Skip to content
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
Character building
17 February 2021

Honest : ที่โกหกเพราะเป็นนิสัย หรือเพราะเป็นกลไกป้องกันตัว หนีความกลัวและการถูกลงโทษ?

เรื่อง เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บางครั้ง “ความกลัวผลลัพธ์ที่จะตามมา” เป็นชนวนที่ทำให้เราเลือกที่จะโกหกไว้ก่อน เพื่อหลีกหนีจากเรื่องน่ากลัว และมันก็เหมือนคำสั่งอัตโนมัติที่มาสั่งสมองทันทีว่า ถ้าพูดความจริงไปแล้ว ผลนั้นจะออกมาน่ากลัว หรือยอมรับความจริงไม่ได้ จงเลือกที่จะโกหกซะ
  • คุยเรื่องความกลัวในฐานะกลไกป้องกันตัวเอง หลีกหนีความจริงและการลงโทษ และฝึกเปลี่ยนกลไกป้องกันตัวด้วยการโกหก กับ 3 วิธี ‘Pause, Thought และ ท่องไว้’
  • “สำหรับผู้ใหญ่ หากจับได้ว่าเขาโกหก อย่าถามว่าทำไมถึงโกหก เพราะมันไม่ได้ช่วยให้เขาได้คิดและหยุดวงจรการโกหก แต่อยากให้ช่วยเด็กๆ หาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เขาเลือกโกหกเพื่อช่วยเขายุติความกลัว และกล้าเผชิญหน้ามากขึ้น ซึ่งมันจะเป็นวิธีลดการโกหกไปในตัวด้วยนะคะ”

น้องๆ เคยมีประสบการณ์แบบนี้กันไหมคะ เวลาที่แอบทำอะไรสักอย่างในห้องเรียนเช่น แอบกินขนม แอบเปิดมือถือดูแล้วครูจับได้พร้อมมาถามเราว่า ‘ทำอะไรอยู่?’ เราจะรีบตอบทันทีว่า ‘เปล่าครับ/เปล่าค่ะ’ หรือบางทีตอนกำลังกินข้าวอยู่เราแอบไถมือถือเล่นแล้วพ่อแม่ถามว่าทำอะไร เราก็ตอบไปทันทีอีกว่า ‘เปล่านะ ไม่ได้ทำอะไร’ หรือบางทีที่เราทำผิดอะไรสักอย่างเราก็มักจะไม่บอกความจริงก่อน เนียนได้ก็ขอเนียนไว้ จนบางครั้ง ‘เรา’ ก็มักจะโดนผู้ใหญ่ถามกลับมาว่า ‘ทำไมต้องโกหก’ ไม่ก็โดนบ่นยาวอีกด้วยว่า ‘ติดนิสัยเด็กเลี้ยงแกะที่ชอบโกหก’ อีกด้วย

ทำไมเราถึงโกหกกันนะ เพราะเราเป็นแบบเด็กเลี้ยงแกะหรือเปล่า ที่โกหกเพราะความสนุก ไม่มีอะไรทำ หรือเพราะเราเป็นเด็กไม่ดี เราจึงโกหก คำตอบคือ…จริงแล้วๆ ไม่ใช่เลยค่ะ พี่นีทมองว่าการโกหกไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเด็กไม่ดี เพียงแต่ที่เราไม่กล้าพูดความจริง นั่นเพราะเรากำลังกลัวอะไรบางอย่างมากกว่า

และจริงๆ เรื่องนี้มีคำตอบในทางจิตวิทยานะ นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องการโกหก เช่น เจ้าพ่อที่พูดเรื่องโกหกคนแรกอย่างซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ก็บอกว่าการโกหก คือ กลไกในการป้องกันตัวเองเพื่อปฏิเสธความจริงบางอย่างที่น่ากลัว นอกจากนี้ ดร. คอร์ทรีย์ วอร์เรน (Dr. Cortney Warran) ผู้สนใจเรื่องการโกหกก็บอกเหตุผลของการโกหกไว้ว่า

สาเหตุแท้จริงที่คนเราเลือกโกหกนั้นมาจากตัวเราไม่เข้มแข็งมากพอที่จะยอมรับความจริงและผลลัพธ์ที่จะตามมา

น้องบางคนอาจจะถามว่า แต่มันก็มีการโกหกที่ดีอย่างที่เรารู้จักในชื่อ white lie หรือการที่เราไม่พูดความจริงเพื่อช่วยให้อีกฝ่ายไม่เสียใจ แหมะๆ อันนี้ก็พูดยากเลยค่ะ (ปาดเหงื่อสักนิด) เพราะจริงๆ แล้ว white lie ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่แย่ไปทั้งหมดอะเนอะ พี่นีทเลยต้องขอยกเนื้อหาบางส่วนที่พี่นีทสามารถสรุปได้จากบทความของอาจารย์จิตวิทยาที่ชื่อว่า คริสเตรียน ฮัร์ท (Christian Hart) มาค่ะว่า จริงๆ แล้ว white lie คือการโกหกเพื่ออีกฝ่ายล้วนๆ ในการรักษาน้ำใจ รักษาความรู้สึกไม่ให้เขารู้สึกแย่ไปมากกว่าเดิม อาจจะเป็นมารยาททางสังคมนิดๆ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องใหญ่โต ถามมาตอบไป และการโกหกนี้จะต้องไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อคนพูดโกหกเลยค่ะ 

ซึ่งพี่นีทคิดว่า ถ้าหากการโกหกของเราอยู่ในขอบเขตเช่นนี้ ว่าทำเพื่อความรู้สึกคนอื่นจริงๆ และไม่น่าจะมีผลเสียตามมา ก็น่าจะหยวนๆ ใช้ whtie lie กันได้นะคะ เช่น สมมติเพื่อนพูดหน้าชั้นได้แย่มาก แล้วเพื่อนมาถามพี่ว่า ‘ฉันพูดได้แย่มากเลยใช่ไหมแก’ พี่ก็คงไม่กล้าบอกตรงๆ เพราะไม่อยากให้เพื่อนรู้สึกแย่ไปกว่านี้ คงเลือกตอบแบบ white lie ไปว่า ก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นหรอกแก 

เอาเป็นว่ามันก็พออนุโลมกันได้นะคะ แต่ก่อนที่เราจะใช้ white lie อยากให้น้องๆ ลองหาวิธีดูก่อนว่า เรามีวิธีการบอกความจริงโดยที่อีกฝ่ายไม่เสียใจไหม หากมีวิธีการนั้น พี่นีทแนะนำให้เราเลือกที่จะพูดความจริงก่อน แต่ถ้ามันไม่มีจริงๆ ก็หยวนๆ ให้ใช้ white lie ได้นิดนึงค่ะ

กลับมาต่อกันที่เรื่องการที่เราโกหกเพราะเราแค่ไม่พร้อมที่จะยอมรับความจริงและผลที่จะตามมา ซึ่งพี่ก็อยากให้น้องๆ ลองคิดว่าในทุกเหตุการณ์ที่เราเลือกจะโกหก มันมีเหตุผลแบบนี้ซ่อนอยู่จริงไหม พี่นีทจะขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อยให้เราได้ลองวิเคราะห์กันดูนะคะ (แอบกระซิบค่ะว่ามันเป็นตัวอย่างการโกหกของพี่นีทเองเลย)

เรื่องนี้จำได้ไม่ลืมเพราะลืมไม่ลงจริงๆ เกิดขึ้นสมัยได้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะใหม่ๆ ตอนนั้นกว่าจะมีคอมพ์เครื่องแรกก็ประมาณป.6 ได้ พ่อแม่บอกเราว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ซื้อไว้ให้ใช้ทำงานนะ เช่น พิมพ์รายงานส่งอาจารย์ อนุญาตให้เล่นเกมใช้อินเตอร์เน็ตได้นิดหน่อย พ่อแม่สั่งมาขนาดนี้เราก็ต้องตอบตกลงใช่ไหมล่ะ แต่มีอยู่วันหนึ่งที่พ่อแม่ออกไปข้างนอกแล้วเราแอบเล่นอินเตอร์เน็ต พี่นีทบอกพ่อแม่ว่า ‘ดูทีวี’ แต่ความแตกค่ะเพราะพ่อไปจับทีวีแล้วพบว่ามันไม่ร้อน แต่ไปจับคอมพิวเตอร์ปรากฎว่ามันร้อนมาก พวกเขาเลยรู้ว่าเราโกหกค่ะ สุดท้ายก็โดนดุยาวและโดนลงโทษห้ามเล่นคอมพิวเตอร์ไปหลายวัน (เศร้าเลยค่ะตอนนั้น)

ถ้ามาย้อนคิดดูว่าทำไมตอนนั้นถึงโกหก ตอนนี้ก็คงตอบได้เลยง่ายๆ ว่า ก็กลัวไง เพราะเรามีความเชื่อและคิดถึงผลที่จะตามมาว่า ‘ถ้าหากพ่อแม่รู้ความจริงว่า ฉันเล่นอินเตอร์เน็ต ต้องโดนดุแน่ๆ’ ดังนั้น เพื่อที่จะหนีไปจากการโดนดุเราจึงเลือกที่จะโกหกแทน (ซึ่งถ้าจับไม่ได้ก็รอดไง)

บางครั้ง ‘ความกลัวผลลัพธ์ที่จะตามมา’ เป็นชนวนที่ทำให้เราเลือกที่จะโกหกไว้ก่อน เพื่อหลีกหนีจากเรื่องน่ากลัว และมันก็เหมือนคำสั่งอัตโนมัติที่มาสั่งสมองทันทีว่า ถ้าพูดความจริงไปแล้ว ผลนั้นจะออกมาน่ากลัว หรือยอมรับความจริงไม่ได้ จงเลือกที่จะโกหกซะ

ฝึกเปลี่ยนกลไกป้องกันตัวด้วยการโกหก กับ 3 วิธี ‘Pause, Thought และ ท่องไว้’

และหากถามว่า เราจะทำอย่างไรดีที่จะไม่กลัวกับผลที่ตามมาและไม่ต้องโกหก พี่นีทมี 3 วิธีมาบอกน้องๆ นั่นคือ Pause, Thought และ ท่องไว้

Pause (หยุด) คือการให้เราหยุดตนเอง ในเวลาที่เราจัดการความคิดในสมองไม่ได้ เช่น มันเลวร้ายแน่ๆ เลย ฉันต้องโกหกแล้วล่ะ หรือแบบโดนแน่ๆ โกหกเถอะ หรือ จะพูดยังไงดีไม่ได้โดนเรียบๆ เคียงๆ แอบถามเพื่อจี้ให้เราพูดความจริงอะไรทำนองนี้ พี่ขอให้น้องๆ Pause หรือหยุดตัวเองก่อนเลยค่ะ เพราะเวลาที่เราจัดการกับความคิด เรียบเรียงความรู้สึกไม่ได้ มันมีโอกาสสูงมากเลยนะที่เราจะเลือกโกหก ซึ่งการ Pause เหมือนการตั้งหลักและตั้งสติว่า ฉันจะเอายังไง จะโกหกหรือไม่โกหกดี

Thought (ความคิด) ในที่นี้คืออยากให้น้องลองจินตนาการดูว่า สมมติฉันโกหกไปแล้ว และถูกจับได้ฉันจะโดนอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก่อนที่เราจะโกหก เราไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้เราถึงเลือกการโกหกแบบไม่ลังเล (คิดว่าโกหกได้เนียน แต่มันเนียนจริงไหมก็อาจไม่เคยคิด ฮ่าๆ) แต่พอเราได้คิดว่า ถ้าถูกจับได้แล้วว่าจะโดน…เราจะเริ่มรู้สึกว่าไม่โกหกดีกว่าไหมนะ เพราะความจริงที่ทุกคนรู้กันคือ ถ้าโดนจับโกหกได้ เรามักจะโดนหนักกว่าเดิมเสมอ เช่น สมมติถ้าจะต้องโดนดุ ก็มักจะโดนดุอย่างน้อย2 กระทงอ่ะ แบบเบาๆ คือ ‘เรื่องที่ทำไว้’ กับ ‘พฤติกรรมการโกหก’ ดังนั้น พอเราเริ่มคิดได้ว่า ถ้าโกหกแล้วโดนจับได้ โทษมันจะหนักกว่าเดิมนะเราจะเริ่มไม่อยาก/ไม่กล้า โกหก

และสุดท้ายคือ ท่องไว้ การท่องไว้ในที่นี้คือ ท่องประโยคที่มาจาก Thought ที่จะช่วยให้เรากล้าเผชิญหน้ากับผลลัพธ์ที่เรากลัว และไม่โกหก (ช่วงแรกๆ อาจจะต้องท่องบ่อยหน่อย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับบุคคลที่เราต้องบอกความจริง) อย่างเช่น จับได้โดนหนักกว่าเดิมนะ อย่าเลย, พูดความจริงไปเถอะ เพราะไม่ว่าทางไหนก็โดน เป็นต้น คำพูดเหล่านี้ จะกลายมาเป็นพลัง และเตือนสติเราในวินาทีที่เราจะเลือกโกหกค่ะ

หากเราทำได้แบบนี้ วงจรในการโกหกของเราก็จะลดน้อยลง นอกจากนี้ขอเพิ่มทริค (Trick) เล็กๆ ไว้สักนิดนึงนะคะ ว่าหากเราไม่อยากจะมาเจอสถานการณ์ของการเลือกว่าจะโกหกไหม ก่อนทำอะไรอยากให้คิดให้ดีก่อนว่าควรทำไหม เพราะอะไรจึงควรทำเราจะได้ไม่ต้องมาเจอสถานการณ์เรื่องโกหก หรือหากไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ควรทำไหม เช่น เดาผลลัพธ์ไม่ได้ ไม่ชัวร์จริงๆ ว่ามันทำได้ อาจจะลองขออนุญาตก่อนทำหรือลองปรึกษาคนๆ นั้น ผู้ใหญ่ หรือใครก็ตามที่ช่วยเราได้ เพื่อให้เราได้คิดดีๆ ก่อนทำ ก็จะช่วยเราได้ (แอบบอกนิดนึงว่ามันเหมือนเป็นการแจ้งล่วงหน้าให้ท่านรู้ก่อนแล้วนะ เวลาพลาดจะได้มีตัวช่วย ว่าบอกแล้วไง อิอิ วิธีนี้เราใช้บ่อย) แต่สุดท้าย ถ้าทำตามทริคแล้ว ก็ยังเจอสถานการณ์ที่ต้องเลือกอยู่ดีกว่าจะโกหกดีไหม ก็ไม่เป็นไรนะคะ ก็สู้กับมันไปค่ะ

ผู้ใหญ่ก็ต้องช่วย อย่าสร้างเสริมกลไกการโกหกให้เด็กด้วยการลงโทษรุนแรงเสียก่อนแล้วบอกว่า ‘ทีหลังจงจำเอาไว้’

ขอเพิ่มทริคอีกสักข้อ คราวนี้เพิ่มเติมสำหรับคุณผู้ใหญ่นะคะว่า การที่เราจะช่วยให้เด็กไม่โกหกคือ อย่าเน้นให้ทุกอย่างไปจบที่การลงโทษ เพราะจะทำให้เด็กๆ กลัวและเพิ่มพฤติกรรมการโกหกต่อไป

บางครั้งผู้ใหญ่อาจจะคิดว่า ‘ก็ถ้าเด็กทำผิดก็ต้องลงโทษ เพื่อให้หลาบจำและเค้าจะได้ไม่ทำอีก’ แต่นีทมองต่างกับท่านเล็กน้อยค่ะ นีทมองว่า การลงโทษเด็กนั้นทำให้เด็กจำจริงค่ะว่า สิ่งที่ทำนั้นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ ยกตัวอย่างเช่น สมมติเด็กทำจานแตก แล้วไม่บอกผู้ใหญ่ แอบเอาไปทิ้งที่ถังขยะเพื่อทำลายหลักฐาน พอจับได้ก็โดนดุโดนตีว่าทำไมทำจานแตก และสุดท้ายผู้ใหญ่บอกว่า ‘ทีหลังทำอะไรผิดให้บอกเข้าใจไหม’ แต่สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้คือ ‘โห พอทำจานแตกแล้วเรื่องใหญ่เลย โดนดุด้วย ตีด้วยน่ากลัวจัง” คำที่ผู้ใหญ่พูดว่า “ทีหลังทำอะไรผิดให้บอกเข้าใจไหม’ อาจจะไม่ได้อยู่ในความทรงจำเด็กเลยก็ได้ค่ะ เพราะเค้ากลัวเราจนหัวหดไปหมดแล้ว ซึ่งนีทก็เชื่อว่าเด็กคงมีความระวังมากขึ้นเพราะไม่อยากเจอการลงโทษ แต่ว่าถ้าสมมติเด็กดันทำจานแตกอีกโดยไม่ได้ตั้งใจ สิ่งที่เขาคิดขึ้นมาถึงเหตุการณ์ที่เด่นชัดว่าอะไรจะตามมาก็คือการลงโทษ มากกว่าการบอกความจริงแน่นอน และเด็กก็ยังคงจะเลือกวิธีการโกหกอยู่ดี ดังนั้นสิ่งนี้ก็ยังคงวนเป็นวงจรขอการโกหกที่ไม่หายไปไหน

แต่ในทางกลับกัน หากครั้งนั้นที่เด็กทำจานแตก แทนการลงโทษ เราสอนเด็กดีๆ ว่า ถ้าทำจานแตกต้องมาบอกนะ และเตือนไปหน่อยว่า ทีหลังต้องระวังด้วย เด็กก็จะจำคำว่า “ทำผิดก็ให้พูดความจริง” ไม่ต้องกลัว ถ้าโดนดุก็นิดนึง ต่อไปเด็กก็จะกล้าบอกความจริงกับเรามากขึ้น เพราะ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เด็กรู้ว่า การบอกความจริงไม่ได้น่ากลัว แบบที่คิดไว้ค่ะ  

หรือหากจับได้ว่าเขาโกหก อย่าถามว่าทำไมถึงโกหก เพราะมันไม่ได้ช่วยให้เขาได้คิดและหยุดวงจรการโกหก แต่อยากให้ช่วยเด็กๆ หาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้เขาเลือกโกหกเพื่อช่วยเขายุติความกลัว และกล้าเผชิญหน้ามากขึ้น ซึ่งมันจะเป็นวิธีลดการโกหกไปในตัวด้วยนะคะ

โกหกใครได้ทั้งโลก แต่จะโกหกตัวเองได้ยังไง?

ที่ผ่านมาพี่นีทพูดถึงการโกหกกับคนอื่น แต่มีอีกการโกหกหนึ่งที่ยังไม่ได้พูด และต้องพูดให้ได้ค่ะนั่นคือการโกหกตนเอง หรือหลอกตนเอง

น้องๆ เคยเป็นกันไหมคะ เวลาที่เราพลาดอะไรบางอย่างเราอาจจะโกหกตัวเองว่าจริงๆ ฉันก็ไม่ได้ชอบมากหรอก หรือฉันก็ไม่ตั้งใจมากหรอก พี่นีทก็เป็นค่ะ เช่น สมัยมัธยมตอนปลายอยากเป็นเชียร์ลีดเดอร์มากแต่เราเรียนสายวิทย์-คณิตก็กลัวจะการเรียนตก สุดท้ายก็โกหกตนเองว่าจริงๆ ‘เราไม่ได้ชอบขนาดนั้นหรอก ซ้อมก็โหด โอ๊ย! ช่างมันเถอะ’ แต่จริงๆ แล้วที่พี่นีทเลือกโกหกตนเองก็เพราะไม่กล้ารับความจริง หากตอนนั้น พี่รู้จักเทคนิค Pause Though และท่องไว้ พี่ก็คง Pause ความคิดและความกลัวว่าการเรียนจะตกไว้ Though ว่าทำอย่างไรการเรียนฉันจะไม่ตกและเป็นเชียร์ลีดเดอร์ได้ และท่องไว้ว่าเราทำได้ๆ พี่ก็คงมีความกล้าที่จะไปสมัคร

พี่นีทเชื่อเสมอค่ะว่าการโกหกมีที่มาเสมอ ไม่ว่าเราจะโกหกตนเองเพื่อปลอบใจ หรือโกหกคนอื่นเพื่อหนีจากความกลัว จึงอยากเชิญชวนให้น้องๆ ทุกคนค่อยๆ ละ ลด เลิก การโกหก (อาจจะยังทำไม่ได้ทั้งหมดตอนนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ ค่อยๆ พยายามกันไป ขออย่างเดียวคือไม่โกหกจนกลายเป็นนิสัยผ่านเทคนิค Pause Though และท่องไว้ เพื่อให้เรากล้ายืนหยัดกับตนเองให้เต็มที กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งที่ต้องเผชิญอย่างมั่นใจ เรามาพยายามไปด้วยกันนะคะ

อ้างอิง
What is a White Lie?
Dr. Cortney Warren | Honest Liars: The Psychology of Self-Deception

Tags:

วิทยาศาสตร์สมองการลงโทษCharacter worldการโกหก

Author:

illustrator

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

นักจิตวิทยาโรงเรียน ผู้ฝันอยากจะเป็น “ฮีโร่” ให้กับเด็กๆ และวัยรุ่น ให้เขามีความสุขในชีวิตมากขึ้น ปรับตัวได้ดีมากขึ้น และมีพลังมุ่งหน้าไปสู่ฝัน นอกจากนี้ยังมีความโลภอยากจะเชิญชวนให้มนุษย์ผู้ใหญ่ทุกคนมาร่วมกันเป็น “ฮีโร่” ของเด็กๆ ผ่านปลายปากกา

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Character building
    ‘เด็กโกหก’ อาจไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เข้าใจธรรมชาติการโกหกจากงานวิจัย

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.5 ‘เด็กพูดโกหก’ 

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • ปลดกุญแจมือแล้วกอดเขา จนกว่าคนสีเทานั้นจะอ่อนแอลง: มองมุมกว้างเมื่อเด็กก้าวพลาด กับ ‘ป้ามล’ ทิชา ณ นคร 

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Learning Theory
    ‘ความรู้สึก’ ส่วนผสมหลักเพื่อการเรียนรู้ ให้การมาโรงเรียนไม่ใช่แค่เรียนไปวันๆ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ บัว คำดี

  • Family Psychology
    เอะอะก็ตี ลูกเจ็บแต่ไม่จำ

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel