Visible Learning : 4 ครูต้นเรื่อง ที่เติมหัวใจแห่งการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการตั้งคำถามและหาคำตอบเอง

เมื่อการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เรียกร้องให้ ‘ครู’ ผันตัวเองจาก ‘ผู้สอน’ มาเป็น ‘ผู้ก่อการ’ (Change Agent) ‘ครูเพื่อศิษย์’ จึงเป็นแนวทางที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ได้อรรถาธิบายไว้ว่า เป็นการเรียนที่ไม่ใช่แค่รู้ แต่เอาความรู้ไปใช้ได้ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย “เรียนรู้เชื่อมโยงและเป็นที่ประจักษ์ (Visible Learning) ต้องมองกว้าง ทั้งครูและศิษย์แจ่มชัดในคุณค่าการเรียนต่อชีวิตในอนาคต อย่าเรียนแบบถ่ายทอดความรู้ให้เด็กเป็นหลัก แต่เรียนจากการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) ตามด้วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด (Reflection หรือ AAR) ให้เด็กสร้างความรู้ใส่ตัว ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนคิดคนเดียว สะท้อนคิดเป็นกลุ่ม หรือครูสามารถเป็นผู้ช่วยตั้งคำถาม  หลักการเรียนรู้สมัยใหม่สมองมนุษย์เรียนรู้ดีที่สุดผ่านประสบการณ์ แล้วนำประสบการณ์มาคิดแบบใคร่ครวญ เช่น การสะท้อนคิดคนเดียวด้วยการเขียนความเรียง หรือการวาดรูปมายด์แม็พ (Mind Map) ที่ช่วยกระตุ้นความคิดเชื่อมโยงออกไปได้กว้างขวาง” ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวในกิจกรรมเวิร์กชอป ครั้งที่ 1 : จัดการความรู้และเติมความรู้ โครงการครูเพื่อศิษย์สร้างการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยงออนไลน์ เมื่อวันที่ 21 -22 ธันวาคม … Continue reading Visible Learning : 4 ครูต้นเรื่อง ที่เติมหัวใจแห่งการเรียนรู้ให้เด็กด้วยการตั้งคำถามและหาคำตอบเอง