Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: February 2022

พ่อแม่แสดงความรักอย่างเหมาะสมต่อลูกด้วยการเคารพสิทธิลูก เพราะร่างกายเป็นของลูกไม่ใช่ของใคร
Early childhood
2 February 2022

พ่อแม่แสดงความรักอย่างเหมาะสมต่อลูกด้วยการเคารพสิทธิลูก เพราะร่างกายเป็นของลูกไม่ใช่ของใคร

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • เมื่อถึงวัยหนึ่งที่เด็กเริ่มแสดงออกว่าไม่อยากให้ใครมาแตะต้องตัว ก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องช่วยปกป้องสิทธิร่างกายของลูก

การที่เด็กต่อต้านคนแปลกหน้าไม่ให้แตะต้องตัว และติดพ่อแม่หรือคนเลี้ยงเป็นพิเศษนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการ ผู้ใหญ่จึงควรเคารพสิทธิร่างกายของเด็กด้วยการไม่ฝืนใจเขา หากเขาแสดงอาการต่อต้าน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมตามพัฒนาการของเด็ก

Mary Ainsworth (1979) กล่าวถึงพัฒนาการของพฤติกรรมผูกพันที่เกิดขึ้นในเด็กไว้ดังนี้… 

  • ระยะที่ 1เด็กทารกวัย 8 สัปดาห์แรกจะเริ่มต้นสร้างความผูกพันกับผู้เลี้ยงดู (พ่อแม่) ด้วยการยิ้ม ส่งเสียงร้องอ้อแอ้ และร้องไห้เพื่อให้ผู้เลี้ยงดูสนใจเขา เขายังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของคนที่เขามาดูแลเขาได้ วัยนี้ไม่ว่าใครเด็กก็ยอมให้อุ้มทั้งนั้น 
  • ระยะที่ 2 เด็กทารกวัย 2 – 6 เดือน จะเริ่มจำแนกระหว่างผู้ใหญ่ที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยได้มากขึ้น และตอบสนองต่อผู้ดูแลมากกว่า เขาจะเริ่มติดและอยากตามพ่อแม่ช่วงนี้ 
  • ระยะที่ 3 เด็กระหว่างวัย 6 เดือนถึง 2 ขวบ คือ ช่วงที่เด็กเกิดความผูกพันกับผู้เลี้ยงดูอย่างชัดเจน ดังนั้นหากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กวัยนี้ควรมีความมั่นคง ให้ความรัก และความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เป็นพ่อแม่ที่มีอยู่จริงสำหรับเขาด้วยการมีเวลาคุณภาพให้ลูก เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มเข้าไปสำรวจสิ่งแวดล้อม หากเสาหลักสำหรับยึดเหนี่ยว (พ่อแม่) ของเขายังคลอนแคลน เด็กจะรับรู้ว่าไม่ปลอดภัย และไม่กล้าออกไปเผชิญโลก 

ส่วนใหญ่หลังเด็กอายุครบ 1 ขวบ เด็กจะสามารถแสดงพฤติกรรมผูกพันชัดเจน เขาจะปฏิเสธทันทีเมื่อต้องจากพ่อแม่ของเขาไปไกล หรือจะประท้วงการจากไปของพ่อแม่ เขาจะทักทายเมื่อพ่อแม่กลับมาบ้าน โดยชะเง้อมองหาเราตามเสียงที่ได้ยิน เขาจะเริ่มเกาะแขน เกาะขา เกาะเรา ติดแจเมื่อกลัว และจะพยายามตามติดพ่อแม่ไปทุกที่เมื่อเริ่มเคลื่อนที่ได้ 

เมื่อเด็กอายุครบ 2 ขวบ เขาจะรับรู้ว่ามีผู้ดูแลเขาได้มากกว่าสองคน (มากกว่าพ่อแม่) เขาสามารถวางแผนเพื่อให้คนอื่นเอาใจเขาได้ จากแต่ก่อนเด็กอาจจะร้องไห้เมื่อได้รับความเจ็บปวดหรือหิวเท่านั้น แต่เมื่อ 2 ขวบเด็กจะเริ่มเรียนรู้ที่จะร้องไห้เพื่อเรียกร้องให้คนมาสนใจ หรือเพื่อให้ได้ดั่งใจ และถ้าไม่มีใครสนใจเขา เขาจะร้องดังขึ้นจนกว่าจะสำเร็จ 

ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่ควรให้ความรักและสายสัมพันธ์เพื่อสร้างตัวตนที่มีคุณค่าให้กับลูก เพื่อให้เขารับรู้ว่าตัวเขามีความสำคัญและมีอยู่จริง เพื่อจะเรียนรู้การปกป้องร่างกายและคุณค่าภายในตนเองในอนาคต 

อ่านบทความฉบับเต็ม https://thepotential.org/family/child-rights-body/

Tags:

สิทธิ์เด็กพ่อแม่การ์ตูน

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

PHAR

ชื่อจริงคือ พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เป็นนักวาดรูปเล่น มีงานประจำคือเอ็นจีโอ ส่วนงานอดิเรกชอบทำกับข้าว

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.2 ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ได้ทำให้สิ่งสำคัญต่อตัวเด็กเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.1 ร่างกายที่แข็งแรงคือรากฐานของสมองที่พร้อมเรียนรู้และจิตใจแข็งแกร่ง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Space
    เพราะ ‘การเล่น’ ไม่ใช่แค่เรื่องเล่นๆ: ‘เทศกาลเล่นอิสระ’ พื้นที่ปลดปล่อยจินตนาการของเด็ก 

    เรื่อง สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

  • How to enjoy life
    สอนให้เด็กรู้ว่าอารมณ์ไม่ใช่ผู้ร้าย เรียนรู้และเข้าใจตัวเองผ่านดนตรี: กฤษดา หุ่นเจริญ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ชุติมา ซุ้นเจริญ

ปัดจอจนเหนื่อยใจ แล้วไหนล่ะคู่ฉัน
Relationship
1 February 2022

ปัดจอจนเหนื่อยใจ แล้วไหนล่ะคู่ฉัน

เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • แม้ปัจจุบันชุมชนเริ่มขยายเป็นเมืองใหญ่ คนเยอะขึ้นมหาศาล แต่การหาคู่นั้นกลับยากกว่าเดิม เพราะค่านิยมของสังคมเมืองนั้นคือจะไม่ทำความรู้จักคนที่ไม่ได้มีธุระด้วย หรือขนาดบ้านอยู่ติดกันก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักกันก็ได้ 
  • บริการลงโปรไฟล์หาคู่ออนไลน์เลยเข้ามาในรูปแบบแอปพลิเคชัน เปิดมามีรูปให้เห็น มีข้อมูลให้อ่าน ไม่พอใจปัดซ้ายทิ้ง พอใจปัดขวาเก็บไว้คุยกันทางออนไลน์ได้ นัดเจอกันได้ ไม่ต้องอยู่ใกล้กันก็มารู้จักกันผ่านแอปหาคู่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นการหาคู่ออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่ดี
  • ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งตอนคนใช้แอปเลือกคู่คือ มันทำให้เรารู้สึกว่ากำลัง ‘ชอปปิง’ อยู่ อารมณ์เหมือนเราเข้าไปในห้างแล้วมีคนยืนเรียงรายให้เราเลือก ‘ชอปแฟน’ แต่ปัญหามันอยู่ที่การเลือกคู่ไม่เหมือนการซื้อของ เพราะตอนไปซื้อของเราเลือกสิ่งที่ถูกใจและถ้ามีเงินเราจะได้สิ่งนั้นแน่ๆ แต่ในการเลือกคู่ ต่อให้เราเลือกเขา ไม่ได้แปลว่าเขาจะอยากเลือกเรา

พอเริ่มเป็นวัยรุ่น ก็เป็นเรื่องปกติที่บางคนเริ่มอยากมีแฟน หรือพอเป็นผู้ใหญ่ไม่ว่าเราจะอยากมีคนรักหรือไม่ การแต่งงานก็กลายเป็นเหมือนภารกิจที่สังคมโยนมาให้ว่าควรแต่งได้แล้วนะ ถึงแม้เราจะทำลืมๆ ไปบ้าง แต่คุณป้าข้างบ้าน คุณน้าที่นานๆ เจอกัน ผู้จัดการบริษัทผู้หวังดี และหลายๆ คนที่ไม่ได้สนิทกับเรามากแต่ก็คอยถามอยู่เรื่อยว่าเมื่อไหร่จะมีคู่ล่ะ บางคนไม่คิดจะมีเองก็ตอบไปตามนั้นว่ายังไม่อยาก อยู่คนเดียวสบายกว่า ก็ว่ากันไป แต่บางคนก็เหนื่อยใจที่จะตอบเพราะก็ไม่ใช่ว่าไม่อยากมี แต่มันหาคู่ไม่ได้ พระพรหมลืมสร้างคู่ของฉันมาหรือไร ยิ่งมีคนมาถามบ่อยๆ หรือเห็นคนใกล้ตัวมีคู่กันหมดก็ยิ่งเครียด

สังคมยุคใหม่นั้นมีปัญหาเรื่องการหาคู่มากกว่าสังคมสมัยก่อนครับ สมัยก่อนนั้นพอเริ่มถึงวัยที่แต่งงานได้ บางทีไม่ต้องหาเองด้วยซ้ำ พ่อแม่จัดการหาคู่ให้เราเรียบร้อย หรือบางครั้งไม่ถามไถ่ความสมัครใจกันสักคำหรือที่เรียกว่า ‘คลุมถุงชน’ ก็เกิดเป็นปกติ บางคนเลยได้มีคู่แบบไม่ต้องหาเอง (แต่บางทีก็ไม่ถูกใจ) และคนสมัยก่อนมักจะรู้จักคนในละแวกเดียวกันดี พอโตถึงวัยที่จะมีคู่หนุ่มสาวก็จะหาคู่ได้จากคนรอบตัวนี่แหละ แต่พอชุมชนเริ่มขยายเป็นเมืองใหญ่ คนเยอะขึ้นมหาศาล แต่การหาคู่นั้นกลับยากกว่าเดิม เพราะค่านิยมของสังคมเมืองนั้นคือจะไม่ทำความรู้จักคนที่ไม่ได้มีธุระด้วย หรือขนาดบ้านอยู่ติดกันก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักกันก็ได้ 

คนที่อยู่ในสังคมเมืองใหญ่เลยกลับมีสังคมแคบลง เพราะตื่นมาทำงาน เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ไม่ได้ไปเจอใครที่ไหน แล้วแถมบางที่มีค่านิยมที่ไม่ควรมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ด้วยกันอีก เลยกลายเป็นปัญหาว่าแล้วคนจะไปหาคู่มาจากไหนกัน 

ทุกปัญหาของมนุษย์ย่อมมีธุรกิจเสนอตัวเข้าช่วยแก้ไขปัญหา ปัญหาเรื่องหาคู่เองก็เหมือนกันครับ อาชีพแม่สื่อพ่อสื่อหรือบริการหาคู่ต่างๆ นั้นก็มีในสังคมมานานมากแล้วครับ ไม่ใช่แค่วิธีการนัดหมายมาดูตัวแนะนำให้แต่ละฝ่ายรู้จักกันเท่านั้น ยังมีวิธีที่ ‘หาคู่ทีละมากๆ’ แบบติดประกาศให้คนมาเลือกอย่างลงหนังสือพิมพ์ พอเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นการหาคู่ก็เปลี่ยนไปลงโปรไฟล์ในเว็บหาคู่ทางอินเทอร์เน็ตแทน และหลังจากสตีฟจ็อบส์อัปเดตเทคโนโลยีมือถือกลายเป็นสมาร์ทโฟน บริการลงโปรไฟล์หาคู่ออนไลน์เลยเข้ามาในรูปแบบแอปพลิเคชัน เปิดมามีรูปให้เห็น มีข้อมูลให้อ่าน ไม่พอใจปัดซ้ายทิ้ง พอใจปัดขวาเก็บไว้คุยกันทางออนไลน์ได้ นัดเจอกันได้ ไม่ต้องอยู่ใกล้กันก็มารู้จักกันผ่านแอปหาคู่ได้ แหม…มันช่างสะดวกจริง ๆ

แอปหาคู่นั้นดูเผินๆ เหมือนจะทำให้คนหาคู่ได้ง่ายขึ้นมาก แต่หลายๆ คนที่เคยใช้คงรู้ดีว่าการหาคู่ทางออนไลน์หรือทางแอปนั้นไม่ง่ายเลย จริงอยู่ว่ามีบางคนที่ได้แฟนหรือแม้แต่ได้แต่งงานกับคนที่รู้จักผ่านแอป แต่น้อยคนนักที่จะหาคู่สำเร็จจากการใช้แอป เพราะแอปมันไม่ดีหรือเปล่า หรือเพราะอะไรกัน นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Eli Finke กับทีมของเขารวบรวมงานวิจัยเรื่องการหาคู่ออนไลน์มามากมาย และเขาตอบเราได้ครับว่าทำไมคนส่วนใหญ่ที่ใช้แอปหาคู่แล้วกลับไม่ได้คู่เสียที

แอปหาคู่ส่วนใหญ่นั้น ไม่ใช่เปิดเข้าไปแล้วจะเลือกคู่มาให้เราเลย แต่เราต้องนั่งดูภาพ อ่านโปรไฟล์ของแต่ละคนเอาเอง และตัดสินใจว่าจะเลือกแมทช์หรือติดต่อกับคนนั้นหรือไม่ และรอว่าเขาจะแมทช์หรือตอบข้อความเราหรือเปล่า ปัญหานั้นเกิดตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจว่าจะเลือกแมทช์กับใครแล้วครับ เพราะในความเป็นจริงแล้วคนส่วนใหญ่ไม่ใช่ ‘นักเลือก’ ที่ดีเท่าไรนัก โดยเฉพาะการเลือกคู่

ปัญหาแรกของการใช้แอปคือ แอปหาคู่ส่วนใหญ่ก็จะมีรูปและโปรไฟล์สั้นๆ บางแอปก็เขียนได้ยาวหน่อย แต่สิ่งที่คนมักจะใช้ในการชอปคู่เป็นหลักก็หนีไม่พ้นการเลือกใบหน้า ใครหน้าตาดีหรือถูกใจก็มีโอกาสเลือกคนนั้นมากกว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกครับที่จะชอบคนหน้าตาดี เพราะหน้าตาเป็นสิ่งที่เด่นที่สุดที่เราจะใช้ประเมินคน (อ่านรายละเอียดในบทความ เมื่ออุปสรรคคือใบหน้า) แต่ดีไซน์การใช้งานของแอปหาคู่ยิ่งเน้นถึงความสำคัญของรูปร่างหน้าตามากกว่าปกติ เพราะสิ่งที่เราจะได้เห็นอย่างแรกก่อนตัดสินใจเลยว่าจะเลือกคนนี้ไหมคือใบหน้า บางคนเราปัดทิ้งไปก่อนที่จะอ่านโปรไฟล์ด้วยซ้ำ 

ปัญหาที่ตามมาคือทำให้คนไม่อยากเลือกคนหน้าตาไม่หล่อหรือสวยตามรูปแบบพิมพ์นิยม ซึ่งแตกต่างจากการเริ่มต้นทำความรู้จักเพราะเจอตัวจริง เราจะพบว่าหลายครั้งคนที่เราชอบ เราปลื้ม ซึ่งอาจจะเป็นคนรอบตัว หรือบังเอิญรู้จักกัน หรือจากไหนก็แล้วแต่ที่เราเคยเจอตัวจริง บางทีไม่ได้หน้าตาดีอะไรแต่เขามีสิ่งอื่นที่มีเสน่ห์ ถึงแม้มนุษย์จะชอบมองคนที่ใบหน้า แต่พอรู้จักไปสักพักสิ่งอื่นๆ จะมีผลต่อความชอบด้วย 

เพราะมนุษย์เรานั้นมองคนเป็นภาพรวมและการชอบพอการประทับใจมันอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายอย่างรวมกัน หากอีกฝ่ายมีน้ำเสียงถูกใจ พูดเพราะ บุคลิกและการวางตัวดี หรือเราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘ภาษากาย’ ซึ่งแอปหาคู่นั้นแทบจะไม่มีข้อมูลในส่วนนี้เลย 

ดังนั้นคนที่เบ้าหน้าไม่พิมพ์นิยมที่ไม่มีใครเลือกในแอปนั้นหากเจอตัวจริงแล้ว อาจจะมีภาษากายที่มีเสน่ห์ก็ได้ ทำให้เขาเป็นตัวเลือกที่คนมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย และไม่เลือกคนที่หากได้เจอตัวจริงกันแล้วอาจจะชอบกันก็ได้

ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งตอนคนใช้แอปเลือกคู่คือ มันทำให้เรารู้สึกว่ากำลัง ‘ชอปปิง’ อยู่ อารมณ์เหมือนเราเข้าไปในห้างแล้วมีคนยืนเรียงรายให้เราเลือก ‘ชอปแฟน’ แต่ปัญหามันอยู่ที่การเลือกคู่ไม่เหมือนการซื้อของ เพราะตอนไปซื้อของเราเลือกสิ่งที่ถูกใจและถ้ามีเงินเราจะได้สิ่งนั้นแน่ๆ แต่ในการเลือกคู่ ต่อให้เราเลือกเขา ไม่ได้แปลว่าเขาจะอยากเลือกเรา 

ดังนั้นการเลือกคู่ที่ดีต้องคิดด้วยว่าเลือกเขาแล้วเขาจะเลือกเรากลับไหม แล้วคนเราใช้อะไรในการเป็นเกณฑ์ว่าใครจะเลือกเรากลับ คำตอบคือเราก็เลือกเกณฑ์ที่เห็นชัดสุด ซึ่งกลับมาที่เรื่องเดิมครับคือการเลือกจากใบหน้า หลายๆ คนใช้เกณฑ์ในการเลือกคือ ‘มีระดับหนังหน้าพอๆ กัน’ คือหน้าตาดี แต่ไม่ได้หล่อหรือสวยเกินคว้า หรือขี้เหร่เกินไป หลายๆ ครั้งเกณฑ์นี้สร้างความขัดแย้งในใจของคนที่กำลังเลือกคู่ผ่านแอป โดยเฉพาะกับคนที่รู้ตัวดีว่าเราหน้าตาไม่สวยหล่ออะไร ใจหนึ่งเราก็อยากจะกดแมทช์กดแอดคนที่หน้าตาดี แต่อีกใจเราก็มักจะรู้ดีว่าคนที่หน้าตาสวยหล่อปานดาราคนนี้เขาจะมาชายตามองเราหรือ เพราะสังคมเรามีค่านิยมเรื่องใครหน้าตาดีใครๆ ก็จะชอบ ใครๆ ก็รุมจีบ คนหน้าตาดีเลยดูสูงส่ง มีค่า ส่วนคนหน้าตาไม่ดีหากคิดไปจีบหนุ่มหล่อสาวสวยและยิ่งถ้าไม่รวยสังคมก็ตีตราว่าเป็น ‘หมาวัดไปจีบดอกฟ้า’ สิ่งเหล่านี้สร้างความกดดันให้คนหน้าตาไม่ดีเหมือนกัน

และสุดท้ายก็กลายเป็นกดแมทช์ใครไม่ได้เสียดี เลือกคนหน้าตาดีก็เกินเอื้อม ส่วนคนที่หน้าตาไม่ดีก็ทำใจกดแมทช์ไม่ลง ซึ่งคนขี้เหร่ในแอปตัวจริงอาจจะมีเสน่ห์ด้านอื่นๆ ก็ได้ แต่แอปมันให้ข้อมูลได้แค่นี้เราเลยไม่รู้

นอกจากนี้แอปเลือกคู่นั้นแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้งานปัดหาคู่ได้ทั้งวี่ทั้งวัน ตัวเลือกที่เยอะนั้นก็สร้างความหวังได้นะครับ เหมือนว่าในร้อยในพันคนมันต้องมีคนที่เหมาะกับฉันสักคนนั่นแหละ แต่มันก็สร้างความ ‘เรื่องมากจนเกินเหตุ’ ตามมา เป็นธรรมชาติของมนุษย์ครับที่ยิ่งตอนมีตัวเลือกมาก เราจะยิ่งเลือกไม่ถูก สับสนไปหมด เพราะข้อมูลในการตัดสินใจมันมีเยอะจนล้นสมอง และการมีตัวเลือกมากจะทำให้เรารู้สึกถึงอำนาจที่ไม่มีอยู่จริงว่า ฉันก็ควรได้คนที่มีโปรไฟล์ดีที่สุด เหมือนตอนเข้าไปซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วเลือกของที่ดูดีสุด สรรพคุณเลิศ ราคาถูก แต่คนไม่ใช่สินค้าที่มีการวางตลาด บางทีปัดให้ตายก็ไม่เจอคนที่มีโปรไฟล์ที่ถูกใจจริงๆ เสียที หรือคนที่ถูกใจโปรไฟล์เลิศแต่เขาก็ไม่ทักเรากลับ เพราะเขาก็รอคนที่ถูกใจเขาที่สุดเหมือนกัน หลายคนเลยผิดหวังตัดสินใจเลิกเล่นไปก่อน เพราะดูจนเหนื่อยก็ไม่เจอคนที่ถูกใจ 

เกณฑ์ที่เราเอามาคัดเลือกแทบเป็นแทบตายนั้น ในชีวิตจริงแล้วเราอาจจะไม่ได้สนใจเกณฑ์นั้นมากก็ได้ หรือตอนคบกันแล้วมันไม่ได้มีผลอะไรเลยก็ได้ แต่พอแอปไหนขึ้นว่าเรียนจบที่ไหน เราก็เลือกมหาลัยดีๆ ไว้ แอปไหนขึ้นอาชีพการงาน ก็ต้องอาชีพที่ฟังดูโก้ๆ ซึ่งในความเป็นจริงหากเจอหน้ากันแล้ว เราอาจจะไม่สนใจข้อมูลพวกนั้นก็ได้ และแน่นอนครับจากงานวิจัยแล้วพวกข้อมูลที่คนมักจะสนใจที่มันเด่นๆ เหล่านี้ (รวมถึงหน้าตาด้วย) มันไม่ค่อยส่งผลอะไรต่อการมีชีวิตคู่ที่ยืนยาวเลย เปรียบเหมือนเราซื้อขนมเราน่าจะสนใจรสชาติที่สุด แต่ตอนซื้อเรากลับเอาแต่พินิจหน้าตา แพ็คเกจ แบรนด์ หรือสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกดีตอนกินเท่าไรนัก

ปัญหาของแอปยังไม่หมดในขั้นตอนการเลือก ในขั้นการสื่อสารหลังแมทช์กันแล้วหรือเพิ่มเพื่อนกันแล้วก็มีไม่น้อย มนุษย์เรานั้นมีวิวัฒนาการมาจนสมองใหญ่โตขนาดนี้เพื่อทักษะการสื่อสารนี่แหละครับ เพราะเราเป็นสัตว์สังคมและสังคมมนุษย์ค่อนข้างใหญ่ แม้เทคโนโลยีจะทำให้รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยนไปมาก แต่สมองของมนุษย์เลยแทบจะไม่ต่างจากมนุษย์สมัยหมื่นปีที่แล้วที่ไม่มีการสื่อสารทางไกลสักอย่าง เพราะวิวัฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นช้ามากระดับแสนหรือล้านปี มนุษย์เราเลยมักจะพบปัญหาการคลาดเคลื่อนในการสื่อสารตอนเราสื่อสารทางไกล โดยเฉพาะการสื่อสารรูปแบบที่เห็นแต่ข้อความอย่างการแชทที่แอปส่วนใหญ่ใช้เป็นการสื่อสารหลัก

วิธีสื่อสารของแอปคือการพิมพ์ไปหา แต่หากคนที่คุยไม่เก่งกำลังพยายามจีบใครอยู่ เขาจะทำอย่างไรให้อีกฝ่ายชอบเขามากขึ้น เพราะเหมือนเขาไม่มีเครื่องมือแสดงเสน่ห์ของตัวเขาผ่านแอปเลย แตกต่างจากตอนเจอตัวจริง บางคนพูดน้อยแต่รอยยิ้มติดตรึงใจ เสียงก็น่าฟัง พูดแค่คำสองคำก็ฟังชื่นใจ 

นอกจากนี้การแชทยังสร้างความเข้าใจผิดได้ง่ายๆ เพราะมนุษย์เราชินกับการฟังเนื้อหาไปพร้อมกับดูสีหน้า มนุษย์รู้ว่าฟังคำพูดอย่างเดียวไม่พอ สีหน้า สายตา มันสอดคล้องไปกับสิ่งที่เขาพูดไหม 

บางคนปากบอกรักจ้ะ รักมาก แต่หน้าเบื่อโลกมากตอนพูด เห็นแล้วเลยไม่ซึ้ง แต่บางคนปากหนักไม่บอกรักเสียที แต่มองหน้าเราทีหน้าแดง อายตัวม้วนทุกที แบบนี้ไม่ต้องพูดมันก็พอเข้าใจได้ว่ามีใจไม่มากก็น้อย แต่พอการสื่อสารมันจำกัดแค่ตัวอักษร สมองเราก็เลยต้องจินตนาการไปเองว่าคนแชทกำลังทำหน้าอย่างไร คิดอย่างไรอยู่ และมันก็ตีความถูกบ้างผิดบ้าง เพราะข้อมูลมันมีเท่านี้ บางคนก็เลยจินตนาการไปว่าอีกฝ่ายชอบตัวเองมากเกินจริงหรือน้อยเกินจริง และนั่นเป็นอุปสรรคในการจีบกันทางแอปทั้งนั้น

ผมเล่าปัญหามาเสียเยอะ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าแอปหาคู่มันไม่มีข้อดีเลยหรอกนะครับ แอปคือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ถ้าใช้ให้ถูกวิธีมันก็มีข้อดีของมัน อย่างที่บอกว่าในสังคมเมืองปัจจุบันเราทำความรู้จักคนได้ยาก อยู่ๆ ถ้าเกิดเจอคนที่ถูกใจ แล้วอยู่ๆ เราเข้าไปทักขอทำความรู้จัก อีกฝ่ายอาจจะกลัวคิดว่าเราเป็นมิจฉาชีพแทนก็ไม่แปลก แอปหาคู่ช่วยสร้างโอกาสในการจีบที่ทุกคนที่ใช้แอปเข้าใจดีว่าที่คุยนี่จีบอยู่นะ แบบตรงจุด ไม่ต้องเหนียมอาย และได้รู้จักคนที่เราอาจไม่เคยพบเลย ไม่ว่าจะเป็นคนออฟฟิศข้างๆ คนที่เดินห้างเดียวกัน หรือแม้แต่คนที่อยู่ห่างออกไปแต่จริงๆ อาจจะถูกใจคลิกกันก็ได้ ซึ่งถ้ารอเจอตัว รอโอกาสที่จะบังเอิญได้คุยกันแล้วค่อยจีบ ชาตินี้อาจจะไม่มีโอกาสแบบนั้น

อีกประเด็นคือตอนใช้แอปก็ควรจะอ่านโปรไฟล์เสียหน่อยอย่ามองแต่หนังหน้า และหลายๆ คนมักจะมองข้ามข้อมูลที่มีผลดีต่อการสานต่อความสัมพันธ์นั่นคือความสนใจที่ตรงกัน เช่น งานอดิเรก แนวหนัง แนวเพลง นิยายที่อ่าน กีฬาที่ชอบ เกมที่เล่น ข้อมูลพวกเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้จริงๆ แล้วสำคัญมากครับ เพราะการจีบด้วยแอปนั้นใช้วิธีการพิมพ์คุยเป็นหลัก และหัวข้อในการคุยที่ทำให้คุยสนุก ไม่ฝืน คุยแล้วราบรื่นก็คือเรื่องเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้แหละครับ 

นอกจากนี้ถึงแม้ ‘รักจะไม่มีพรมแดน’ แต่งานวิจัยก็พบว่ารูปแบบของสังคมที่คนอยู่อย่าง ศาสนา แนวคิดทางการเมือง และชนชั้นทางสังคมนั้นส่งผลต่อชีวิตคู่ที่ราบรื่นมากเหลือเกิน มากเสียยิ่งกว่าบุคลิกเสียอีก เพราะถ้าต่างศาสนา ต่างชนชั้น ต่างทัศนคติ คุยกันแล้วจะมีแต่มองขัดกัน ตอนจีบกันใหม่ๆ ยังพอไม่สนใจได้ แต่พอคบไปนานๆ มันขัดใจบ่อยเข้าก็ไปกันรอดได้ยากกว่า แต่ส่วนตัวผมคิดว่าก็ไม่ควรจะเอามากั้นความชอบของตัวเองหรอกนะครับ เพราะที่บอกว่ายากกว่าก็ไม่ได้แปลว่าไม่รอดแน่ๆ หรือเป็นไปไม่ได้ คู่ที่รอดมันก็มีอยู่ ใครพร้อมจะสู้เพื่อรักก็ลุยเถอะครับ แต่ถ้าใครไม่รู้จะเอาเกณฑ์ไหนมาเลือก เอาเกณฑ์ ‘เชยๆ’ เหล่านี้มาพิจารณาก็ไม่เสียหายครับ

ประเด็นสุดท้ายที่อยากฝากไว้คือ หากเรารู้สึกว่าถูกใจ คนนี้แหละใช่เลย คุยกันแล้วก็คลิก น่าจะคบกันได้ยาว อย่าลืมที่จะหาโอกาสเจอตัวจริงกันนะครับ 

งานวิจัยพบว่าการสานต่อความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดสนิทสนมด้วยแอปหรือการสื่อสารทางไกลอื่นๆ แบบไม่เคยเจอตัวจริงเลยนั้น ถึงจะเป็นไปได้แต่ก็ยากมาก โดยเฉพาะหากคิดถึงขั้นแต่งงานในอนาคต 

อย่างที่เราคุยกันแล้วว่ามนุษย์เราชินกับการสื่อสารแบบเห็นหน้า การเจอตัวจริงอย่างน้อยก็ทำให้เราจินตนาการหน้าตาของเขาแบบไม่ผ่านฟิลเตอร์ และบุคลิกท่าทาง น้ำเสียงตอนเขาพูดได้ตรงกับความเป็นจริงกว่า ทำให้แชทครั้งต่อไปโอกาสเข้าใจผิดมีน้อยลง และสนิทสนมกันไวขึ้นกว่าการสื่อสารออนไลน์เยอะ การวิจัยพบว่าการใช้การสื่อสารทางออนไลน์เพื่อเริ่มทำความรู้จักก่อน พอเจอตัวจริงจะได้ไม่เคอะเขินเกินไป และพอเริ่มสนิทบ้างแล้วค่อยหาโอกาสเจอตัวจริงบ้างเพื่อทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นใกล้ชิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นการใช้แอปที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งเลยครับ แต่แน่นอนว่าจะรู้สึกสนิทกับใครแค่ไหน ขอให้นัดเจอในที่ที่ปลอดภัยนะครับ เลือกที่ที่คนเยอะๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า และระวังตัวไว้เสมอ อย่าไว้ใจใครเกินเหตุ หาทางหนีทีไล่ไว้ด้วยว่าถ้าเกิดเป็นมิจฉาชีพจะทำอย่างไร เพราะมิจฉาชีพที่แฝงมาในแอปหาคู่ก็มีไม่น้อย 

และอีกเรื่องสุดท้ายจริงๆ คือ ถ้าเกิดว่าจนแล้วจนรอด มันยังไม่เจอคนที่ใช่ หรือคุยแล้วก็ไปไม่รอดสักคน ก็ไม่ต้องกดดันตัวเอง ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องเอาเป็นเอาตายไล่ปัดไล่คุยจนกว่ามันจะเจอสักคน ให้การหาคู่เป็นกิจกรรมที่เจอก็โชคดี ไม่เจอก็ไม่เป็นไรจะดีที่สุด เพราะสิ่งสำคัญที่สุดที่สังคมสมัยใหม่มอบให้เราคือ ‘อิสระ’ เราอยู่ได้อย่างมีความสุขแม้ไม่มีคู่ และมีความสุขด้านอื่นอีกมากมายรอเราอยู่เสมอครับ

อ้างอิง

Finkel, E. J., Eastwick, P. W., Karney, B. R., Reis, H. T., & Sprecher, S. (2012). Online dating: A critical analysis from the perspective of psychological science. Psychological Science in the Public interest, 13(1), 3-66.

ดิแลน อีวานส์. (2559). จิตวิทยาวิวัฒนาการ (พงศ์มนัส บุศยประทีป, แปล). กรุงเทพฯ , มูลนิธิเด็ก.

Tags:

จิตวิทยาความสัมพันธ์หาคู่ออนไลน์

Author:

illustrator

พงศ์มนัส บุศยประทีป

ตั้งแต่เรียนจบจิตวิทยา ก็ตั้งใจว่าอยากเป็นนักเขียน เพราะเราคิดความรู้หลายๆ อย่างที่เราได้จากอาจารย์ หนังสือเรียน หรืองานวิจัย มันมีประโยชน์กับคนทั่วไปจริงๆ และต้องมีคนที่เป็นสื่อที่ถ่ายทอดความรู้แบบหนักๆ ให้ดูง่ายขึ้น ให้คนทั่วไปสนใจ เข้าใจ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่อยากให้มันอยู่แต่ในวงการการศึกษา เราเลยอยากทำหน้าที่นั้น แต่เพราะงานหลักก็เลยเว้นว่างจากงานเขียนไปพักใหญ่ๆ จนกระทั่ง The Potential ให้โอกาสมาทำงานเขียนในแบบที่เราอยากทำอีกครั้ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Alexithymia-nologo
    How to enjoy life
    พูดไม่ออก บอกไม่ถูก? เมื่อใจรู้สึก แต่ปากกลับบอกไม่ได้ว่าคืออารมณ์อะไร: Alexithymia ภาวะไร้คำให้กับอารมณ์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    เกมของความรัก เกมที่ชนะคนเดียวไม่ได้

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    Attachment Theory: เหตุใดเราต้องการอยู่ใกล้คนรักตลอดเวลา?

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    ทะเลาะอย่างไรให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกว่าเดิม

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    สมองวัยรุ่น เมื่อต้องรับมือกับความผิดหวัง อกหัก!

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel