Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Early childhood
2 February 2022

พ่อแม่แสดงความรักอย่างเหมาะสมต่อลูกด้วยการเคารพสิทธิลูก เพราะร่างกายเป็นของลูกไม่ใช่ของใคร

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • เมื่อถึงวัยหนึ่งที่เด็กเริ่มแสดงออกว่าไม่อยากให้ใครมาแตะต้องตัว ก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องช่วยปกป้องสิทธิร่างกายของลูก

การที่เด็กต่อต้านคนแปลกหน้าไม่ให้แตะต้องตัว และติดพ่อแม่หรือคนเลี้ยงเป็นพิเศษนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการ ผู้ใหญ่จึงควรเคารพสิทธิร่างกายของเด็กด้วยการไม่ฝืนใจเขา หากเขาแสดงอาการต่อต้าน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมตามพัฒนาการของเด็ก

Mary Ainsworth (1979) กล่าวถึงพัฒนาการของพฤติกรรมผูกพันที่เกิดขึ้นในเด็กไว้ดังนี้… 

  • ระยะที่ 1เด็กทารกวัย 8 สัปดาห์แรกจะเริ่มต้นสร้างความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู (พ่อแม่) ด้วยการยิ้ม ส่งเสียงร้องอ้อแอ้ และร้องไห้เพื่อให้ผู้เลี้ยงดูสนใจเขา เขายังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของคนที่เขามาดูแลเขาได้ วัยนี้ไม่ว่าใครเด็กก็ยอมให้อุ้มทั้งนั้น 
  • ระยะที่ 2 เด็กทารกวัย 2 – 6 เดือน จะเริ่มจำแนกระหว่างผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้มากขึ้น และตอบสนองต่อผู้ดูแลมากกว่า เขาจะเริ่มติดและอยากตามพ่อแม่ช่วงนี้ 
  • ระยะที่ 3 เด็กระหว่างวัย 6 เดือนถึง 2 ขวบ คือ ช่วงที่เด็กเกิดความผูกพันกับผู้เลี้ยงดูอย่างชัดเจน ดังนั้นหากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กวัยนี้ควรมีความมั่นคง ให้ความรัก และความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงสำหรับเขาด้วยการมีเวลาคุณภาพให้ลูก เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มเข้าไปสำรวจสิ่งแวดล้อม หากเสาหลักสำหรับยึดเหนี่ยว (พ่อแม่) ของเขายังคลอนแคลน เด็กจะรับรู้ว่าไม่ปลอดภัย และไม่กล้าออกไปเผชิญโลก 

ส่วนใหญ่หลังเด็กอายุครบ 1 ขวบ เด็กจะสามารถแสดงพฤติกรรมผูกพันชัดเจน เขาจะปฏิเสธทันทีเมื่อต้องจากพ่อแม่ของเขาไปไกล หรือจะประท้วงการจากไปของพ่อแม่ เขาจะทักทายเมื่อพ่อแม่กลับมาบ้าน โดยชะเง้อมองหาเราตามเสียงที่ได้ยิน เขาจะเริ่มเกาะแขน เกาะขา เกาะเรา ติดแจเมื่อกลัว และจะพยายามตามติดพ่อแม่ไปทุกที่เมื่อเริ่มเคลื่อนที่ได้ 

เมื่อเด็กอายุครบ 2 ขวบ เขาจะรับรู้ว่ามีผู้ดูแลเขาได้มากกว่าสองคน (มากกว่าพ่อแม่) เขาสามารถวางแผนเพื่อให้คนอื่นเอาใจเขาได้ จากแต่ก่อนเด็กอาจจะร้องไห้เมื่อได้รับความเจ็บปวดหรือหิวเท่านั้น แต่เมื่อ 2 ขวบเด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะร้องไห้เพื่อเรียกร้องให้คนมาสนใจ หรือเพื่อให้ได้ดั่งใจ และถ้าไม่มีใครสนใจเขา เขาจะร้องดังขึ้นจนกว่าจะสำเร็จ 

ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่ควรให้ความรักและสายสัมพันธ์เพื่อสร้างตัวตนที่มีคุณค่าให้กับลูก เพื่อให้เขารับรู้ว่าตัวเขามีความสำคัญและมีอยู่จริง เพื่อจะเรียนรู้การปกป้องร่างกายและคุณค่าภายในตนเองในอนาคต 

อ่านบทความฉบับเต็ม https://thepotential.org/family/child-rights-body/

Tags:

พ่อแม่การ์ตูนสิทธิ์เด็ก

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

PHAR

ชื่อจริงคือ พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เป็นนักวาดรูปเล่น มีงานประจำคือเอ็นจีโอ ส่วนงานอดิเรกชอบทำกับข้าว

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.5 ‘ตัวตนภายในที่แข็งแรง ภายนอกจึงไม่เปราะบาง’

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.4 ‘ความวิตกกังวลสูงในเด็ก’ อาจเริ่มต้นจากความกังวลของพ่อแม่

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Book
    วันนั้นฉันเจอเพนกวิน: อย่าปิดกั้นจินตนาการของเด็กด้วยคำว่า ‘เพ้อฝัน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    รถไฟขนเด็ก – เพราะรักจึงยอมปล่อยมือ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Movie
    Life is Beautiful: โลกอาจโหดร้าย พ่ออาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่ความรัก(ลูก)นั้นทำให้ชีวิตงดงามเสมอ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel