Skip to content
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
  • Creative Learning
    Unique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an Educator
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
Relationship
25 July 2022

Passive Aggressive: คำพูดทิ่มแทงอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ความก้าวร้าวแบบแยบยลที่บั่นทอนความสัมพันธ์

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • คำพูดที่ดูเหมือนหวังดี แต่แฝงไปด้วยความต้องการควบคุมหรือทำให้รู้สึกผิด, แกล้งทำดีต่อหน้า แต่จริงๆ ตั้งใจที่จะทำร้าย หรือทำให้รู้สึกแย่ด้วยแล้วบอกว่า “ก็แค่เรื่องล้อเล่น” “แกล้งเล่นไม่ได้เหรอ” พฤติกรรมเหล่านี้คือ ‘ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล’ หรือ ‘Passive Aggressive’
  • ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาลอาจเป็นผลมาจากการที่เขาไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เขาจึงต้องหาวิธีระบายอารมณ์ออกมา
  • หัวใจของการลดความก้าวร้าวนี้ คือการสร้างวัฒนธรรมของการพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับความเปราะบางของตัวเอง และสร้างทัศนคติของการเผชิญหน้า คุยอย่างตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์กับความรู้สึกมากขึ้น

ความรุนแรง (Aggressive) คือการกระทำความรุนแรงที่เราสามารถเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา แล้วระบุได้ทันทีว่าความรุนแรงคือสิ่งที่ไม่เหมาะสม แล้วนั่นก็มักเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ เชื่อว่า มนุษย์มีความก้าวร้าวเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานเพื่อที่จะมีชีวิตรอด มนุษย์ยุคก่อนฆ่าสัตว์ไม่เพื่อปกป้องครอบครัวก็เพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด แน่นอนว่าความก้าวร้าวมีประโยชน์หากใช้ในทางที่ถูก เช่น ถ้ามีคนจะทำร้ายร่างกายคนที่เรารัก ความก้าวร้าวหรือความรุนแรงที่ใช้ต่อสู้เพื่อปกป้องคนที่รักก็เป็นสิ่งที่ประโยชน์ ถึงอย่างนั้น ความก้าวร้าวก็มีผลที่ตามมาเช่นเดียวกัน เช่น การต่อสู้อาจนำมาซึ่งการบาดเจ็บ ความเสียหายทางกายและทางใจ

เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่ตรงไปตรงมา และเพื่อหลีกหนีพฤติกรรมก้าวร้าวที่สังคมไม่ยอมรับ มนุษย์จึงเปลี่ยนรูปแบบความรุนแรงนั้นเป็น ‘ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล’ หรือ ‘Passive Aggressive’ เมื่อการเผชิญหน้าตรงๆ อาจทำให้รู้สึกลำบากใจ อึดอัด หลายคนจึงใช้ดาบทิ่มแทงโดยที่อีกฝ่ายไม่ค่อยรู้ตัว (บางครั้งคนทำก็ไม่รู้ตัว) เพราะเป็นวิธีระบายความรู้สึกที่อัดอั้นในใจที่แยบยล แล้วก็ยังเป็นสิ่งที่สังคมยังรู้ทันได้ยากหากไม่ได้สังเกตดีๆ

9 เช็คลิสต์ที่อาจบอกได้ว่าคุณกำลังเจอความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล (Passive-Aggressive) 

  • เขาใช้น้ำเสียงและถ้อยคำที่แสนจะเป็นมิตรเพื่อหลอกด่าคุณ
  • เขาแกล้งทำดีต่อหน้า แต่จริงๆ ตั้งใจที่จะทำร้าย
  • เขาแสดงความนิ่งเฉยที่เป็นการเมินเฉยให้คุณรู้สึกแย่ 
  • เขาพูดแซะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้รู้สึกแย่ทีละนิดทีละหน่อยแต่บ่อยครั้ง 
  • เขาทำให้รู้สึกแย่ด้วยแล้วบอกว่า “ก็แค่เรื่องล้อเล่น” “แกล้งเล่นไม่ได้เหรอ”
  • เขาใช้คำพูดที่ดูเหมือนหวังดี แต่แฝงไปด้วยความต้องการควบคุม หรือทำให้รู้สึกผิด
  • เขาประชดชันทั้งที่ตัวเองต้องการอย่างหนึ่ง แต่กลับพูดอย่างอีกอย่างด้วยความเสียดสี 
  • เขาพูดท้าทาย หรือต่อต้านให้คุณรู้สึกหงุดหงิดใจอยู่บ่อยๆ
  • เขาแสดงออกเหมือนเป็นคนดี แต่ลึกๆ มีความเกรี้ยวกราด ขี้อิจฉาที่ก่อกวนจิตใจ  

ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาลอาจเป็นผลมาจากการที่เขาไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เขาจึงต้องหาวิธีระบายอารมณ์ออกมา 

สมมุติว่าเขารู้สึกน้อยใจ ถ้าเขาเป็นคนที่จัดการอารมณ์ตัวเองได้ เขาก็จะยอมรับความรู้สึก แล้วเลือกมาบอกความรู้สึกเพื่อปรับความเข้าใจ ความรู้สึกน้อยใจก็จะหายไป แต่ถ้าเขาเป็นคนที่เก็บกดอารมณ์หน่อยเขาก็อาจจะใช้วิธีระบายอารมณ์ที่ขุ่นมัวด้วยความแยบยล หรือ Passive-Aggressive ตามตัวอย่าง 9 ข้อด้านบนนั่นเอง

การไม่สื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมามักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ค่อยๆ พังโดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็สายเกินแก้ไปแล้ว พฤติกรรมความก้าวร้าวที่แยบยลนี้จะค่อยๆ กัดกินความสัมพันธ์ เราอาจรู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อยจากการถูกหลอกด่า ซ้ำๆ จากการถูกพูดทิ่มแทงซ้ำๆ พอมันเป็นการสะกิดทีละเล็กทีละน้อยเราก็มักจะไม่ค่อยให้ความสนใจ เพราะคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนการทำความรุนแรงแบบตรงไปตรงมา แต่พอปล่อยไว้นานวันเข้า ความรู้สึกปลอดภัยในความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ หายไป ความเชื่อใจก็ลดน้อยลง ดังนั้น หากคุณกำลังเจอพฤติกรรมความก้าวร้าวที่แยบยลในความสัมพันธ์ อย่าซุกปัญหาไว้ใต้พรมแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้ให้ทับถม 

สิ่งที่อยากเน้นเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ความรุนแรงแบบแยบยลมักไม่ถูกให้ความสำคัญและมองข้ามบ่อยๆ แต่ก็นั่นแหละ เพราะมันไม่ถูกให้ความสำคัญมันก็เลยสำคัญมากๆ เพราะกว่าจะเห็นว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นปัญหา ปัญหานี้ก็อาจจะรุนแรงเกินแก้แล้วก็ได้

3 คำแนะนำสำหรับคนที่มีรอบข้างมีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยล (Passive-Aggressive)

  1. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ พยายามจัดการอารมณ์ตัวเองด้วยการระบุอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และรับรู้ว่าไม่แปลกที่เราจะอารมณ์เสีย เศร้า เสียใจ เพราะเราต่างก็เป็นมนุษย์ธรรมดา 
  2. พูดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ด่าว่า (Blaming) แล้วก็พูดถึงผลกระทบของการกระทำให้เขาได้รับรู้ เช่น เรารู้สึกแย่ที่เธอพูดหลอกด่าเรานะเมื่อกี้ มันทำให้เรารู้สึกกังวลเวลาอยู่ใกล้เธอ 
  3. หากพูดแล้วเขายังมีพฤติกรรมอยู่ ควรตั้งขอบเขต (Boundary) ให้ชัดเจนว่าถ้าเขาทำไม่ดีกับคุณ คุณจะทำอย่างไร อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เกิดซ้ำๆ ผ่านไป เช่น ถ้าเขายังทำแบบนั้นอยู่ เราจะไม่คุยด้วยแล้วเดินออกไปทันที เขาจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า ไม่ใช่ว่าเขาจะทำอะไรตามใจตัวเองก็ได้ เพราะไม่มีใครทนพฤติกรรมได้ตลอด ทุกอย่างการกระทำควรมีขอบเขต นอกจากนี้ การตั้งขอบเขตยังทำให้คุณรู้ว่าจุดไหนคือจุดที่คุณจะไม่ทน แล้วมันก็ยังเป็นการปกป้องสุขภาพจิตของคุณด้วย 

4 คำแนะนำสำหรับคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยล 

  1. นึกถึงผลของการมีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยลทั้งต่อตัวเอง แล้วก็จินตนาการถึงความรู้สึกของคนที่ได้ถูกปฏิบัติแบบนั้น แล้วคิดดูว่าถ้าตัวเองถูกคนอื่นทำแบบนั้นจะรู้สึกอย่างไร และจะมุมมองความคิดอย่างไรต่อคนนั้น
  2. พยายามสังเกตเวลาที่ตัวเองรู้สึกเครียด อึดอัด กังวล แล้วฝึกยอมรับความรู้สึก การยอมรับไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ใช่เรื่องที่ฝึกไม่ได้ พยายามไม่วิ่งหนีหรือเก็บกดความรู้สึก “ตอนนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่นะ” แล้วก็หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสมมากขึ้น เช่น หาเพื่อนคุย ตั้งคำถามเพื่อเข้าใจตัวเอง การปรับวิธีระบายอารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา
  3. นั่งคุยกับตัวเองเพื่อหาสาเหตุของความรู้สึกแย่เหล่านั้น “อะไรทำให้เรารู้สึกแบบนั้น” “จริงๆ เราต้องการอะไร” “อะไรคือคุณค่าที่เราให้” 
  4. แทนที่จะระบายอารมณ์ด้วยความก้าวร้าวเหมือนเคย ฝึกบอกความรู้สึก สิ่งที่ไม่สบายใจให้คนรอบข้างฟัง เช่น เรารู้สึกไม่สบายใจที่เธอไม่ได้ตอบคำถามเราเมื่อกี้ เมื่อกี้เธอทำอะไรอยู่เหรอ ? มันอาจจะรู้สึกเหมือนตัวเองอ่อนแอสำหรับบางคนที่ต้องพูดความรู้สึก แรกๆ อาจไม่ชิน แต่ให้เวลาตัวเองแล้วจะพบว่าความรู้สึกหวิวๆ ตอนพูดความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอเลย 

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อจิตใจ (Psychological Safety) เป็นสิ่งสำคัญในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และความก้าวร้าวแบบแยบยล (Passive-Aggressive) ก็เป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัย และบั่นทอนจิตใจ เมื่อต่างฝ่ายต่างรู้สึกไม่ปลอดภัย ความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ บั่นทอน 

คนที่มีความสุขก็มักจะส่งต่อความสุข ส่วนคนที่มีความทุกข์ก็จะมักส่งต่อความทุกข์ บางครั้งการที่เขาพูดจาไม่ดี แอบหลอกด่า ชมแบบจิกๆ ก็อาจจะมาจากการที่เขามีความทุกข์อยู่ในตัวแล้วไม่รู้วิธีจัดการ ดังนั้น หัวใจของการลดความก้าวร้าวที่แยบยล (Passive-Aggressive) คือการสร้างวัฒนธรรมของการพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับความเปราะบางของตัวเอง และสร้างทัศนคติของการเผชิญหน้า คุยอย่างตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์กับความรู้สึกมากขึ้น 

ขอให้มีความอ่อนโยนต่อกันมากขึ้นครับ ☺

Tags:

ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship)Passive Aggressiveความก้าวร้าว

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • RelationshipSocial Issues
    Toxic Masculinity: เมื่อ ‘ชายแทร่’ คือผลไม้พิษ สังคม-ครอบครัวต้องสร้างการเรียนรู้ใหม่…ไม่มีใครเหนือใครในความเป็นมนุษย์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    เพราะ ‘ข่าวร้าย’ มักดึงดูดใจกว่า ‘ข่าวดี’: Doomscrolling พฤติกรรมเสพข่าวร้ายไม่หยุด ที่ต้องหยุดตัวเองก่อนเสียสุขภาพจิต

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • love-hate-relationship-nologo
    Relationship
    Love-Hate Relationship: จะอยู่อย่างไรให้ไหว เมื่อคนในครอบครัวคือคนที่ทั้งรักและเกลียด?

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    Love Bombing: เมื่อการทุ่มเทความรักมากมายเป็นเพียงเหยื่อล่อไปสู่ความสัมพันธ์ท็อกซิก

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Weaponized-Incompetence-1
    Relationship
    Weaponized Incompetence: ทำไมการ ‘แกล้งทำไม่เป็น’ เพื่อโยนงานให้คนอื่น ถึงเป็นเรื่องท็อกซิกในความสัมพันธ์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel