกจิกกัดพวกเกลียดชังคนที่รักเพศเดียวกัน ซึ่งเธอมองว่าสุดท้ายมันก็ไม่ช่วยทำให้เรื่องราวอะไรดีขึ้น

เมื่อเธอได้ทบทวนตัวเองในฐานะคอมเมเดียน เธอรู้สึกไม่สบายใจที่จะติเตียนตัวตนของตัวเองอีกแล้ว เธอบอกว่าเธอจะเลิกทำสิ่งนี้ เพราะเธอคิดว่าการติเตียนตัวเองที่มาจากใครสักคนในกลุ่มที่เป็นส่วนน้อยอยู่แล้วนั้น ‘ไม่ใช่การอ่อนน้อมถ่อมตน แต่เป็นการอัปยศอดสู’ (It’s not humility, It’s humiliation.)

เธอไม่อยากพูดแบบนั้นกับตัวเองหรือใครก็ตามที่เหมือนกันกับเธออีกแล้ว

แฮนนาห์เรียนรู้ว่าเธอจะต้องเล่าเรื่องตัวเองให้ดี (I need to tell my story properly.) 

มู้ดการพูดในช่วงหลังของโชว์ค่อนข้างเข้มข้นและค่อนไปทางตึงๆ ซึ่งเป็นอีกช่วงนึงที่น่าสนใจมากสำหรับสแตนอัพคอมเมดี้ เพราะแสดงให้เห็นถึงความโกรธที่เธอต้องเก็บกดไว้ข้างในมาตลอด

เธอเล่าว่าเธอไม่ได้เปิดเผยตัวตนกับคุณยายทั้งที่มีโอกาสบอก เพราะเธอรู้สึกละอายใจในตัวตนของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนี้มันเริ่มเกิดขึ้นในตอนที่เธอเป็นวัยรุ่น 

รัฐแทสเมเนียเป็นศูนย์กลางของชาติเพื่ออภิปรายหารือกันว่าจะให้ความรักของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศควรหรือไม่ควรเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่เพราะเมืองที่เธออาศัยอยู่เป็นพื้นที่ที่เคร่งศาสนา

70% ของผู้คนที่เธออาศัยอยู่ด้วยมีความเชื่อว่าความรักของผู้ที่รักเพศเดียวกันควรเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และ 70% ของคนที่รักและเลี้ยงเธอ คนที่เธอไว้ใจก็เชื่อว่าความรักของผู้ที่รักเพศเดียวกัน นั้นเป็นบาป คนที่รักเพศเดียวกัน คือคนที่ชั่วร้าย เป็นปีศาจที่มีเพศสัมพันธ์กับเด็ก

ในช่วงเวลาที่เธอเปิดเผยตัวตนตอนนั้นเธอก็ได้กลืนเอาความคิดเกลียดกลุ่มรักเพศเดียวกันเข้าไปในตัวเอง ดังนั้นเธอจึงเรียนรู้ที่จะปกปิดตัวตนของตัวเองไว้ในพื้นที่ลับๆ อยู่เป็นสิบปี ซึ่งพื้นที่นั้นไม่ได้ช่วยทำให้ความละอายใจหายไปและทำให้เธอรู้สึกเกลียดตัวเองอยู่ลึกๆ เกลียดเข้าไปถึงกระดูกดำ เธอบอกว่า

“เวลาที่คุณทำให้เด็กคนนึงรู้สึกละอายใจในตัวเอง คุณปลูกฝังการเกลียดชังแบบนั้นให้กับเด็ก พวกเขาไม่สามารถพัฒนาเส้นทางระบบประสาทที่จะบรรจุความคิดต่างๆ ในการเห็นคุณค่าในตัวเอง พวกเขาไม่สามารถทำมันได้  มันกลายเป็นวัชพืชที่ฝังรากลึกและเติบโตไปอย่างรวดเร็วโดยที่เด็กคนนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จนมันกลายเป็นเรื่องปกติ เหมือนแรงโน้มถ่วงของโลก”

สิ่งเดียวที่แฮนนาห์ทำหลังจากนั้นคือการเกลียดตัวเองและอยู่อย่างไม่มีตัวตน เธอใช้เวลากว่าสิบปีถึงจะเข้าใจว่าเธอมีสิทธิ์ที่จะยืนบนโลกใบนี้แต่เธอก็ยังคงปกปิดมันด้วยมุกตลกติเตียนตัวเองเหมือนมันไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร

ช่วงหลังเธอเลยรู้สึกว่าไม่ค่อยอยากเล่าเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูถูกตัวตนทางเพศของตัวเองออกมาเป็นมุกตลกอีก เธอเคยโดนฟีดแบคจากตัวแทนชาวเลสเบียนด้วยกันว่าเธอเล่าเรื่องเลสเบียนในโชว์ไม่มากพอ แต่แฮนนาห์ก็พูดว่า “แค่ฉันยืนอยู่บนเวทีตลอดทั้งโชว์มันยังไม่เลสเบียนมากพออีกหรอ”

เหมือนเป็นการบอกว่าถึงเธอจะไม่พูดถึงเรื่องเดิมๆ ที่เคยพูดแต่เธอก็ยังคงเป็นตัวแทนของชาวเลสเบียนอยู่ดี

สุดท้ายเธอก็มองว่านิยามคำว่าเลสเบียนก็อาจจะไม่เหมาะสำหรับเธอก็ได้ ต่อมาเธอจึงนิยามตัวเองว่าเป็นแค่คนที่เหนื่อยล้า (Tired) ซึ่งเราไปแอบดูในอินสตราแกรมส่วนตัวของแฮนนาห์ก็ยังคงเขียนระบุนิยามตัวเองว่าเป็นคนที่เหนื่อยล้าอยู่เหมือนเดิม

เรารู้สึกว่าสิ่งที่แฮนนาห์เจอในช่วงที่กำลังสร้างตัวตนเป็นอะไรที่โหดร้ายมาก เพราะไม่ใช่แค่พ่อแม่ที่บอกว่า การรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดบาป แต่สังคมก็มีกฎหมายออกมาด้วยซ้ำว่านี่คือเรื่องผิดกฎหมาย ทุกคนต่างเชื่อว่านี่คือเรื่องที่ผิด และเลวร้าย

แค่สังคมบอกแบบนั้นมันก็ไม่ยากแล้วที่จะเก็บเอาความเกลียดตัวเองนี้มาเฆี่ยนตีตัวเอง เชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นคือสิ่งที่ผิด ทุกข์ทรมานกับตัวตนที่ตัวเองเป็น แต่นี่คือครอบครัวก็เชื่อแบบเดียวกันอีก ไม่แปลกเลยที่ชาวเพศหลากหลายจะอยากปิดบังตัวตนของตัวเองเพราะมันไม่มีพื้นที่ให้กับพวกเขาเลย

ส่วนตัวเราเองก็อินในพาร์ทนี้ที่ได้หยิบมาเล่ามากเพราะก็เคยถูกปลูกฝังความเกลียดตัวเองเอาไว้ในตัวเช่นเดียวกัน เราเคยถูกบอกว่าไม่มีใครรักเราตั้งแต่เด็ก ซึ่งมันทำให้เราโหยหาการยอมรับการถูกรักจากคนภายนอกตลอดเวลา ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วคนที่ควรจะรัก ควรจะยอมรับและเห็นคุณค่าในตัวเราก็คือตัวเอง แต่เราก็ยังไม่สามารถสร้างมันขึ้นมาได้ 

โชว์ในครั้งนี้ยิ่งใหญ่และน่าสนใจมากในมุมมองของเรา เพราะเรารู้สึกว่าแฮนนาห์ไม่ได้พูดถึงแค่เรื่องตัวเอง เธอพูดเรื่องที่ใหญ่กว่านั้น เชื่อมโยงทุกเรื่องเข้าด้วยกันจนทำให้เราได้สะท้อนความคิด ตกตะกอน เธอเป็นตัวแทนของคนผู้มีเพศสภาพที่เป็นหญิง ผู้ที่เป็นเพศหลากหลาย คนที่เจ็บปวดเหนื่อยล้า และคนที่เคยเกลียดตัวเอง 

แฮนนาห์กล้ายอมรับตัวตนของตัวเองว่าในช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นเธอได้เจอกับอะไรมาบ้าง เธอทำให้เราได้เห็นว่ายังมีคนที่เจ็บปวดแบบเดียวกันอยู่และเขากล้าที่จะโอบกอดทุกชิ้นส่วนทั้งดีและร้ายของตัวเอง เขาสามารถเริ่มรักและยอมรับตัวเองได้แล้ว และเราก็จะทำได้เช่นกัน 

Tags:

LGBTQA+เพศสภาพแฮนนาห์ แกดส์บีstand up commedy

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Book
    เราต่างงดงามแล้วจางหาย: หรือแค่คำปลอบใจของชีวิตผุพัง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Movie
    Monster: เรื่องโกหกที่เริ่มต้นจากความกลัวเพราะไม่อยากเป็นตัวประหลาด

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Love, Simon: หากแม้คนทั้งโลกจะใจร้าย ขอแค่พ่อแม่รักและเข้าใจก็พอ

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Dear ParentsMovie
    We’re here: แดร็กควีนที่ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่เพื่อความรู้สึกมีอำนาจ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    Billy Elliot: ความฝันนอกกรอบ และความรักของพ่อผู้ยอมหักหลังตัวเองเพื่อลูกชาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel